แอฮ์แมด เรซอ แจลอลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอฮ์แมด เรซอ แจลอลี
احمدرضا جلالی
เกิด (1971-09-15) 15 กันยายน ค.ศ. 1971 (52 ปี)
แซรอบ จังหวัดอาเซอร์ไบจานตะวันออก ประเทศอิหร่าน
สัญชาติอิหร่าน-สวีเดน
อาชีพ
  • แพทย์
  • อาจารย์
  • นักวิจัย
นายจ้างสถาบันแคโรลินสกา
University of Eastern Piedmont
Vrije Universiteit Brussel
คู่สมรสVida Mehrannia
บิดามารดาNajibeh Mortazavi (แม่)
ถูกกล่าวหาจารกรรม
รับโทษโทษประหารชีวิต
สถานะทางคดีรอประหาร

แอฮ์แมด เรซอ แจลอลี (เปอร์เซีย: احمدرضا جلالی; เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2514) เป็นอาจารย์แพทย์และนักวิจัยด้านภัยพิบัติชาวสวีดิช-อิหร่าน เขาถูกกล่าวหาว่าเป็นสายลับสืบความให้รัฐบาล อิสราเอล และต้องโทษประหารชีวิต[1] ฌาลาลีเคยทำงานในมหาวิทยาลัยในยุโรปหลายแห่ง อาทิ สถาบันแคโรลินสกา ประเทศสวีเดน ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกที่นั่น มหาวิทยาลัยเสรีแห่งบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม มหาวิทยาลัยปิเอดมนเต้ โอเรียนตาเล่ ประเทศอิตาลี เขายังร่วมงานกับมหาวิทยาลัยในอิหร่านและติดต่อประสานงานกับมหาวิทยาลัยทั่วโลก เช่น มหาวิทยาลัยในประเทศอิสราเอล ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอเมริกาด้วย[2]

การจับกุมและคุมขัง[แก้]

ในเดือนเมษายน 2559 เมื่อเขาเดินทางไปอิหร่านตามคำเชิญของ มหาวิทยาลัยเตหะราน (Teharan University) และมหาวิทยาลัยชีราซ (Shiraz University) เขาถูกจับกุมภายใต้คำสั่งของกระทรวงข่าวกรองและความมั่นคง โดยไม่มีหมายจับหรือเหตุใด ๆ ที่จะถูกจับกุม[3] สองสัปดาห์ต่อมาเขาถูกตั้งข้อหาว่าเป็นผู้สืบราชการลับและร่วมมือกับอิสราเอลจารกรรมข้อมูลราชการของรัฐบาลอิหร่าน โดยอ้างอิงหลักฐานจากจดหมายของภรรยา สิบวันภายหลังจากที่ถูกควบคุมตัว[4] ครอบครัวของเขาไม่ทราบข้อมูลและไม่ได้รับแจ้งที่อยู่ของ ณาลาลี แม้ว่าทางครอบครัวทราบแล้วว่า ฌาลาลี ถูกจับกุม หลังจากถูกคุมขังในสถานที่ที่ไม่เปิดเผยเป็นเวลา 7 วัน เขาถูกย้ายไปยังหน่วย 209 ของเรือนจำเอวิน (Evin Prison) ซึ่งเขาถูกกักตัวไว้เป็นเวลา 7 เดือน ฌาลาลีมีโอกาสติดต่อครอบครัว และได้แจ้งแก่ครอบครัวว่า เขาถูกจำคุกเดี่ยวเป็นเวลา 3 เดือน และจำคุกกึ่งเดี่ยวกึ่งหมู่ในเวลาถัดมา[3]

คำตัดสิน[แก้]

ในวันที่ 31 มกราคม 2560 หลังจากถูกจำคุกเป็นเวลา 9 เดือน ฌาลาลี ถูกนำตัวไปที่ ศาลปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Court) ในกรุงเตหะราน ซึ่งเขาถูกตั้งข้อหาอย่างเป็นทางการว่าเป็นหน่วยสืบราชการลับให้ชาวต่างชาติ แม้จะไม่มีหลักฐานชี้ต่อความผิด ฌาลาลีต้องโทษประหาร มีรายงานว่าทนายของเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงการไต่สวนและถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าถึงข้อมูลคดี[5]

