แอลคะเฮสต์ (วิดีโอเกม)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอลคะเฮสต์
ผู้พัฒนาฮัลแลบบอราทอรี
ผู้จัดจำหน่ายสแควร์
กำกับอัตสึชิ คากูตะ
อำนวยการผลิตซาโตรุ อิวาตะ
ออกแบบอัตสึชิ คากูตะ
โปรแกรมเมอร์ฮิโรอากิ ซูงะ
ศิลปินฮิโตชิ โยชิกาวะ
อาร์. อิชิดะ
ซาโตชิ อิชิดะ
แต่งเพลงจุง อิชิกาวะ
เครื่องเล่นซูเปอร์แฟมิคอม
วางจำหน่าย
แนวแอ็กชัน
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

แอลคะเฮสต์[a] (อังกฤษ: Alcahest) เป็นเกมแอ็กชันที่พัฒนาโดยบริษัทฮัลแลบบอราทอรี และเผยแพร่โดยบริษัทสแควร์สำหรับซูเปอร์แฟมิคอม ซึ่งเป็นหนึ่งในเกมบริษัทสแควร์ที่ไม่ได้พัฒนาแต่ได้เผยแพร่เอง โดยควบคุมนักดาบชื่อแอเลน ซึ่งเริ่มต้นการเดินทางเพื่อหยุดยั้งเผ่าปีศาจที่นำโดยบาบิโลม ผู้เป็นจักรพรรดิที่วางแผนจะพิชิตโลกด้วยกองทัพจักรวรรดิของเขา และเทพอสูรโดยตำแหน่งผู้ฟื้นคืนชีพจากความพ่ายแพ้ครั้งก่อนเมื่อพันปีก่อน โดยผู้เล่นสำรวจและค้นหาไอเทมเพื่อความก้าวหน้าและเพาเวอร์-อัป รวมถึงต่อสู้กับบอสและมินิบอส ในระหว่างการเล่นเกม แอเลนได้พบกับผู้พิทักษ์ที่ช่วยเหลือเขาด้วยพลังของพวกเขา รวมถึงพันธมิตรที่ร่วมทางกับเขาตลอดทาง

เกมดังกล่าวได้รับการประกาศครั้งแรกใน ค.ศ. 1992 ภายใต้ชื่อชั่วคราวคือการ์เดียนเบลด และแอลคะเฮสต์ได้รับการสร้างขึ้นโดยบริษัทฮัลแลบบอราทอรี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานแฟรนไชส์เคอร์บี เกมนี้กำกับและออกแบบโดยอัตสึชิ คากูตะ โดยมีซาโตรุ อิวาตะ ประธานบริษัทนินเท็นโดผู้ล่วงลับรับหน้าที่ผู้อำนวยการผลิต ส่วนเพลงแต่งโดยจุง อิชิกาวะ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานซีรีส์เคอร์บี เกมดังกล่าวได้รับการเสริมด้วยหนังสือแนะนำกลยุทธ์ แม้ว่าจะไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการนอกประเทศญี่ปุ่น แต่ก็มีการเผยแพร่การแปลโดยแฟน ๆ เป็นภาษาอังกฤษใน ค.ศ. 2002 ไม่เคยได้รับการเปิดตัวซาวด์แทร็กอย่างเป็นทางการซึ่งแตกต่างจากเกมของบริษัทสแควร์อื่น ๆ แม้ว่าธีมหลักของเพลงจะรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของอัลบัมรวมเพลงที่เผยแพร่ใน ค.ศ. 2017 ก็ตาม

แอลคะเฮสต์ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักวิจารณ์ที่มองในฐานะเกมนำเข้า โดยได้รับการยกย่องในด้านต่าง ๆ เช่น เอนจินกราฟิกที่ละทิ้งการทำให้ตัวการ์ตูนมีรูปร่างผิดสัดส่วนที่มีอยู่ดกดื่นในระบบซูเปอร์แฟมิคอม, การควบคุมที่ใช้งานง่าย, การผสมผสานองค์ประกอบเกมแอ็กชันและเกมเล่นตามบทบาท, ความหลากหลายของพันธมิตร, การออกแบบเลเวลที่หลากหลายและลื่นไหล, รูปแบบการเล่นสไตล์อาร์เคดที่เรียบง่ายแต่เปลี่ยนแปลงได้, การเข้าถึงเนื่องจากการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อยและความท้าทาย บรรดานักวิจารณ์ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่ารูปแบบและระบบการต่อสู้ของเกมชวนให้นึกถึงเซลดาและโซลเบลเซอร์ แต่ส่วนใหญ่รู้สึกผสมกันเกี่ยวกับดนตรี ในขณะที่การติเตียนมุ่งไปที่ปริศนา, การขาดปฏิสัมพันธ์ของตัวละครที่เหมาะสม, ความสั้นของเกม, บทเกม และดันเจียนซ้ำ ๆ

