ข้ามไปเนื้อหา

แวมไพร์ รัตติกาลรัก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แวมไพร์ รัตติกาลรัก
ปกดีวีดีของภาพยนตร์
กำกับโทมัส อัลเฟร็ดสัน
เขียนบทนวนิยายและบทภาพยนตร์
จอห์น แอจไวด์ ลินด์ควิท
อำนวยการสร้างจอร์น นอร์ดิ่ง
นักแสดงนำแคร์ เฮเดแบรนท์
ลีน่า ลีนเดอร์สัน
เพอร์ แร็กนา
ตัดต่อโทมัส อัลเฟร็ดสัน
ผู้จัดจำหน่ายMagnolia Pictures (US)
มงคล เมเจอร์(TH)
วันฉาย24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 (อเมริกา,สวีเดน)
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 (ไทย)
ความยาว114 นาที
ประเทศสวีเดน
ภาษาสวีเดน

แวมไพร์ รัตติกาลรัก (อังกฤษ: Let the Right One In) เป็นภาพยนตร์สวีเดนนอกกระแสแนวโรแมนติก สยองขวัญ ดัดแปลงจากนวนิยายในชื่อเดียวกันของจอห์น แอจไวด์ ลินด์ควิทซึ่งรับหน้าที่เขียนบทในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย ออกฉายในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ในอเมริกาและสวีเดน เนื้อเรื่องของภาพยนตร์จะเกี่ยวข้องกับแวมไพร์แถบสแกนดิเนเวีย นอกจากนั้นตัวภาพยนตร์ยังมีกลิ่นอายของภาพยนตร์แนวการก้าวผ่านวัยแฝงอยู่ด้วย หลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉายก็ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกและกวาดรางวัลจากสถาบันต่าง ๆ มามากมาย

เนื้อเรื่อง

[แก้]

ออสการ์เด็กชายวัย 12 ที่อพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่งมักมีปัญหาในเรื่องการถูกกลั่นแกล้งจากเพื่อนๆในโรงเรียนและไม่กล้าที่จะตอบโต้ และระบายอารมณ์ตนเองด้วยการใช้มีดแทงต้นไม้โดยนึกภาพของเพื่อนว่ากำลังโดนตัวเองแทง วันหนึ่งเขาพบกับเด็กหญิงชื่อเอลี่ซึ่งอายุเท่ากับเขาซึ่งอาศัยอยู่ในห้องข้างๆเขาอีกด้วยทั้งคู่สนิทกันอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันฮาคานชายสูงอายุที่เข้ามาอยู่กับเอลี่ก็ออกตามล่าเลือดของคนโดยการจับห้อยหัวแล้วกรีดคอและนำเลือดมาให้เอลี่กินทุกวันโดยที่ออสการ์ไม่รู้ ในขณะเดียวกันก็มีข่าวการพบศพคนตายมากมาย และความสัมพันธ์ของออสการ์และเอลี่แน่นแฟ้นมากขึ้นทั้งคู่ใช้วิธีการสื่อสารโดยใช้รหัสมอร์สผ่านผนังห้อง

ทั้งคู่เริ่มสนิทกันมากขึ้นแต่ฮาคานทำงานพลาดบ่อยเนื่องจากความสูงวัยของเขาทำให้บางวันนั้นไม่สามารถนำเลือดกลับมาให้เอลี่ได้ จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนมาพบฮาคานเข้าเขาจึงใช้น้ำกรดราดหน้าตนเองเป็นการทำโทษและปิดบังใบหน้าของตนไม่ให้ถูกจับได้จนต้องเข้าโรงพยาบาล เมื่อเอลี่รู้ว่าฮาคานทำงานพลาดจึงตามฮาคานไปที่โรงพยาบาลและฆ่าฮาคานทิ้งด้วยการดูดเลือดและโยนฮาคานทิ้งลงมาจากชั้นสูงเนื่องจากฮาคานทำงานพลาดอีกครั้ง แต่ต่อมาเอลี่ก็เปิดเผยต่อออสการ์ว่าตนไม่ใช่ผู้หญิงและไม่ใช่คนอีกด้วยแต่ออสการ์ยังคงรักเอลี่ต่อไปและสัญญากับเอลี่ว่าหากทุกอย่างปกติทั้งคู่จะได้อยู่ด้วยกัน ซึ่งเอลี่ก็แนะนำให้ออสการ์กล้าที่จะตอบโต้เพื่อนที่คอยกลั่นแกล้งบ้างจนกระทั่งวันหนึ่งออสการ์ตอบโต้เพื่อนจนเพื่อนคนนั้นสูญเสียการได้ยินไปหนึ่งข้าง

ต่อมาออสการ์เริ่มสงสัยในตัวเอลี่ในพฤติกรรมต่างๆเช่น ออกมาเฉพาะตอนกลางคืน กลิ่นตัว เป็นต้น จนกระทั่งวันหนึ่งออสการ์ใช้มีดแทงมือตนเองเอลี่จึงเข้ามาเลียเลือดที่พื้น ทำให้ออสการ์รู้ว่าเอลี่คือแวมไพร์แต่ออสการ์ก็ไม่ได้รักเอลี่น้อยลง วันหนึ่งเอลี่ได้กระโดดลงมากัดที่คอของหญิงสาวคนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในอพาร์ทเม้นท์เช่นเดียวกันแต่ถูกขัดขวางโดยแฟนหนุ่มของหญิงสาว ทำให้เอลี่ดื่มเลือดไม่สำเร็จผู้หญิงคนนั้นจึงเป็นแวมไพร์หลังจากนั้นเธอได้ฆ่าตัวตายด้วยการถูกแสงอาทิตย์จนไฟลุกไหม้ท่วมตัว แฟนหนุ่มเมื่อรู้ดังนั้นจึงแค้นใจและตามหาเอลี่เพื่อแก้แค้นจนเจอเอลี่หลับอยู่จึงคิดจะทำให้เธอถูกแสงอาทิตย์แต่ออสการ์เข้ามาขวางไว้ เอลี่จึงตื่นขึ้นและกระโดดเข้าไปกัดที่คอของชายคนนั้นและดูดเลือดจนตาย เมื่อออสการ์เห็นเอลี่ฆ่าคนต่อหน้าต่อตาจึงกลัวแต่เอลี่เข้าไปปลอบว่าที่เธอทำเพราะจำเป็นต้องทำ

หลายวันต่อมาออสการ์ถูกหลอกให้ไปที่สระว่ายน้ำของโรงเรียนโดยเพื่อนที่เคยแกล้งออสการ์ ออสการ์ไปที่สระว่ายน้ำแล้วพบกับพี่ชายของเพื่อนที่เคยแกล้งออสการ์ เขาจับออสการ์กดน้ำในขณะที่ออสการ์กำลังจะหมดลมหายใจเอลี่เข้ามาช่วยไว้โดยการตัดหัวและแขนของชายคนที่จับออสการ์กดน้ำและช่วยออสการ์ขึ้นมาได้ หลังจากนั้นทั้งคู่ขึ้นรถไฟขบวนหนึ่งและได้อยู่ด้วยกันตลอดไป

คำวิจารณ์

[แก้]

ภาพยนตร์เรื่องแวมไพร์ รัตติกาลรักได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกเป็นอย่างมาก โดยเว็บไซต์วิจารณ์ภาพยนตร์ชื่อดังต่างๆ เช่น Rotten Tomatoes, Metacritic,IMDb หรือ Box Office Mojo ต่างก็ล้วนเทคะแนนให้กับภาพยนตร์เรื่องนี้ โดย Rotten Tomatoes ให้คะแนน 98% จาก 141 คำวิจารณ์ถือว่าเป็นคำวิจารณ์ในแง่บวกอย่างมาก[1] ส่วนคะแนนจาก Metacritic ให้ 82 คะแนนจาก 100 โดย 30 คำวิจารณ์[2] IMDbให้คะแนน 8.1 จาก 10 คะแนนโดยมีคนโหวตทั้งสิ้น 32,507 โหวต[3] Box Office Mojo ให้เกรด A- จาก 159 คะแนนโหวต[4]

ส่วนคำวิจารณ์ในประเทศไทยนั้นไม่มีมากนักเนื่องจากภาพยนตร์เป็นภาพยนตร์นอกกระแสและฉายจำกัดโรงทำให้คนรู้จักภาพยนตร์ค่อนข้างน้อยแต่ถึงอย่างนั้นคะแนนโหวตจากเว็บไซต์พันทิปดอตคอมภาพยตร์เรื่องนี้ก็ได้รับคำวิจารณ์ในแง่บวกและได้อันดับที่ 3 จาก 52 คำวิจารณ์ให้เป็น "หนังดีหนังเด่นรอบครึ่งปีจากการคัดเลือกของชาวเฉลิมไทย"[5]

รางวัล

[แก้]

นอกจากภาพยนตร์จะได้รับคำวิจารณ์ท่วมท้นจากเว็บไซต์ดัง ๆข องต่างประเทศแล้ว ภาพยนตร์ยังกวาดรางวัลจากสถาบันต่างๆ มากมายหลายสิบรางวัล ดังนี้

รางวัล สาขา ผู้เข้าชิง ผลรางวัล
Saturn Award[6][7] Best International Film - ได้รับรางวัล
Best Performance by a Younger Actor ลีน่า ลีนเดอร์สัน เสนอชื่อเข้าชิง
Best Writing จอห์น แอจไวด์ ลินด์ควิท เสนอชื่อเข้าชิง
Austin Fantastic Fest[8] Best Horror Feature - ได้รับรางวัล
Austin Film Critics Association[9] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Boston Society of Film Critics Awards[10] Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Broadcast Film Critics Association Awards[11] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Calgary International Film Festival[12] Best International Feature โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Chicago Film Critics Association Awards[13] Most Promising Filmmaker โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Most Promising Performer ลีน่า ลีนเดอร์สัน เสนอชื่อเข้าชิง
Chlotrudis Awards[14] Best Cinematography Hoyte Van Hoytema ได้รับรางวัล
Edinburgh International Film Festival Rotten Tomatoes Critical Consensus Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Fant-Asia Film Festival[15] Best European/North — South American Film โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Best Director โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Best Film โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Best Photography Hoyte Van Hoytema ได้รับรางวัล
Florida Film Critics Circle Awards[16] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Guldbagge Awards Best Achievement (Bästa prestation) Eva Norén ได้รับรางวัล
Best Achievement (Bästa prestation) Per Sundström
Jonas Jansson
Patrik Strömdahl
ได้รับรางวัล
Best Cinematography (Bästa foto) Hoyte Van Hoytema ได้รับรางวัล
Best Direction (Bästa regi) โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Best Screenplay (Bästa manuskript) จอห์น แอจไวด์ ลินด์ควิท ได้รับรางวัล
Best Film (Bästa film) John Nordling
Carl Molinder
เสนอชื่อเข้าชิง
Best Supporting Actor (Bästa manliga biroll) Per Ragnar เสนอชื่อเข้าชิง
Gérardmer Film Festival Critics Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Best Film โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Göteborg Film Festival Nordic Film Prize โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Nordic Vision Award Hoyte Van Hoytema ได้รับรางวัล
Amsterdam Fantastic Film Festival[17] Silver Scream Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Black Tulip Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Kansas City Film Critics Circle Awards[18] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
NatFilm Festival[19] Critics Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
NIFFF|Neuchâtel International Fantastic Film Festival Grand Prize of European Fantasy Film in Silver โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Special Mention โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Youth Jury Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Online Film Critics Society Awards[20] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Best Screenplay, Adapted จอห์น แอจไวด์ ลินด์ควิท ได้รับรางวัล
Breakthrough Filmmaker โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Breakthrough Performance ลีน่า ลีนเดอร์สัน ได้รับรางวัล
Breakthrough Performance แคร์ เฮเดแบรนท์ เสนอชื่อเข้าชิง
Phoenix Film Critics Society Awards Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Puchon International Fantastic Film Festival[21] Best Director โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Citizen's Choice Award โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
San Diego Film Critics Society Awards[22] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
San Francisco Film Critics Circle[23] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Sitges - Catalonian International Film Festival[24] Grand Prize of European Fantasy Film in Gold โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Southeastern Film Critics Association Awards[25] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Toronto After Dark Film Festival[26] Best Feature Film โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Toronto Film Critics Association Awards[27] Best Foreign-Language Film - ได้รับรางวัล
Tribeca Film Festival Best Narrative Feature โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล
Washington DC Area Film Critics Association Awards[28] Best Foreign Language Film - ได้รับรางวัล
Woodstock Film Festival[29] Best Narrative Feature โทมัส อัลเฟร็ดสัน ได้รับรางวัล


