แอนทิโลปสี่เขา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอนทิโลปสี่เขา
ตัวผู้
ตัวเมีย
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Artiodactyla
วงศ์: Bovidae
วงศ์ย่อย: Bovinae
สกุล: Tetracerus
Leach, 1825
สปีชีส์: T.  quadricornis
ชื่อทวินาม
Tetracerus quadricornis
(Blainville, 1816)
ชนิดย่อย[2]
  • T. q. quadricornis
  • T. q. iodes
  • T. q. subquadricornis
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

แอนทิโลปสี่เขา หรือ ชูสิงห์[3] (อังกฤษ: Four-horned antelope, Chousingha; มราฐี: चौशिंगा; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tetracerus quadricornis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Bovinae ในวงศ์ใหญ่ Bovidae

จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Tetracerus

มีความสูงจากกีบเท้าจนถึงหัวไหล่ประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม จัดเป็นแอนทิโลปที่มีขนาดเล็กที่สุดที่พบได้ในทวีปเอเชีย มีขนสีเหลืองน้ำตาลที่บริเวณด้านข้างละด้านล่างลำตัว ด้านในของขาเป็นสีขาว ขามีลักษณะเรียวเล็กและมีแถบสีดำเป็นทางยาวไปตามขา

ในตัวผู้จะมีเขาขนาดเล็กสั้น ๆ 4 เขางอกขึ้นมาบนส่วนหัว 2 เขาแรกอยู่ระหว่างใบหูทั้ง 2 ข้างขวาหน้าผาก ซึ่งเขาคู่แรกนี้จะงอกหลังจากเกิดมาได้ไม่กี่เดือน และเขาคู่ที่ 2 จะยาวกว่าคู่แรก เป็นปัจจัยบ่งบอกถึงอายุ และสมบูรณ์แข็งแรงของแต่ละตัว อันเนื่องจากปัจจัยทางโภชนาการ จะไม่มีการสลัดเขาทิ้งเหมือนกวาง แต่เขาอาจจะแตกหักเสียหายได้จากการต่อสู้

แอนทิโลปสี่เขา มีการกระจายพันธุ์อยู่ ในอินเดียแถบรัฐทมิฬนาฑู และโอริศา และบางส่วนในเนปาล ซึ่งปัจจุบันพบได้เฉพาะในอุทยานแห่งชาติป่ากีร์เท่านั้น[4]

มีนิเวศวิทยาอาศัยอยู่ในป่าดิบแล้งหรือป่าผลัดใบ ปกติแล้วจะอาศัยและหากินเพียงลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ตัวผู้จะมีพฤติกรรมก้าวร้าว และต่อสู้กันเพื่อแย่งตัวเมีย ปกติแล้ว จะตกเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่ เช่น เสือ, สิงโต, หมาใน เป็นต้น[5] [6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mallon, D.P. (2008). "Tetracerus quadricornis". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2010.4. สืบค้นเมื่อ 25 March 2011.
  2. Wilson, Don E.; Reeder, DeeAnn M., eds. (2005). "Tetracerus quadricornis". Mammal Species of the World (3rd ed.). Baltimore: Johns Hopkins University Press, 2 vols. (2142 pp.). ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494. http://www.bucknell.edu/msw3/browse.asp?id=14200722 เก็บถาวร 2012-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  3. [https://web.archive.org/web/20130127160549/http://www.dnp.go.th/wffp/Doc/4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2/4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AA.pdf เก็บถาวร 2013-01-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน บัญชีสัตว์ป่าที่ขึ้นอนุสัญญา CITES ดาวน์โหลด]
  4. Leslie, D.M. & Sharma K. (2009). "Tetracerus quadricornis (Artiodactyla: Bovidae)". Mammalian Species 843: 1–11. doi:10.1644/843.1.
  5. Baskaran, N., Desai, A. A., & Udhayan, A. (2009). Population distribution and conservation of the four-horned antelope (Tetracerus quadricornis) in the tropical forest of Southern India. Scientific Transactions in Environment and Technovation, 2, 139-144
  6. Sharma, K., Rahmani, A. R. and Chundawat, R. S. (2005). Ecology and Distribution of Four-horned antelope in India: Final Report. Bombay Natural History Society

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Tetracerus quadricornis ที่วิกิสปีชีส์