แอปเปิล เอ็ม 1
รายละเอียดทั่วไป | |
---|---|
Launched | 10 พฤศจิกายน 2020 |
ออกแบบโดย | แอปเปิล (บริษัท) |
Common manufacturer | |
รหัสผลิตภัณฑ์ | APL1102[1] |
Performance | |
Max. CPU clock rate | 3.2 GHz[2] |
Architecture and classification | |
Application | คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (แมคมินิ, ไอแมค), โน้ตบุ๊ก (แมคบุ๊กแอร์, แมคบุ๊กโปร), แท็บเล็ต (ไอแพด โปร และไอแพด แอร์) |
Min. feature size | 5 นาโนเมตร |
Microarchitecture | "Firestorm" and "Icestorm"[2] |
ชุด คำสั่ง | ARM v8.4-A |
Physical specifications | |
Transistors |
|
Cores |
|
GPU | ออกแบบโดย-แอปเปิล สูงสุด 8 คอร์ (M1) , 16 คอร์ (M1 Pro) , 32 คอร์ (M1 Max) , 64 คอร์ (M1 Ultra) |
Products, models, variants | |
Variant | แอปเปิล เอ 14 |
ประวิติ | |
Predecessor | อินเทล คอร์ และ แอปเปิล ที 2 ชิป (แมค) แอปเปิล เอ 12 เซด (ไอแพด โปร) แอปเปิล เอ 14 (ไอแพด แอร์) |
Successor | แอปเปิล เอ็ม 2 |
แอปเปิล เอ็ม 1 (อังกฤษ: Apple M1) เป็นระบบบนชิป (System on a Chip หรือ SoC) ที่ใช้ ARM ตัวแรก ออกแบบโดยแอปเปิล โดยชิปนี้จะเอามาใช้สำหรับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช[3] และในไอแพด โปร (รุ่นที่ 5)[4] รวมถึง ไอแพด แอร์ (รุ่นที่ 5)
แอปเปิล เอ็ม 1 เป็นชิปตัวแรกที่สร้างขึ้นโดยใช้กระบวนการ 5 นาโนเมตร และเป็นตัวแรก ที่เริ่มเปลี่ยนแมคจากการใช้ชิปอินเทล เป็นแอปเปิลซิลิคอน โดยแอปเปิลระบุว่า มีคอร์หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่เร็วที่สุดในโลก "ในซิลิคอนพลังงานต่ำ" และประสิทธิภาพของซีพียู ต่อวัตต์ที่ดีที่สุดในโลก [5][6]
และหลังจากนั้น ในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 ได้เปิดตัว M1 Pro และ M1 Max ที่ทางแอปเปิลพัฒนา SoC ขึ้นมา สำหรับงานในระดับมืออาชีพโดยเฉพาะ โดย M1 Max จะมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า M1 Pro ในด้านกราฟิค , หน่วยความจำ , การเข้ารหัส ถอดรหัส วิดีโอ และขนาดชิพ[7]
จากนั้น ในวันที่ 9 มีนาคม ได้เปิดตัวรุ่น M1 Ultra โดยนำเอา M1 Max สองตัว เข้าด้วยกันไว้ใน 1 SoC ซึ่งใช้วิธีการเชื่อมต่อแผ่นวงจรที่ทางแอปเปิลเรียกว่า UltraFusion[8]
การออกแบบ
[แก้]หน่วยประมวลผลกลาง
[แก้]ใน M1 จะมีหน่วยประมวลผลกลางทั้งหมด 8 แกน แบ่งเป็นคอร์ประสิทธิภาพสูง จำนวน 4 แกน และคอร์ประหยัดพลังงาน จำนวน 4 แกน[9]
ส่วน M1 Pro , M1 Max มีจำนวนทั้งหมด 10 แกน แบ่งเป็นคอร์ประสิทธิภาพสูง จำนวน 6 ถึง 8 แกน และคอร์ประหยัดพลังงาน จำนวน 2 แกน[7]
และ M1 Ultra มีจำนวนทั้งหมด 20 แกน แบ่งเป็นคอร์ประสิทธิภาพสูง จำนวน 16 แกน และคอร์ประหยัดพลังงาน จำนวน 4 แกน[8]
หน่วยประมวลผลกราฟิค
[แก้]ใน M1 , M1 Pro และ M1 Max จะมีหน่วยประมวลผลกราฟิค ที่ทางแอปเปิล ออกแบบเอง โดยใน M1 จะมีจำนวน 8 แกน (บางรุ่น จะมี 7 แกน) ทำให้มีประสิทธิภาพในหน่วย FP32 ที่ 2.6 เทราฟล็อปส์[9]
ในรุ่น M1 Pro จะมีจำนวน 16 แกน (บางรุ่น จะมี 14 แกน) มีประสิทธิภาพในหน่วย FP32 ที่ 5.2 เทราฟล็อปส์