หลังจากถูกจองจำอย่างอยุติธรรมเป็นเวลาหลายเดือน เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2560 เขาถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อหา "สร้างมลทินให้แก่โลก" (Corruption on Earth หรือ ifsad fil-arz)[6] เขาถูกต้องขังอยู่ใน เรือนจำเอวิน ในเดือนพฤศจิกายน 2560 คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (UN Working Group on Arbitration Detention) ขอให้รัฐบาลอิหร่านให้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการควบคุมตัว ฌาลาลี แต่ไม่ได้รับการตอบรับ ในช่วงปลายปี 2561 โทรทัศน์ท้องถิ่นอิหร่านได้ออกอากาศ รายงานคดีของเขา โดยระบุว่าเขาเป็นผู้สืบราชการลับให้รัฐบาลต่างชาติและได้สารภาพกับรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งตามจดหมายของ ฌาลาลี ที่ขียนไว้ล่วงหน้า เขากล่าวว่าเขาถูกบังคับให้อ่านคำรับสารภาพที่เตรียมโดยรัฐบาลอิหร่าน ภายใต้การข่มขู่ว่าจะทำร้ายคนในครอบครัว ทนายความส่วนตัวของเขาได้พยายามอุทธรณ์คำตัดสินแต่ก็ถูกปฏิเสธ[7]

ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ฌาลาลี ถูกส่งตัวอีกครั้ง ไปยังที่ที่ไม่ได้มีการเปิดเผย เขาถูกทรมานอย่างทารุณและถูกข่มขู่โทษประหารประหาร ถ้าเขาไม่สารภาพออกมาอีก[8]

ข้อมูลด้านสุขภาพ[แก้]

สุขภาพของ ฌาลาลี แย่ลงตั้งแต่ถูกจับกุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลตรวจเลือดในปี 2561 ที่ระบุว่า เขามีเม็ดเลือดขาวในระดับต่ำ ฌาลาลีได้รับการตรวจโดยแพทย์ในต้นปี 2562 ที่เรือนจำเอวินโดยเขาได้รับคำแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมโดยนักโลหิตวิทยาที่โรงพยาบาล แต่คำขอนี้ถูกปฏิเสธ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า ฌาลาลี น้ำหนักลดลงกว่า 24 กิโลกรัมนับตั้งแต่ถูกจับกุม[9] สมาคมการแพทยสมาคมโลก ได้ยกเอาประเด็นของ ฌาลาลี ขึ้น เคตาน ดีไซ (Ketan Desai) ประธานแพทยสมาคมโลก ได้ระบุว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่อิหร่านนั้นละเมิดหลักจริยธรรมทางการแพทย์และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน[10]

ความกดดันระหว่างประเทศ[แก้]

องค์การสหประชาชาติ[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2560 คณะทำงานของสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (UN Working Group on Arbitration Detention) ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการต่อรัฐบาลอิหร่านให้ชี้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการจับกุม แต่ทางการอิหร่านไม่ให้คำตอบ[11] เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเรียกร้องให้อิหร่านยกเลิกการประหารชีวิตฌาลาลีอย่างเร่งด่วน[12]

ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐบาลอิหร่านให้ยกเลิกโทษประหารชีวิตแก่ฌาลาลีในปี 2560 อุทธรณ์นี้ได้รับการสนับสนุนโดย นาย โฆเซ่ อันโตนิโอ เกวารา แบร์มูเดส (José Antonio Guevara Bermúdez) โฆษกคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ นาย นิลส์ เมลเซอร์ (Nils Melzer) ผู้รายงานพิเศษเรื่องการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือย่ำยีศักดิ์ศรี (Special Rapporteur on torture and other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment) นางสาว อังเญส คาลามาร์ (Agnes Kallamar) ผู้แทนรายงานพิเศษด้านการสังหารนอกกระบวนการกฎหมาย การสังหารอย่างรวบรัด หรือ โดยพลการ และ นางอัสมา ญาฮางีร์ (Asma Jahagir) ผู้แทนรายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน[13]