รูปแบบการเล่น[แก้]

แอเลนโจมตีเหล่าศัตรูโดยใช้เฟลมการ์เดียนเบลด โดยมีเจ้าหญิงเอลิกชิลเป็นเพื่อน

แอลคะเฮสต์เป็นเกมรูปแบบอาร์เคดที่เล่นจากมุมมองจากบนลงล่าง คล้ายกับเกมอย่างกอนต์เล็ต (ค.ศ. 1985), เดอะเลเจนด์ออฟเซลดา, ดันเจียนเอกซ์พลอเรอร์ และโซลเบลเซอร์[1][2][3][4] หนังสืออะไกด์ทูแจพานีสโรลเพลย์อิงเกมส์อธิบายว่าเกมดังกล่าวเป็นเกมแอ็กชันในชุดสวมบทบาท (RPG)[5] โดยเนื้อเรื่องเกิดขึ้นในโลกที่จักรพรรดินำกองทัพของเขาไปสู่การพิชิตราชอาณาจักรแพนาเคีย ท่ามกลางการฟื้นคืนชีพของเทพอสูรแอลคะเฮสต์ ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อพันปีก่อนได้พ่ายแพ้นักดาบที่ได้รับความช่วยเหลือด้วยพลังของเหล่าผู้พิทักษ์ ส่วนบาบิโลมผู้เป็นทูตจากนรก พยายามขัดขวางไม่ให้นักดาบกลับชาติมาเกิดก่อนที่จะใช้ขีดความสามารถสูงสุดของเขา[3][6][7][8]

ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นนักดาบชื่อชื่อแอเลน ในแปดด่านที่เต็มไปด้วยบล็อกต่าง ๆ ที่ขับเคลื่อนเขาไปข้างหน้าหรือส่งเขากระโดดข้ามไปยังพื้นที่อื่น สำรวจและค้นหาไอเทมและเพาเวอร์-อัป ในขณะที่ต่อสู้กับศัตรูและบอส[1][5][6][9][10] ในระหว่างการเดินทางเพื่อหยุดแอลคะเฮสต์ ผู้เล่นได้พบกับพันธมิตรที่เข้าร่วมทีมของแอเลนทีละคน พวกเขาคือพ่อมดหนุ่มที่ชื่อการ์สไตน์, เจ้าหญิงที่ชื่อเอลิกชิล, อัศวินที่ชื่อซิเรียส, หุ่นยนต์ที่ชื่อแมกนา และเทพีมังกรแปลงร่างที่ชื่อนีวิส โดยเหล่าพันธมิตรโจมตีและใช้พลังพิเศษ แต่ไม่สามารถควบคุมได้โดยตรง และต้องใช้ค่าพิเศษ (SP) สำหรับท่าพิเศษ[1][2][3][5][11]

ผู้เล่นโจมตีศัตรูโดยใช้ดาบที่บรรดาผู้พิทักษ์มอบแก่แอเลน ซึ่งแอเลนยังสามารถโจมตีแบบพุ่งตัวขณะวิ่งและบล็อกโพรเจกไทล์ของศัตรูด้วยการยืนนิ่งพร้อมกับโล่ของเขา[6][8] รวมทั้งหลังจากการต่อสู้กับบอสที่เฉพาะเจาะจง ผู้เล่นจะได้รับความสามารถของหนึ่งในสี่ผู้พิทักษ์ตามธาตุคลาสสิก โดยแอเลนสามารถชาร์จดาบของเขาเพื่อการโจมตีพิเศษ ซึ่งจะต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับความสามารถของธาตุที่เลือก ส่วนพลังเวทมนตร์ (MP) ใช้เพื่อเรียกผู้พิทักษ์ในการต่อสู้ และผู้เล่นสามารถสลับไปมาระหว่างแต่ละคนได้[1][2][3][7][12] อนึ่ง แอเลนได้รับค่าประสบการณ์ (EXP) จากการกำจัดศัตรู และผู้เล่นจะได้รับคันทินิวเพิ่มเติมหลังจากได้รับคะแนนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อเล่นต่อ[5][6][7][8] นอกจากนี้ เมื่อพลังชีวิตของแอเลนหมดลง ก็จะเกมโอเวอร์ แต่ผู้เล่นสามารถกลับมาดำเนินการต่อได้โดยใช้พาสเวิร์ดที่ให้ไว้เมื่อเริ่มแต่ละด่าน[6][8]