ในรุ่น M1 Max จะมีจำนวน 32 แกน (บางรุ่น จะมี 24 แกน) มีประสิทธิภาพในหน่วย FP32 ที่ 10.4 เทราฟล็อปส์[7]
และในรุ่น M1 Ultra จะมีจำนวน 64 แกน (บางรุ่น จะมี 48 แกน) มีประสิทธิภาพในหน่วย FP32 ที่ 21 เทราฟล็อปส์[8]
ประสิทธิภาพ และการใช้พลังงาน
[แก้]จากการทดสอบแมคมินิ รุ่นชิปเอ็ม 1 พบว่า มีอัตราการใช้ไฟฟ้าที่ 6.8 วัตต์ เมื่อไม่ได้ใช้งาน และ 39 วัตต์ เมื่อใช้งานประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งใช้กระแสไฟน้อยกว่า Mac Mini รุ่น Intel Core i7 จำนวน 6 แกน โดยใช้ไฟฟ้าที่ 19.9 วัตต์ เมื่อไม่ได้ใช้งาน และ 122 วัตต์ เมื่อใช้งานประสิทธิภาพสูงสุด[10]
อุปกรณ์ที่ใช้
[แก้]
|
แอปเปิล เอ็ม 1
[แก้]- แมคบุ๊กแอร์ M1 รุ่นปี 2020 (รุ่นเริ่มต้น จะมีหน่วยประมวลผลกราฟิค 7 แกน)
- แมคมินิ M1 รุ่นปี 2020
- แมคบุ๊กโปร 13 นิ้ว M1 รุ่นปี 2020
- ไอแมค 24 นิ้ว M1 รุ่นปี 2021 (รุ่นเริ่มต้น จะมีหน่วยประมวลผลกราฟิค 7 แกน)
- ไอแพด โปร รุ่นที่ 5
- ไอแพด แอร์ (รุ่นที่ 5)
แอปเปิล เอ็ม 1 โปร และ เอ็ม 1 แม็กซ์
[แก้]- แมคบุ๊กโปร 14 นิ้ว และ 16 นิ้ว M1 Pro และ M1 Max รุ่นปี 2021
- แมค สตูดิโอ (รุ่น เอ็ม 1 แม็กซ์)
แอปเปิล เอ็ม 1 อัลตรา
[แก้]- แมค สตูดิโอ (รุ่น เอ็ม 1 อัลตรา)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ [Teardown] Late 2020 Mac mini: Apple Silicon M1, Thunderbolt... (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน), เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-02, สืบค้นเมื่อ 2020-11-18
- ↑ 2.0 2.1 Frumusanu, Andrei (November 17, 2020), The 2020 Mac Mini Unleashed: Putting Apple Silicon M1 To The Test, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-01, สืบค้นเมื่อ 2020-11-18
- ↑ "New MacBook Pro, MacBook Air, Mac Mini With Apple M1 SoC". NDTV Gadgets 360 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Apple เผยโฉม iPad Pro ใหม่พร้อมชิป M1 และจอภาพ Liquid Retina XDR ที่สวยงามน่าทึ่ง". Apple Newsroom (Thailand).
- ↑ "The Apple M1 is the first ARM-based chipset for Macs with the fastest CPU cores and top iGPU". GSMArena.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ Sohail, Omar (2020-11-10). "Apple's 5nm M1 Chip Is the First for ARM-Based Macs - Boasts 2x More Performance Than Latest Laptop CPU, Uses One-Fourth the Power". Wccftech (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2020-11-11.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 "ขอแนะนำ M1 Pro และ M1 Max ซึ่งเป็นชิปที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่ Apple เคยสร้างมา". Apple Newsroom (Thailand).
- ↑ 8.0 8.1 8.2 "Apple เปิดตัวชิป M1 Ultra ชิปที่ทรงพลังที่สุดในโลกสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล". Apple Newsroom (Thailand).
- ↑ 9.0 9.1 "Apple เปิดตัวชิป M1". Apple Newsroom (Thailand).
- ↑ "Mac mini power consumption and thermal output (BTU) information". Apple Support (ภาษาอังกฤษ).