สหประชาชาติได้ถือเอาข้อสรุป หมายเลข 92/2017[14] เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 คณะทำงานได้ยื่นคำแถลงต่อรัฐบาลอิหร่าน แต่ไม่ได้การตอบรับ เอกสารฉบับนี้ได้อธิบายว่าเหตุใดการจำคุกของ ฌาลาลี จึงขัดกับมาตรา 3, 5, 8, 9, 10 และ 11 ของ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และมาตรา 7, 9, 10 และ 14 ของ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง "สิทธิทางการเมือง" ซึ่งระบุอย่างชัดเจนว่าการปล่อยตัวฌาลาลี ในทันทีและชดเชยค่าเสียหาย ตามกฎหมายระหว่างประเทศ เป็นสิ่งอันพึงกระทำ[15]

ปี 2561 ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนของคดีฌาลาลี[16]

ปี 2563 รายงานประจำปีของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ และรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่และเลขาธิการสหประชาชาติระบุถึง "ความกังวลอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ของชาวต่างชาติที่ยังคงถูกจำคุกในอิหร่าน [... ] อาหมัด รีซา ฌาลาลี ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อเดือนตุลาคม 2560 ในข้อหาจารกรรมข้อมูล ถูกย้ายไปยังสถานที่ที่ไม่ได้มีการเปิดเผยในวันที่ 29 กรกฎาคม 2562 ประมาณ 10 วันก่อนที่เขาจะถูกคุมตัวกลับไปที่เรือนจำเอวิน ในช่วงเวลาดังกล่าว เขาถูกบังคับให้สารภาพเพิ่มเติม ฌาลาลเช่นเดียวกับชาวต่างชาติคนอื่น ๆ รวมถึงนายการ์ดิริ (Ghadiri) ถูกปฏิเสธการเข้าถึงการรักษา ทั้งๆที่บุคคลดังกล่าวมีสุขภาพที่ทรุดโทรม"[17]

รายงานของผู้รายงานพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านในปี 2563 ย้ำว่า "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและหน่วยข่าวกรองรวมถึงกระทรวงข่าวกรองและกองกำลังรักษาความปลอดภัยคณะปฏิวัติอิสลามในหลายกรณี ได้ปฏิเสธการเข้าถึงการรักษา และบริการสาธารณสุข ของผู้ต้องขังในเรือนจำ จนกว่าผู้ต้องหาจะสารภาพ นอกจากนี้ผู้รายงานพิเศษมีความกังวลเกี่ยวกับการบังคับให้ผู้ต้องหาสารภาพตามสื่อสาธารณะ มีรายงานว่า ฌาลาลี ถูกบังคับให้สารภาพภายใต้การข่มขู่จากผู้ถูกสอบสวน นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ฌาลาลี จะได้รับการปล่อยตัวจากการถูกขังเดี่ยวถ้าเขาสารภาพเช่นนั้น[18]

ผู้ได้รับรางวัลโนเบล[แก้]

ในเดือนธันวาคม 2561 ผู้ได้รับรางวัลโนเบล 121 คน ได้เขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้นำสูงสุดของอิหร่านคือ อะญาโตลาฮ์ แอลี ฆอเมเนอี (Ayatollah Ali Khamenei) เรียกร้องให้ ฌาลาลี เข้าถึงการรักษาพยาบาลและขอให้ปล่อยตัวเขาในทันที[19]

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล[แก้]

แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ติดตามและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่และสุขภาพของ ฌาลาลี อย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างการประติบัติอย่างไร้มนุษยธรรมที่มีต่อ ฌาลาลี ระหว่างการคุมขัง[20]

ตั้งแต่ปี 2560 แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลได้เปิดตัวแคมเปญสนับสนุนให้สาธารณชนเขียนคำร้องไปยังผู้นำสูงสุดของอิหร่านประธานาธิบดีอิหร่านและหัวหน้าผู้พิพากษาอิหร่าน เรียกร้องให้มีการช่วยเหลือ การรักษาความปลอดภัย การเข้าถึงทนายความและครอบครัว รวมถึงอนุญาตให้สถานกงสุลสวีเดนเข้าพบ ฌาลาลี[21]

แคมเปญ โนรุส (Noruz) 2020 เป็นแคมเปญเพื่อสนับสนุนนักโทษทางความคิด (Prisoners of Conscience)ในอิหร่านเนื่องในเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของอิหร่าน แอมเนสตี้สนับสนุนให้สาธารณชนส่งข้อความและกำลังใจให้กับผู้ต้องหาและครอบครัวของผู้ต้องหา ในปีนี้แอมเนสตี้อินเตอร์เนชันแนลได้คัดเลือกผู้ต้องโทษทางการเมืองและนักโทษทางความคิด เจ็ดคน รวมถึง ฌาลาลีเพื่อแสดงถึงแคมเปญของแอมเนสตี้ในเทศกาลโนรุส[22]