การพัฒนาและการตลาด[แก้]

แอลคะเฮสต์ได้รับการพัฒนาโดยบริษัทฮัลแลบบอราทอรี ซึ่งเป็นที่รู้จักจากผลงานแฟรนไชส์เคอร์บี[1][4][7] เกมดังกล่าวกำกับและออกแบบโดยอัตสึชิ คากูตะ โดยมีประธานบริษัทนินเท็นโดคือซาโตรุ อิวาตะ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้าง[7][13][14] ส่วนฮิโรอากิ ซูงะ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโปรแกรมเมอร์ ในขณะที่ภาพตัวละครจัดทำโดยศิลปินผู้มีนามว่าอาร์. อิชิดะ[13] และซาวด์แทร็กแต่งโดยจุง อิชิกาวะ ผู้เป็นที่รู้จักจากผลงานซีรีส์เคอร์บี[7][13][15] ซึ่งดนตรีของอิชิกาวะเน้นฉากแอ็กชันและความรู้สึกผจญภัยเบา ๆ[15] บริษัทฮัลตั้งใจจะเผยแพร่ภายใต้ชื่อการ์เดียนเบลด[b] แต่บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน[5][16] กระทั่งบริษัทสแควร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักจากแฟรนไชส์ไฟนอลแฟนตาซี ได้เปลี่ยนชื่อเป็นแอลคะเฮสต์และเผยแพร่เกมนี้สำหรับซูเปอร์แฟมิคอมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1993[3][5][17][18] การเผยแพร่ดังกล่าวมาพร้อมกับคู่มือกลยุทธ์ที่เผยแพร่โดยบริษัทเอ็นทีที พับลิชชิง[6] แม้ว่าจะไม่ได้เผยแพร่อย่างเป็นทางการนอกประเทศญี่ปุ่น แต่การแปลโดยแฟน ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้รับการเผยแพร่ใน ค.ศ. 2002 โดยแฟรงก์ ฮิวส์ (F.H.) ซึ่งได้รับการปรับปรุงใหม่และแก้ไขให้ถูกต้องใน ค.ศ. 2014[7][19][20] จากนั้น ใน ค.ศ. 2017 ธีมหลักของเกมนี้ได้รวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของอัลบัมรวมผลงานที่เผยแพร่โดยไฮเปอร์ดับ[21]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์76 เปอร์เซ็นต์[22]
แฟมิซือ27/40[23]
นินเท็นโดไลฟ์8/10[7]
ออฟฟิเชียลนินเท็นโดแมกกาซีน79/100[26]
ซูเปอร์คอนโซล79/100[28]

แอลคะเฮสต์ได้รับการตอบรับที่ดีโดยทั่วไปจากนักวิจารณ์ที่มองในฐานะเกมนำเข้า[23][25][27][29] เกมนี้ได้รับคะแนน 21.2 จากคะแนนเต็ม 30 ในแบบสำรวจความคิดเห็นสาธารณะที่จัดทำโดยแฟมิลีคอมพิวเตอร์แมกกาซีน[30] ส่วนเทร์รี อากิ จากนิตยสารอิเล็กทรอนิกเกมมิงมันทลีมองว่าเกมนี้เป็นเกมยอดเยี่ยมที่คล้ายกันกับไฟนอลแฟนตาซี II (เวอร์ชันญี่ปุ่นคือไฟนอลแฟนตาซี IV) และซีเครตออฟมานา (เวอร์ชันญี่ปุ่นคือเซเก็นเด็นเซ็ตสึ 2) ของบริษัทสแควร์[1] รวมทั้งฌอง-ฟรองซัวส์ มอริส จากจอยแพด ยกย่องการนำเสนอภาพและเสียง, ความสมดุลระหว่างแอ็กชันและการผจญภัย, เพื่อนร่วมทางที่หลากหลาย และระบบการต่อสู้ที่ชวนให้นึกถึงเกมโซลเบลเดอร์แต่ตั้งข้อสังเกตว่าถึงแม้ข้อความภาษาญี่ปุ่นอาจเป็นปัญหา แต่ก็ไม่ได้ขัดขวางการผ่านทุกเลเวล[25] ส่วนโทนี มอต จากนิตยสารซูเปอร์เพลย์ยกย่องกราฟิก, รูปแบบการเล่น และการออกแบบด่านของเกม แต่ติเตียนแง่มุมต่าง ๆ เช่น ปริศนา และการขาดปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมระหว่างตัวละคร[27]

