แฟนแทสติกโฟร์ (วิดีโอเกม พ.ศ. 2540)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แฟนแทสติกโฟร์
ผู้พัฒนาโพรบเอนเตอร์เทนเมนต์
ผู้จัดจำหน่ายอะเคลมเอนเตอร์เทนเมนต์
อำนวยการผลิตรอเบิร์ต โอฟาร์เรล, โทนี เบ็กวิธ (ผู้บริหาร)
ออกแบบนิก เบนส์
โปรแกรมเมอร์บาลอร์ ไนต์
สเตฟาน ฮอปเปอร์
ศิลปินสตีฟ มิดเดิลตัน
พอล ฟิปเปน
แมต เทรซี
แต่งเพลงสตีเฟน รูต
นีล พาล์มเมอร์
เครื่องเล่นเพลย์สเตชัน
วางจำหน่าย
แนวบีตเอ็มอัป

แฟนแทสติกโฟร์ (อังกฤษ: Fantastic Four) บางครั้งติดป้ายผิดในฐานะ แฟนแทสติก 4 (อังกฤษ: Fantastic 4)[1] เป็นวิดีโอเกมเพลย์สเตชันที่พัฒนาโดยโพรบเอนเตอร์เทนเมนต์ และเผยแพร่โดยอะเคลมเอนเตอร์เทนเมนต์ เกมนี้ได้รับการเปิดตัวใน ค.ศ. 1997 และใช้ตัวละครจากมาร์เวลคอมิกส์ที่มีชื่อเดียวกัน เกมดังกล่าวเป็นแนวบีตเอ็มอัปที่เปิดตัวในช่วงเวลาที่แนวดังกล่าวเกือบจะตายไปแล้ว โดยได้รับคำวิจารณ์เชิงลบซึ่งระบุว่าเป็นเกมที่ซ้ำซากจำเจและเล่นง่ายจนน่าเบื่อ

โครงเรื่อง[แก้]

ด็อกเตอร์ดูมได้พัฒนาอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายแฟนแทสติกโฟร์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ สู่การต่อสู้กับมอนสเตอร์และตัวร้ายที่มีพลังพิเศษต่าง ๆ ซึ่งคนพลังกายสิทธิ์ได้ประกอบไทม์แมชชีนที่ช่วยให้เขาส่งทีมไปยังอาณาจักรเล็ก ๆ ของด็อกเตอร์ดูมเพื่อการต่อสู้ครั้งสุดท้าย แม้ว่ากาแลกตัสจะไม่ปรากฏในเกม แต่ก็ชัดเจนว่าเขาอยู่เบื้องหลังการทำลายของสครัลโฮมเวิลด์

รูปแบบการเล่น[แก้]

รูปแบบของเกมคล้ายกับเกมอาร์เคด เช่น ไฟนอลไฟต์ และแบทแมน ฟอร์เอฟเวอร์: ดิอาร์เคดเกม ของอะเคลมเอง[2] ผู้เล่นสูงสุดสี่คน (โดยเพลย์สเตชัน มัลติแทป) สามารถควบคุมคนพลังกายสิทธิ์, สาวน้อยพลังล่องหน, คนพลังภูผาหิน, คนพลังไฟ หรือชี-ฮัลค์ ผ่านการเลื่อนฉากระดับต่าง ๆ[2] กลุ่มผู้ก่อการร้าย, หุ่นยนต์ และสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์จะปรากฏในแต่ละหน้าจอ และต้องถูกทำลายก่อนที่ผู้เล่นจะรุดหน้าได้ ตัวละครทุกตัวมีท่าต่อสู้ระยะสั้นที่หลากหลาย ทั้งต่อย, เตะ, กระโดด และเหวี่ยงศัตรูหรือสิ่งของ นอกจากนี้ ตัวละครแต่ละตัวมีท่าพิเศษอย่างน้อยสี่ท่าที่ไม่ซ้ำกันสำหรับตัวละครนั้น[2] การใช้บล็อกหรือท่าพิเศษบางอย่างจะทำให้ "ฟอร์ซเพาเวอร์" ของตัวละครหมดไป[2]