เครือข่ายสกอลาร์ แอท ริสก์ (SAR)[แก้]

สกอลาร์ แอท ริสก์ (Scholars at Risk) เป็นเครือข่ายระหว่างประเทศ ประกอบด้วยองค์กร สถาบันและปัจเจกบุคคลที่ส่งเสริมเสรีภาพทางวิชาการและปกป้องนักวิชาการจากภัยคุกคามต่อเสรีภาพทางวิชาการ[23] SAR มีส่วนร่วมและสนับสนุน ฌาลาลี โดยการออกจดหมายถึงหน่วยงานรัฐบาลในอิหร่าน และดำเนินกิจกรรแคมเปญมออนไลน์ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก ในเดือนมกราคม 2561 สกอลาร์ แอท ริสก์ ได้เผยแพร่แคมเปญ "#SaveAhmad" ผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อสร้างแรงกดดันต่อหน่วยงานภาครัฐเพื่อสนับสนุนการปล่อยตัว ฌาลาลี[24] ในเดือนมีนาคม 2563 ภายใต้การระบาดของ COVID-19 SAR ได้ส่ง จดหมายไปยังเจ้าหน้าที่ของอิหร่านให้ปล่อยตัว ฌาลาลีโดยไม่มีเงื่อนไข[25]

มหาวิทยาลัยในยุโรป[แก้]

ในเดือนพฤศจิกายน 2560 สหภาพมหาวิทยาลัยในยุโรป (EUA) ได้กดดันเจ้าหน้าที่ทางการอิหร่านให้ยกเลิกคำตัดสินในคดี ฌาลาลี และเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวในทันที[26] EUA เขียนจดหมายถึงผู้นำสูงสุดของอิหร่านและแสดงความกังวลอย่างจริงจังเกี่ยวกับความปลอดภัยของฌาลาลีและครอบครัวของเขา[27]

ในเดือนเมษายน 2018 สภามหาวิทยาลัยเฟลมมิช (VLIR) ได้ตัดสินใจที่จะระงับความร่วมมือทางวิชาการทั้งหมดกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาของอิหร่าน เพื่อตอบโต้รัฐบาลอิหร่านในการจำคุกและดำเนินคดีของ ฌาลาลี ซึ่งเคยดำรงตำแหน่ง อาจารย์ ในมหาวิทยาลัยเสรีแห่งบรัสเซลส์ สภามหาวิทยาลัยเป็นกังวลอย่างมากต่อการจับกุมฌาลาลี และขอให้เจ้าหน้าที่อิหร่านให้ความช่วยเหลือทางการแพทย์แก่เขา สภามหาวิทยาลัยได้กล่าวต่อว่าความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์กับสถาบันการศึกษาของอิหร่านจะไม่ดำเนินต่อ จนกว่ารัฐบาลอิหร่านจะดำเนินการใดๆ เพื่อสนับสนุนฌาลาลี[28]

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคมมหาวิทยาลัยปิเอดมอนเต้ มหาวิทยาลัยแคโรลินสกา และ มหาวิทยาลัยเสรีแห่งบรัสเซลส์ ได้ส่งจดหมายถึงประธานศาลยุติธรรมอิหร่าน ซาเดฮ์ ลาริฌานิ (Sadeh Larijani) ในจดหมายฉบับนี้มหาวิทยาลัยได้ระลึกถึงคุณความดีของของดร.ฌาลาลี และเน้นย้ำถึงสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น[29]

ความคืบหน้าของคดี[แก้]

2020[แก้]

  • วันที่ 24 พฤษจิกายน เครือข่ายแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล รายงานว่าทางการอิหร่านได้คุมตัว ฌาลาลี ไปคุมขังเดี่ยวที่เรือนจำเอวิน นอกจากนี้ ทางการยังแจ้งกับฌาลาลีว่า เขาจะถูกประหารชีวิตในไม่ช้า[30]
  • หลังจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในเดือนมีนาคม 2563 ทางการอิหร่านได้ปล่อยตัวนักโทษ 85,000 คน รวมถึงนักโทษการเมือง อย่างไรก็ตามไม่มีชื่อของ ฌาลาลี ปรากฏในรายการนี้[31][32][33]