แกรี แฮร์รอด และร็อบ ไบรต์ จากนินเท็นโดแมกกาซีนซิสเตม (ออฟฟิเชียลนินเท็นโดแมกกาซีน) ให้ความเห็นเชิงบวกต่อแอลคะเฮสต์สำหรับด้านกราฟิก, เสียงเอฟเฟกต์ และรูปแบบการเล่นที่สนุกสนาน แต่รู้สึกว่าดนตรีไม่ได้สื่อถึงบรรยากาศและติเตียนการกระทำที่ซ้ำซาก[26] ส่วนนิตยสารคอมพิวเตอร์และวิดีโอเกมส์ให้ความเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับภาพและสไปรต์ที่หลากหลาย, เอฟเฟกต์เสียง และรูปแบบการเล่น แต่ติเตียนดนตรีและความซ้ำซ้อน[22] นอกจากนี้ โรเบร์โต การ์นีเชลลี จากซูเปอร์เกมเพาเวอร์ได้เน้นถึงแอ็กชันและกราฟิกที่เข้มข้นของเกม[2] ในขณะที่ปีเอฟรันโก เมเรนดา และมัสซีมีลีอาโน ดีอาโก จากซูเปอร์คอนโซลยกย่องความสามารถในการเล่นและความท้าทายเนื่องจากระดับความยากหลายเลเวล แต่ติเตียนโน้ตเพลง[28]

นิตยสารรีโทรเกมเมอร์สังเกตเห็นการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบเกมแอ็กชันกับเกมเล่นตามบทบาท, กลไกของพันธมิตร และการเข้าถึงได้เนื่องจากการใช้ภาษาญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อย[29][31] ส่วนซาชีจากเฌอวิดีโอ.คอม ยกย่องการออกแบบในด่านที่หลากหลาย, รูปแบบการเล่นโดยการหยั่งรู้ เช่นเดียวกับบรรดาผู้พิทักษ์และพันธมิตรที่เพิ่มความหลากหลายในการเผชิญหน้าศัตรู แต่รู้สึกผสมปนเปกับดนตรี และติเตียนความสั้นของเกม, บทเกม ตลอดจนดันเจียนที่ซ้ำซาก[24] นอกจากนี้ กงซาลู ลอปิส จากนินเท็นโดไลฟ์ได้ยกย่องแอลคะเฮสต์สำหรับการควบคุมโดยสัญชาตญาณ, รูปแบบการเล่นสไตล์อาร์เคด, เพลงของจุง อิชิกาวะ และภาพที่ละทิ้งรูปแบบการทำให้ตัวการ์ตูนมีรูปร่างผิดสัดส่วนที่มีอยู่ดกดื่นในระบบซูเปอร์แฟมิคอม[7]

หมายเหตุ[แก้]

