แอตเมิสเฟียร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอตเมิสเฟียร์
ผู้ออกแบบเบรตต์ แคลเมนส์
ฟิลลิป แทนเนอร์
ผู้วาดภาพประกอบRichard McKenna
Carmen Delprat
Daniel Burns
ผู้จัดทำJ. W. Spear & Sons
Mattel
Flying Bark Productions
Creata IP
วันที่ออกจำหน่าย1991 – ปัจจุบัน
ประเภทของเกมสยองขวัญ หวาดกลัว
จำนวนผู้เล่น3 – 6 คน
ระยะเวลาติดตั้ง10 นาที
ระยะเวลาเล่น60 นาทีขึ้นไป
ทักษะที่จำเป็นทอยลูกเต๋า และ กลยุทธ์

แอตเมิสเฟียร์ (อังกฤษ: Atmosfear) (หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ ไนท์แมร์ (อังกฤษ: Nightmare) ในบางพื้นที่) เป็นวิดีโอบอร์ดเกมแนวระทึกสยองขวัญจากประเทศออสเตรเลีย[1][2] ออกจำหน่ายครั้งแรกในปี 1991 โดย ฟิลลิป แทนเนอร์ (อังกฤษ: Phillip Tanner) และเบรตต์ แคลเมนส์ (อังกฤษ: Brett Clements)

หลังการเปิดตัวเกมสองปี แอตเมิสเฟียร์ถูกจำหน่ายออกไปถึง 2 ล้านฉบับ และหลังจากนั้นได้มีการออกส่วนเสริมมาอีกสามเกม

ในปี 1995 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในชื่อส่วนเสริม เดอะ ฮาร์บิงเกอร์ส (อังกฤษ: The Harbingers) ซึ่งขายได้มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ของอุตสาหกรรมในออสเตรเลีย และกลายเป็นหนึ่งในสิบเกมที่ขายดีที่สุดในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรภายในไม่กี่เดือนหลังจากเปิดตัว

เกมกระดานซีรีส์นี้ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ในปี 2004 ในชื่อ แอตเมิสเฟียร์: เดอะ เกตคีพเพอร์ (อังกฤษ: The Gatekeeper) และเปลี่ยนเทคโนโลยีจากเทปวิดีโอไปใช้แผ่นดีวีดีแทน พร้อมทั้งการตั้งโปรแกรมสุ่ม เพื่อให้ตัวเกมมีความแปลกใหม่ทุกครั้งในการเล่น เกมกระดานดีวีดีชุดที่สองเปิดตัวในปี 2006 ในชื่อ คูฟู เดอะ มัมมี (อังกฤษ: Khufu the Mummy)

แอตเมิสเฟียร์ มีการเปิดตัวเวอร์ชันใหม่ในปี 2019 พร้อมทั้งเปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อประกอบกับการเล่น และในปี 2021 ได้มีการออกเกมในฉบับรีบูตผ่านการระดมทุนผ่านคิกสตาร์ทเตอร์

ระบบการเล่น[แก้]

เป้าหมายของเกมคือการรวบรวมกุญแจหกสีที่แตกต่างกัน[3][4][5][6] และเอาชนะผู้คุมเกม ซึ่งในซีรีย์ส่วนมากจะเป็นผู้เฝ้าประตู หรือ the Gatekeeper ที่เป็นผู้คุมเกม แต่ในตัวเกมปี 2006 และสามส่วนเสริมในตัวเกมหลัก จะมีตัวละครอื่นที่จะทำหน้าที่ผู้คุมเกมแทน และทำหน้าที่อธิบายกฎกติกาของตัวเอง[6] เพื่อที่จะเอาชนะผู้คุมเกม ผู้เล่นต้องเผชิญกับความกลัวที่เลวร้ายที่สุด หากผู้เล่นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายภายในเวลาที่กำหนด ผู้คุมเกมจะเป็นฝ่ายชนะ[7]

เทปวิดีโอ[3][4]หรือภายหลังในรูปแบบดีวีดี[5][6]จะถูกแถมมาในกับตัวเกมและจะทำหน้าที่เป็นนาฬิกาจับเวลา และเป็นผู้คุมเกม ซึ่งผู้คุมเกมจะทำการอธิบายวิธีการเล่นให้กับผู้เล่น เมื่อผู้เล่นสามารถสะสมกุญแจได้จนครบ ผู้เล่นจะสามารถชนะได้เมื่อได้เผชิญกับความกลัวที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งอันที่จริงเป็นเพียงเหตุการณ์สุ่มหรือถูกกำหนดโดยผู้เล่นในช่วงติดตั้งเกม หากผู้เล่นไม่กลัวแล้วทำภารกิจสำเร็จ ผู้เล่นจะเป็นผู้ชนะ

ตัวละคร[แก้]

ตัวละครทั้งหมดในเกม แอตเมิสเฟียร์ จะอ้างอิงจากบุคคลหรือตำนานในชีวิตจริง

เดอะ ฮาร์บิงเกอร์ส (The Harbingers)[แก้]

เดอะ โซล เรนเจอร์ส (The Soul Rangers)[แก้]

เส้นเวลา[แก้]

เกม ปี ผู้คุมเกม ตัวละคร
Nightmare 1991 ผู้เฝ้าประตู
Nightmare II 1992 บารอนซาเมอดี ซอมบี
Nightmare III 1993 แอน เดอ ช็องแตร็น แม่มด
Nightmare IV 1994 แอร์เฌแบ็ต บาโตรี แวมไพร์
Atmosfear: The Harbingers 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Harbingers Booster Tape 1 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Harbingers Booster Tape 2 1995 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: The Soul Rangers 1996 ดร.แมสทีฟฟ์ โครงกระดูก
Atmosfear: The Gatekeeper 2004 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear: Khufu the Mummy 2006 คูฟู มัมมี่
Atmosfear 2019 ผู้เฝ้าประตู
Atmosfear 30th Anniversary Edition 2021 ผู้เฝ้าประตู

อ้างอิง[แก้]

  1. Paulsen, Steven (1996). "Cowboys and Atmosfear". Bloodsongs. Australia: Bambada Press (7): 16.
  2. Nicklin, Lenore (12 April 1994). "Game boys". The Bulletin. Sydney, Australia: Australian Consolidated Press. 116 (5915): 36. ISSN 0007-4039.
  3. 3.0 3.1 Nightmare [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 1991.
  4. 4.0 4.1 The Harbingers [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 1995.
  5. 5.0 5.1 The Gatekeeper [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 2004.
  6. 6.0 6.1 6.2 Khufu The Mummy [Game booklet]. Australia: A Couple 'A Cowboys. 2006.
  7. The Harbingers (VHS videotape). Australia: A Couple 'A Cowboys. 1995. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 59:57. The Gatekeeper: It's over you idiots. You have lost, and you only have yourselves to blame. So good riddance. *laughs*

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]