2018[แก้]

  • คณะทำงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการแห่งสหประชาชาติ กล่าวย้ำถึงการปล่อยตัว ฌาลาลี อย่างเร่งด่วน[34]
  • เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ สมาพันธ์สิทธิมนุษยชนอิตาลี (Federazione Italiana Diritti umani) องค์การสิทธิมนุษยชนอิหร่าน (Iran Human Rights), องค์การ ECPM (Hands of Cain) ได้ส่งจดหมายถึง ผู้แทนระดับสูงของสหภาพยุโรปว่าด้วยการต่างประเทศและความมั่นคง เฟเดริก้า โมเกรินี (Federica Mogherini) เพื่อขอให้ดำเนินการและกดดันให้มีการยุติโทษประหารในทันที[35]
  • ในวันที่ 3 พฤษภาคม เครือข่ายสกอลาร์ แอท ริสก์ ได้เขียนจดหมายถึงผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านคือ อะญาโตลาฮ์ แอลี ฆอเมเนอี[36]

2017[แก้]

  • ริเริ่มแคมเปญสนับสนุนดร. ฌาลาลี ที่เว็บไซด์ change.org ซึ่งมีผู้ลงชื่อสนับสนุนมากกว่า 320,000 คน รายชื่อได้ส่งไปยังทางการอิหร่านและอดีตประธานรัฐสภายุโรป อันโตนิโอ ทาญานี[37]
  • ในวันที่ 31 ตุลาคม มหาวิทยาลัยปิเอดมอนเต้ โอเรียลตาเล สถาบันแคโรลินสกา และมหาวิทยาลัยเสรีแห่งบรัสเซลส์ ได้ส่งจดหมายถึงศาลยุติธรรมอิหร่าน ในจดหมายฉบับนี้มหาวิทยาลัยได้ระลึกถึงคุณความดีของดร. ฌาลาลี และเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น[38]
  • วันที่ 13 พฤศจิกายน สหภาพมหาวิทยาลัยในยุโรปได้ส่งจดหมายถึงผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน[39]
  • คณะทำงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการควบคุมตัวโดยพลการ (UN) ได้นำความเห็นที่ 92/2017 มาประชุมในวันที่ 20-24 พฤศจิกายน คณะทำงานส่งต่อเรียกร้องหาไปยังรัฐบาลอิหร่านและขอให้รัฐบาลอิหร่านให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับดร. ฌาลาลี ภายในวันที่ 17 พฤศจิกายน แต่ไม่ได้รับการตอบรับแต่อย่างใด[40]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Ahmadreza Djalali, Iran". Scholars at Risk. 24 April 2019. Retrieved 15 June 2020.
  2. "Urgent action, Iranian academic could be sentenced to death". www.amnestyusa.org. Retrieved 25 May 2020.
  3. 3.0 3.1 "Ahmadreza Djalali, Iran". Scholars at Risk. 24 April 2019. Retrieved 15 June 2020.
  4. "Urgent action, Iranian academic could be sentenced to death". www.amnestyusa.org. Retrieved 25 May 2020.
  5. "OHCHR | UN rights experts call on Iran to annul death sentence against academic and free him". www.ohchr.org. Retrieved 21 June 2020.
  6. "Ahmadreza Djalali, Iran". Scholars at Risk. 24 April 2019. Retrieved 15 June 2020.
  7. "Iran's State TV Aired Forced Confession of Ahmadreza Djalali Because He Refused to Spy for Iran". Center for Human Rights in Iran. 20 December 2017. Retrieved 30 June 2020.
  8. "Ahmadreza Djalali, Iran". Scholars at Risk. 24 April 2019. Retrieved 15 June 2020.
  9. "AMNESTY INTERNATIONAL, Urgent Actions. IRANIAN-SWEDISH ACADEMIC FORCIBLY DISAPPEARED".
  10. "WMA - The World Medical Association-World Medical Association Takes Up Case of Jailed Iranian Doctor". Retrieved 21 June 2020.
  11. "OHCHR | UN rights experts call on Iran to annul death sentence against academic and free him". www.ohchr.org. Retrieved 21 June 2020.
  12. "OHCHR | UN rights experts urge Iran to annul death sentence against Ahmadreza Djalali". www.ohchr.org. Retrieved 21 June 2020.
  13. "OHCHR | UN rights experts call on Iran to annul death sentence against academic and free him". www.ohchr.org. Retrieved 21 June 2020.
  14. Human Rights Council Working Group on Arbitrary Detention (24 November 2017). "Opinion No. 92/2017 concerning Ahmadreza Djalali (Islamic Republic of Iran)" (PDF). OHCHR. Retrieved 21 June 2020.
