แอตแลนติกพ็อกเกต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสงครามโลกครั้งที่สอง แอตแลนติกพ็อกเกตเป็นจุดที่สำคัญตามแนวชายฝั่งของเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม และฝรั่งเศสที่ถูกเลือกให้เป็นศูนย์กลางของการต่อต้านโดยกองทัพเยอรมันที่ยึดครองอยู่ เพื่อทำการป้องกันในระยะยาวอย่างเท่าที่จะเป็นไปได้กับการโจมตีทางภาคพื้นดินของฝ่ายสัมพันธมิตร เช่นเดียวการรวบรวมกำลังและเตรียมอาวุธสัมภาระเพื่อควบคุมพื้นที่โดยรอบ เป้าหมายของพวกเขาคือไม่ยอมให้ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ใช้ท่าเรืออย่างสะดวกและเพื่อรักษาความปลอดภัยของพวกเขาอย่างต่อเนื่องที่ใช้โดยเรือดำน้ำเยอรมันในยุทธการแห่งแอตแลนติก นอกจากนี้ ตราบใดที่เมืองต่างๆเหล่านี้ยังคงอยู่ในมือของเยอรมัน โฆษณาชวนเชื่อของพวกเขาจะมีความน่าเชื่อถือสูงขึ้น

เมื่อวันที่ 19 มกราคม อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ประกาศว่าสถานที่ทั้งสิบสี่แห่งตามแนวกำแพงแห่งแอตแลนติกเป็นป้อมปราการ(เฟสทันเกน) ซึ่งจะถูกจัดตั้งขึ้นจนกระทั่งเหลือคนสุดท้ายหรือรอบสุดท้าย-ที่ถูกเรียกว่า Atlantikfestungen สถานที่อื่นๆที่ถูกเพิ่มขึ้นเข้าไปในรายการภายหลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครอง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1944 ในคำสั่งเพิ่มเติมของวันที่ 17 สิงหาคม และ 4 กันยายน

ในฝรั่งเศส ทั้งหกพ็อกเกตที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงเริ่มแรกของการบุกครองนอร์ม็องดีในเดือนมิถุนายนและเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 ภายหลังจากนั้นส่วนที่เหลือก็ถูกล้อมไว้หมด ทั้งสามแห่งได้ถูกปลดปล่อยโดยกองทัพฝรั่งเศสในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ในขณะส่วนที่เหลือก็ได้ยอมจำนน ภายหลังจากการประกาศยอมจำนนของเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1945

รายชื่อของพ็อกเกตทั้งในหรือนอกฝั่งจากฝรั่งเศส[แก้]

แอตแลนติกพ็อกเกตทั้งในหรือนอกฝั่งจากฝรั่งเศศ, ด้วยวันที่การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นขึ้นและวันที่ฝ่ายป้องกันได้ยอมจำนน แสดงให้เห็นที่อยู่ข้างล้างดังนี้

สถานที่ การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ ยอมจำนน
แชร์บัวก์ 06 มิถุนายน ค.ศ. 1944 30 มิถุนายน ค.ศ. 1944
แซ็ง-มาโล 03 สิงหาคม ค.ศ. 1944 14 สิงหาคม ค.ศ. 1944[1]
Le Havre 10 กันยายน ค.ศ. 1944 12 กันยายน ค.ศ. 1944
เบรตส์ 07 สิงหาคม ค.ศ. 1944 19 กันยายน ค.ศ. 1944
Boulogne-sur-Mer 17 กันยายน ค.ศ. 1944 22 กันยายน ค.ศ. 1944
กาแล 25 กันยายน ค.ศ. 1944 30 กันยายน ค.ศ. 1944
Royan 12 กันยายน ค.ศ. 1944 17 เมษายน ค.ศ. 1945
Pointe de Grave 12 กันยายน ค.ศ. 1944 20 เมษายน ค.ศ. 1945
Île d'Oléron 12 กันยายน ค.ศ. 1944 30 เมษายน ค.ศ. 1945
La Rochelle 12 กันยายน ค.ศ. 1944 07 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
ดันเคิร์ก 15 กันยายน ค.ศ. 1944 09 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
หมู่เกาะแชนเนล ไม่มีการโจมตี 09 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
Lorient 12 สิงหาคม ค.ศ. 1944 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1945
แซ็ง-นาแซร์ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1944 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

อ้างอิง[แก้]

  1. The island of Cézembre held out until 2 September 1944