ศัตรูบางตัวจะทิ้งไอคอนไว้เบื้องหลังซึ่งให้ชีวิตเพิ่มแก่ผู้เล่น, หรือฟื้นฟูพลังชีวิต หรือฟอร์ซเพาเวอร์ ในตอนท้ายของแต่ละด่านจะมีตัวร้ายที่มีพลังพิเศษเพื่อกำจัด ได้แก่ โมลแมน, ซูเปอร์-สครัล, แอตทูมา, ซับ-มารีเนอร์, ไซโค-แมน หรือด็อกเตอร์ดูม หลังจากการกำจัดบอส โดยไม่สูญเสียชีวิตของผู้เล่นใด ๆ จะมีโบนัสหนึ่งในสามยก ซึ่งการต่อสู้ที่นี่เกิดขึ้นกับดรากอนแมน, ฮัลค์ หรือไอซ์แมน และในช่วงเวลาโหลดระหว่างแต่ละด่าน ผู้เล่นสามารถเล่นเกมแข่งรถขนาดเล็กได้

ผู้เล่นสามารถสลับระหว่างฮีโรที่ยังไม่ได้เล่นได้ตลอดเวลา[2] บอสบางตัวพูดสั้น ๆ ก่อนต่อสู้หรือพ่ายแพ้ โดยสิ่งนี้ได้รับผลจากการเลือกตัวละครของผู้เล่น

หากผู้เล่นใช้ท่าเดียวกันหลายครั้งเกินไป ไอคอน "เหมือนเนยแข็ง" จะปรากฏขึ้น ในขณะที่ใช้ท่าที่หลากหลายจะทำให้ไอคอนยกนิ้วโป้งปรากฏขึ้น โดยไอคอนทั้งสองไม่มีผลกระทบต่อคะแนนของผู้เล่น[2]

การพัฒนา[แก้]

มีการประกาศเกมเวอร์ชันเซกา แซตเทิร์น แต่บริษัทอะเคลมได้ยกเลิกไปในต้น ค.ศ. 1997[3]

การตอบรับ[แก้]

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เกมแรงกิงส์37 เปอร์เซนต์[4]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
คอมพิวเตอร์แอนด์วิดีโอเกมส์1/5 stars[6]
แฟมิซือ16/40[7]
เกมสปอต4.3/10[8]
ไอจีเอ็น1/10[9]
เนกซ์เจเนอเรชัน1/5 stars[1]
ออฟฟิเชียลเพลย์สเตชันแมกกาซีน (สหรัฐ)2/5 stars[12]

แฟนแทสติกโฟร์ได้รับคำวิจารณ์เชิงลบอย่างท่วมท้น ทั้งเว็บไซต์ไอจีเอ็นและนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันวิจารณ์การควบคุมที่ไม่ดีและงานสไปรต์หยาบ[9][13] รวมถึงเว็บไซต์เกมสปอตและนิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันต่างก็พบว่าเพลงไม่สามารถเข้ากับเกมได้อย่างสมบูรณ์[8][13] นิตยสารเนกซ์เจเนอเรชันกล่าวว่า "เช่นเดียวกับเกมที่ได้รับอนุญาตของอะเคลมที่เลวร้ายที่สุดในช่วงแปดปีที่ผ่านมา ในกรณีนี้แฟนแทสติกโฟร์ของสแตน ลี เกมนี้ได้รับทรัพย์สินทางวัฒนธรรมป็อปที่น่ายกย่อง และลดทอนแอ็กชันเลื่อนด้านข้างให้เสื่อมลง – โดยใช้ 'แอ็กชัน' ในความหมายที่คลาดเคลื่อนของคำ"[13]

บทวิเคราะห์สั้น ๆ ของนิตยสารเกมโปรได้วิจารณ์ว่า "แอนิเมชันตัวละครนั้นแข็งทื่อ เอฟเฟกต์เสียงนั้นดูแย่ และรูปแบบการเล่นซ้ำซากอย่างรวดเร็วเมื่อคลื่นของศัตรูโจมตีในรูปแบบที่คาดเดาได้"[14] ส่วนเว็บไซต์ไอจีเอ็นถึงกับบังอาจว่า "อาจเป็นเกมที่แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา"[9] ขณะที่เว็บไซต์เกมสปอตมีปฏิกิริยาที่หลากหลายมากกว่า โดยโต้แย้งว่าแฟนแทสติกโฟร์มีคุณสมบัติที่น่าสนใจบางอย่าง เช่น ความสามารถในการเล่นหลายคน รวมถึงหากเกมหลักได้รับการปรับปรุงเพื่อไม่ให้น่าเบื่อและง่าย เกมคงจะดีกว่านี้มาก[8]

แม้ว่าพวกเขาจะไม่เคยวิจารณ์เกมดังกล่าว แต่นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์เกมมิงมันทลีได้กล่าวถึงแฟนแทสติกโฟร์ในคู่มือผู้ซื้อวิดีโอเกม ค.ศ. 1998 ว่าเป็นการใช้ใบอนุญาตที่ดีแบบแย่ที่สุด โดยแสดงความคิดเห็นว่า "นอกเหนือจากกราฟิกรูปหลายเหลี่ยมที่ค่อนข้างดีแล้ว แฟนแทสติกโฟร์ไม่มีอะไรมากไปกว่าการทำไฟนอลไฟต์ในรูปแบบใหม่ ที่น่าเบื่อและซ้ำซาก"[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Fantastic 4 [sic]". Next Generation. No. 35. Imagine Media. November 1997. p. 191. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Fantastic Four: Dare We Say, 'It's Clobberin' Time?'". Electronic Gaming Monthly. No. 99. Ziff Davis. October 1997. p. 174.
  3. "Canned!". Sega Saturn Magazine. No. 19. Emap International Limited. May 1997. p. 7. Acclaim's Fantastic Four and Batman and Robin are now off the schedule (although the potentially brilliant Condemned is still coming out) ...
  4. "Fantastic Four for PlayStation". GameRankings. CBS Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 1, 2019.
  5. Gia (September 1997). "Fantastic Four". Consoles + (ภาษาฝรั่งเศส). No. 68. p. 130. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  6. Guise, Tom (October 1997). "The Fantastic Four [sic]". Computer and Video Games. No. 191. EMAP. p. 80. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  7. "ファンタスティック・フォー". Famitsu (ภาษาญี่ปุ่น). Enterbrain. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  8. 8.0 8.1 8.2 Toister, Dave (November 18, 1997). "Fantastic Four Review [date mislabeled as "April 28, 2000"]". GameSpot. Red Ventures. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 13, 2004. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  9. 9.0 9.1 9.2 IGN staff (August 29, 1997). "Fantastic Four [EU Import]". IGN. Ziff Davis. สืบค้นเมื่อ January 9, 2020.
  10. Pseudo supprimé (April 8, 2018). "Test: Oldies: Fantastic Four". Jeuxvideo.com (ภาษาฝรั่งเศส). Webedia. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  11. Chris (October 1997). "Fantastic Four". Joypad (ภาษาฝรั่งเศส). No. 68. p. 112. สืบค้นเมื่อ October 28, 2021.
  12. Perez, Dindo (December 1997). "Fantastic Four". Official U.S. PlayStation Magazine. Vol. 1 no. 3. Ziff Davis. p. 115. สืบค้นเมื่อ November 30, 2021.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Finals". Next Generation. No. 35. Imagine Media. November 1997. p. 191.
  14. N. Somniac (October 1997). "PlayStation ProReview: Fantastic Four". GamePro. No. 109. IDG. p. 144.
  15. "The Good the Bad and the Silly". 1998 Video Game Buyer's Guide. Ziff Davis. March 1998. p. 26.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]