  15. "OPINION N. 92/2017" (PDF).
  16. "OHCHR | UN rights experts urge Iran to annul death sentence against Ahmadreza Djalali". www.ohchr.org. Retrieved 30 June 2020.
  17. "Report of the United Nations Secretary-General on the situation of human rights in the Islamic Republic of Iran – Zagros Human Rights Center". Retrieved 21 June 2020.
  18. "Report of the Special Rapporteur". www.ohchr.org. Retrieved 24 May 2020.
  19. "121 Nobel Laureates Urge Khamenei to Free Imprisoned Dual National Ahmadreza Djalali". www.iranhumanrights.org. Retrieved 25 May 2020.
  20. "IRAN: FURTHER INFORMATION: IRANIAN-SWEDISH ACADEMIC FORCIBLY DISAPPEARED: AHMADREZA DJALALI". www.amnesty.org. Retrieved 30 June 2020.
  21. "Urgent Action Iranian academic could be sentenced to death: Dr Ahmadreza Djalali" (PDF). www.amnesty.org. Retrieved 24 May 2020.
  22. "Nowruz Action" (PDF). www.amnesty.org. Retrieved 24 May 2020.
  23. "About SAR". www.scholarsatrisk.org. Retrieved 25 May 2020.
  24. "Take Action to #SaveAhmad". www.scholarsatrisk.org. Retrieved 25 May 2020.
  25. "Release Dr. Ahmadreza Djalali amidst concerns of COVID-19". www.scholarsatrisk.org. Retrieved 25 May 2020.
  26. "European University Association calls on Iran to release Swedish resident scholar sentenced to death". www.scholarsatrisk.org. Retrieved 24 May 2020.
  27. "President of EUA, Professor Rolf Tarrach, calls on Iranian authorities to reverse the death sentence against Dr. Ahmadreza Djalali". eua.eu. Retrieved 21 June 2020.
  28. "Flemish universities suspend cooperation with Iranian institutions". www.brusselstimes.com. Retrieved 24 May 2020.
  29. "Letter of concern over the detention of Dr. Ahmadreza Djalali | President's blog". Retrieved 21 June 2020.
  30. "Iran: Imminent execution of Swedish-Iranian academic must be stopped immediately". www.amnesty.org.uk. Retrieved 25 November 2020.
  31. "Iran temporarily frees 85,000 from jail including political prisoners". www.reuters.com. Retrieved 25 May 2020.
  32. "Release Dr. Ahmadreza Djalali amidst concerns of COVID-19". www.scholarsatrisk.org. Retrieved 25 May 2020.
  33. "Iran frees more than 1,000 foreign prisoners, but not VUB professor Djalali". The Brussels Times. 23 April 2020. Retrieved 21 June 2020.
  34. "OHCHR | UN rights experts urge Iran to annul death sentence against Ahmadreza Djalali". www.ohchr.org. Retrieved 15 June 2020.
  35. "SAVE AHMAD | FIDU" (in Italian). 7 December 2017. Retrieved 30 June 2020.
  36. "Iran: Release Dr. Ahmadreza Djalali". Scholars at Risk. 5 September 2019. Retrieved 30 June2020.
  37. "Iran, migliaia di firme per chiedere la liberazione di un medico condannato a morte". rainews(in Italian). Retrieved 30 June 2020.
  38. "Ahmadreza Djalali, lo scienziato condannato a morte con l'accusa di aver collaborato con Israele". Progetto Dreyfus (in Italian). 12 November 2017. Retrieved 30 June 2020.
  39. "European University Association calls on Iran to release Swedish resident scholar sentenced to death". Scholars at Risk. 13 November 2017. Retrieved 30 June 2020.
  40. "President of EUA, Professor Rolf Tarrach, calls on Iranian authorities to reverse the death sentence against Dr. Ahmadreza Djalali". eua.eu. Retrieved 21 June 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]