ข้ามไปเนื้อหา

แอนไอโซทรอปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนไอโซทรอปี (เพียงเล็กน้อย) ของรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภาพที่วัดโดย WMAP

แอนไอโซทรอปี (anisotropy) หรือ แอนไอโซทรอปิก (anisotropic)[ม 1] เป็นสมบัติที่ตรงกันข้ามกับไอโซทรอปี โดยหมายถึงลักษณะที่สมบัติทางกายภาพและเคมีทั้งหมดหรือบางส่วนของวัตถุมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปในทิศทางต่าง ๆ เช่น กราไฟต์ ความแตกต่างของการนำไฟฟ้าในทิศทางต่าง ๆ อาจสูงถึงหลายพันเท่า และในทางดาราศาสตร์ รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของเอกภพ ก็มีแอนไอโซทรอปีเล็กน้อยเช่นกัน มีปริมาณทางกายภาพจำนวนไม่น้อยที่อาจพบลักษณะความเป็นแอนไอโซทรอปิก เช่น โมดูลัสของแรงเฉือน สัมประสิทธิ์ของการขยายตัวจากความร้อน สภาพนำไฟฟ้า อัตราการละลายในกรด เป็นต้น[1]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. anisotropy เป็นคำนาม ส่วน anisotropic เป็นคำคุณศัพท์

อ้างอิง

[แก้]
  1. Smoot G. F.; Gorenstein M. V.; Muller R. A. (5 October 1977). "Detection of Anisotropy in the Cosmic Blackbody Radiation" (PDF). Lawrence Berkeley Laboratory and Space Sciences Laboratory, University of California, Berkeley. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-02-06. สืบค้นเมื่อ 15 September 2013.