  1. アルカエスト Arukaesuto
  2. ญี่ปุ่น: ガーディアンブレードโรมาจิGādian Burēdo

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Aki, Terri (January 1994). "International Outlook - Alcahest". Electronic Gaming Monthly. No. 54. Sendai Publishing. p. 82.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Carnicelli, Roberto (July 1994). "SNES: Alcahest". Super Game Power [pt] (ภาษาโปรตุเกส). No. 4. Nova Cultural [pt]. p. 25.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Le Japon En Direct: Alcahest". Consoles + [fr] (ภาษาฝรั่งเศส). No. 27. EM-Images. December 1993. pp. 52–53.
  4. 4.0 4.1 "Previews: Alcahest". Total!. No. 27. Future Publishing. March 1994. p. 13.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "Alcahest". A Guide to Japanese Role-Playing Games. Bitmap Books. November 8, 2021. pp. 1–652. ISBN 978-1838019143.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 Alcahest (アルカエスト) 完全攻略ガイドブック (ภาษาญี่ปุ่น). NTT Publishing. December 17, 1993. pp. 1–128. ISBN 978-4871882828.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 7.8 Lopes, Gonçalo (February 22, 2016). "Review: Alcahest — The Legend of Alen". Nintendo Life. Nlife Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-22. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 アルカエスト (取扱説明書) (Japanese ed.). Square. December 1993.
  9. "FINAL FANTASY POST: アルカエスト - 個住的な仙人役がいてこそ早が還り上がるってもの". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 258. ASCII Corporation. November 26, 1993. pp. 154–155.
  10. "Front Line: アルカエスト". The Super Famicom [ja] (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 4 no. 22. SoftBank Creative. December 10, 1993. pp. 54–55.
  11. "FINAL FANTASY POST: アルカエスト". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 256–257. ASCII Corporation. November 12–19, 1993. pp. 150–151.
  12. "FINAL FANTASY POST: アルカエスト". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 259. ASCII Corporation. December 3, 1993. pp. 152–153.
  13. 13.0 13.1 13.2 HAL Laboratory (December 17, 1993). Alcahest (Super Famicom). Square. Level/area: Staff. (Ending screens by VGMuseum [The Video Games Museum]. เก็บถาวร 2002-10-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  14. Kulikowski, Patrick (July 14, 2015). "Hip Tanaka pays tribute to the late Satoru Iwata". Video Game Music Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  15. 15.0 15.1 Greening, Chris (2008). "Jun Ishikawa". Square Enix Music Online. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-29. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  16. "NEW SOFT: ガーディアンブレード". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 182. ASCII Corporation. June 12, 1992. p. 162.
  17. West, Neil (September 1994). "Super Express Special: Fantasy Quest". Super Play. No. 23. Future Publishing. pp. 14–17.
  18. "アルカエスト". Used Games (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 2. Kill Time Communication. Spring 1997. pp. 30–31.
  19. "Interview with F.H." FantasyAnime. December 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-08. สืบค้นเมื่อ 2024-03-16.
  20. Jurkovich, Tristan (June 5, 2020). "10 Classic SNES Games That Are Still Stuck In Japan". TheGamer. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-01. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  21. "Diggin' In The Carts". Hyperdub. Bandcamp. November 17, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-29. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  22. 22.0 22.1 "CVG Reviews - And Here's The Rest: Every Game Reviewed - Alcahest". Computer and Video Games. No. 152. EMAP. July 1994. p. 98. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-26. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  23. 23.0 23.1 "NEW GAMES CROSS REVIEW: アルカエスト". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). No. 262. ASCII Corporation. December 24, 1993. (Transcription by Famitsu.com. เก็บถาวร 2020-07-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน).
  24. 24.0 24.1 Zashy (March 26, 2012). "Test de Alcahest sur SNES par jeuxvideo.com". Jeuxvideo.com (ภาษาฝรั่งเศส). Webedia. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-10. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.
  25. 25.0 25.1 25.2 Morisse, Jean-François (February 1994). "Super Famicom Import (Version Japonaise): Revoilà Squaresoft — Alcahest". Joypad [fr] (ภาษาฝรั่งเศส). No. 28. Hachette Disney Presse. p. 141.
  26. 26.0 26.1 Harrod, Gary; Bright, Rob (June 1994). "Review: Alcahest". Nintendo Magazine System. No. 21. EMAP. pp. 76–77.
  27. 27.0 27.1 27.2 Mott, Tony (April 1994). "Import Review: Alcahest". Super Play. No. 18. Future Publishing. p. 34.
  28. 28.0 28.1 Merenda, Piefranco; Diaco, Massimiliano (July–August 1994). "Review: Alcahest". Super Console (ภาษาอิตาลี). Vol. 1 no. 6. Futura Publishing. pp. 72–73.
  29. 29.0 29.1 Jones, Darran (March 24, 2016). "Minority Report: Super Famicom - Alcahest". Retro Gamer. No. 153. Future Publishing. p. 74.
  30. "超絶 大技林 '98年春版: スーパーファミコン - アルカエスト". PlayStation Magazine [ja] (Special) (ภาษาญี่ปุ่น). Vol. 42. Tokuma Shoten Intermedia. April 15, 1998. p. 160. ASIN B00J16900U.
  31. Dragmire, Hagen (November 17, 2009). "Alcahest". Retro Gamer. Imagine Publishing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-10. สืบค้นเมื่อ 2024-03-10.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]