โกฐหัวบัว
โกฐหัวบัว | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Apiales |
วงศ์: | Apiaceae |
สกุล: | Ligusticum |
สปีชีส์: | L. chuanxiong |
ชื่อทวินาม | |
Ligusticum chuanxiong Franch. | |
ชื่อพ้อง | |
Ligusticum wallichii |
โกฐหัวบัว ชื่อสามัญ Szechuan lovage, Selinumชื่อวิทยาศาสตร์: Ligusticum chuanxiong ภาษาจีนกลางเรียกซานซยง ภาษาจีนแต้จิ๋วเรียกชวงเกียง เป็นพืชพื้นเมืองในอินเดียและเนปาล รากสีเหลืองอมน้ำตาล ผิวหยาบ มีตะปุ่มตะป่ำจำนวนมาก ใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนของเลือด[1]ลำต้นใต้ดินใช้เป็นยากระตุ้นการไหลเวียนเลือด ขับลม[2]
ลักษณะของโกฐหัวบัว
ต้นโกฐหัวบัว จัดเป็นพรรณไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุหลายปี มีความสูงได้ประมาณ 30-80 เซนติเมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรง โคนต้นเป็นข้อ ๆ และมีรากฝอยงอกอยู่ที่ข้อ บริเวณช่วงบนจะแตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอม ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ข้อของลำต้น ชอบอากาศร้อนชื้น ชอบดินหนาและลึก การระบายน้ำดี มีฤทธิ์เป็นกลางหรือกรดเล็กน้อย เจริญเติบโตได้ดีในที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500-1,500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 15 องศาเซลเซียส สูงสุด 34 องศาเซลเซียส และต่ำสุด -5 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,200 มิลลิเมตร ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 80% มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 2 ปี พืชชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในมนฑลเสฉวน กุ้ยโจว ยูนนาน หูเป่ยของประเทศจีน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ“