แฟ็งเดอซีแย็กล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพวาดโดยอาชีล เลอมอในนิตยสารข่าว เลอเปเลแร็ง (ค.ศ. 1899 หรือ 1900) ล้อเลียนคุณค่าที่ฝ่ายสาธารณรัฐยึดถือว่าเป็นเรื่องเพ้อฝัน

แฟ็งเดอซีแย็กล์ (ฝรั่งเศส: fin de siècle) เป็นคำภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "ปลายศตวรรษ" วลีนี้มีความหมายคล้ายสำนวนภาษาอังกฤษ "turn of the century" (เปลี่ยนศตวรรษ) และหมายความถึงการสิ้นสุดยุคสมัยหนึ่งและเริ่มต้นยุคสมัยใหม่ โดยทั่วไปวลีแฟ็งเดอซีแย็กล์ (หากไม่มีบริบทร่วม) หมายถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งช่วงเวลานี้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความเสื่อมทางสังคม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นความหวังในการเริ่มต้นใหม่[1] "จิตวิญญาณ" ของแฟ็งเดอซีแย็กล์มักหมายถึงพลวัตทางวัฒนธรรมช่วงคริสต์ทศวรรษ 1880 และ 1890 ซึ่งรวมถึงความเบื่อหน่าย ไม่วางใจ มองโลกในแง่ร้ายและ "ความเชื่อแพร่หลายว่าอารยธรรมนำไปสู่ความเสื่อมทราม"[2][3]

เดิมแฟ็งเดอซีแย็กล์เป็นวลีที่ใช้ทั่วไปกับศิลปะและศิลปินฝรั่งเศส ซึ่งลักษณะทางวัฒนธรรมปรากฏครั้งแรกที่นั่น แต่ต่อมาลักษณะดังกล่าวแพร่ไปสู่ประเทศยุโรปอื่น ๆ[4][5] วลีนี้จึงกลายเป็นทัศนะและคุณลักษณะทางวัฒนธรรมของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มากกว่าจะมุ่งเน้นเฉพาะขบวนการทางศิลปะในฝรั่งเศสที่เป็นต้นกำเนิด แนวคิดที่ศิลปินยุคนี้พัฒนาขึ้นยังผลักดันให้เกิดลัทธิสัญลักษณ์นิยมและนวยุคนิยม[6]

แนวคิดสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมืองช่วงแฟ็งเดอซีแย็กล์เป็นที่ถกเถียงอย่างมากและมักถูกกล่าวว่าส่งอิทธิพลสำคัญต่อลัทธิฟาสซิสต์[7][8] และเป็นจุดกำเนิดของวิชาภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงแนวคิด เลเบินส์เราม์ ของเยอรมนี[9] ไมเคิล เฮฟเฟอร์แนน ศาสตราจารย์ด้านภูมิศาสตร์ประวัติที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม และแมคคูบิน ทอมัส โอเวนส์ นักวิชาการอาวุโสที่สถาบันวิจัยนโยบายต่างประเทศเขียนถึงที่มาของภูมิรัฐศาสตร์:

แนวคิดซึ่งโครงการที่ต้องการชื่อใหม่ในปี ค.ศ. 1899 นี้ สะท้อนถึงความเชื่อแพร่หลายว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเศรษฐกิจและระบบการเมืองโลกนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง

เฮฟเฟอร์แนนบรรยายว่า "จะเข้าใจโลกใหม่ของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้ทั้งหมดต้องบูรณาการเข้ากับทั้งโลก" เทคโนโลยีและการสื่อสารทั่วโลกส่งผลให้โลก "เล็กลง" และเกิดคติ "โลกเดียว" ในอุดมคติ ซึ่งพัฒนาไปไกลกว่า "อุดมการณ์รวม"[10][11] ขณะที่โอเวนส์กล่าวว่า

สิ่งที่เราคิดเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ขณะนี้มีที่มาจากยุโรปยุค fin de siècle ซึ่งขานรับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ... และการสรรสร้าง "ระบบการเมืองแบบปิด" เมื่อการแข่งขันของจักรวรรดินิยมยุโรปลบ "พรมแดน" ของโลก[12]

ปฏิกิริยาทางการเมืองหลักในยุคสมัยนี้คือการลุกฮือต่อต้านวัตถุนิยม เหตุผลนิยม ปฏิฐานนิยม ชนชั้นกระฎุมพีและประชาธิปไตยเสรีนิยม[7] ชั่วรุ่นแฟ็งเดอซีแย็กล์สนับสนุนอารมณ์นิยม ความไร้เหตุผล อัตนัยนิยมและชีวิตนิยม[8] ขณะที่กรอบความคิดของยุคสมัยมองว่าอารยธรรมกำลังตกอยู่ในวิกฤตและต้องการการแก้ไขครั้งใหญ่และสมบูรณ์[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Schaffer, Talia. Literature and Culture at the Fin de Siècle. New York: Longman, 2007. 3.
  2. Meštrović, Stjepan G. The Coming Fin de Siecle: An Application of Durkheim's Sociology to modernity and postmodernism. Oxford; New York: Routledge (1992 [1991]: 2).
  3. Pireddu, Nicoletta. "Primitive marks of modernity: cultural reconfigurations in the Franco-Italian fin de siècle". Romanic Review 97 (3–4), 2006: 371–400.
  4. McGuinness, Patrick (ed.) Symbolism, Decadence and the Fin de Siècle: French and European Perspectives. Exeter University Press, 2000: 9.
  5. Pireddu, Nicoletta. Antropologi alla corte della bellezza. Decadenza ed economia simbolica nell'Europa fin de siècle. Verona: Fiorini, 2002.
  6. Has-Ellison, J.Trygve. "Nobles, Modernism, and the Culture of fin-de-siècle Munich". German History 26(1), 2008: 1–23, 2. doi:10.1093/gerhis/ghm001.
  7. 7.0 7.1 7.2 Sternhell, Zeev. "Crisis of Fin-de-siècle Thought". International Fascism: Theories, Causes and the New Consensus. London and New York (1998): 169.
  8. 8.0 8.1 Payne, Stanley G. A history of fascism, 1914–1945. Oxford: Routledge (1995, 2005): 23–24.
  9. Stephen Kern, Culture of Time and Space, 1880–1918 (Massachusetts & London: Harvard University Press, 1983).
  10. Michael Heffernan. "Fin de Siècle, Fin du Monde? On the Origins of European Geopolitics; 1890–1920". Geopolitical Traditions: A Century of Geopolitical Thought (eds.Klaus Dodds, & David A. Atkinson, London & New York: Routledge, 2000), pp. 28, 31.
  11. Michael Heffernan. "The Politics of the Map in the Early Twentieth Century". Cartography and Geographic Information Science, 29/3, (2002): p. 207.
  12. Mackubin Thomas Owens, "In Defense of Classical Geopolitics," Naval War College Review, 50(4), (1999): p. 65. JSTOR 44643038.