อ้างอิง

[แก้]
  1. Let the Right One In on Rotten Tomatoes
  2. "Let the Right One In on Metacritic". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  3. Let the Right One In on IMDb
  4. LET THE RIGHT ONE IN (2008)
  5. "20หนังดีหนังเด่นรอบครึ่งปีจากการคัดเลือกของชาวเฉลิมไทยความคิดเห็นที่105". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-09. สืบค้นเมื่อ 2009-08-01.
  6. Cohen, David S. (2009-06-24). "'Dark Knight' wins big at Saturns". Variety. สืบค้นเมื่อ 2009-06-25.
  7. Olson, Dale (2009-03-10). "Nominations for the 35th Annual Saturn Awards". Academy of Science Fiction, Fantasy & Horror Films. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-29. สืบค้นเมื่อ 2009-03-11.
  8. Jones, Kimberley (2008-09-23). "Fantastic Fest Award Winners Announced". Austin Chronicle. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  9. "2008 Awards". Austin Film Critics Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  10. "Boston Society of Film Critics Awards 2008 Winners". Boston Society of Film Critics. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  11. "The BFCA Critics' Choice Awards :: 2008". Broadcast Film Critics Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-07. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  12. Stewart, Tracy (2008-10-07). "THE CALGARY INTERNATIONAL FILM FESTIVAL ANNOUNCES 2008 AWARD WINNERS". Calgary International Film Festival. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.[ลิงก์เสีย]
  13. "Chicago Film Critics Awards - 2008-". Chicago Film Critics Association. 2008-12-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-21. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
  14. "Chlotrudis society for Independent Film". Chlotrudis Society for Independent Film. 2009-03-22. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
  15. "FEATURE FILM COMPETITION". Fantasia Festival. 2008-07-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-13. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  16. Arthur, Deborah (2008-12-18). "Florida Film Critics Awards 2008". Alternative Film Guide. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  17. http://www.imaginefilmfestival.nl/index.php?pageid=awards&catid=awards
  18. "KCFCC Award Winners 2000-". Kansas City Film Critics Circle. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  19. Strandbeck, Mikael (2008-04-09). "NatFilm Festivalen siger go` nat" (ภาษาเดนมาร์ก). Dagbladet Arbejderen. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  20. ""WALL-E" Named Best Picture in Online Film Critics Society Awards". Online Film Critics Society. 2009-01-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.
  21. "PiFan2008 AWARD". Puchon International Fantastic Film Festival. 2008-07-25. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.[ลิงก์เสีย]
  22. "San Diego Film Critics Choose Best of 2008". San Diego Film Critics Society. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-28. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  23. "2008 SAN FRANCISCO FILM CRITICS CIRCLE AWARDS". San Francisco Film Critics Circle. 2008-12-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-01. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  24. "MÉLIÈS D'OR WINNER IN 2008". European Fantastic Film Festivals Federation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-14. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  25. Arthur, Deborah (2008-12-15). "Southeastern Film Critics Awards 2008". Alternative Film Guide. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  26. "Award Winners 2008". Toronto After Dark Film Festival. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-26. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  27. Wilner, Norman (2008-12-17). "TFCA Awards 2008". Toronto Film Critics Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-17. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  28. "WAFCA: Awards - 2008". Washington D.C. Area Film Critics Association. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.
  29. "2008 Awards info". Woodstock Film Festival. สืบค้นเมื่อ 2009-04-27.