แฟนเซอร์วิซ
แฟนเซอร์วิส (ญี่ปุ่น: ファンサービス; โรมาจิ: fan sābisu, อังกฤษ: fanservice หรือ เซอร์วิสคัต (ญี่ปุ่น: サービスカット; โรมาจิ: sābisu katto อังกฤษ: service cut))[1][2] เป็นส่วนของสื่อทางรูปภาพที่ไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหา แต่เพิ่มเข้ามาเพื่อเอาใจผู้อ่าน[3] ซึ่งมักมีลักษณะทางเพศแบบธรรมชาติ เช่น การเปลือยกาย[4][5] คำนี้มีที่มาจากภาษาญี่ปุ่นในวงการอนิเมะและมังงะ[6][7] โดยมี "การบริการ" แก่แฟน ๆ[8] – ให้แฟน ๆ "ในสิ่งที่พวกเขาต้องการ"[9]
แฟนเซอร์วิสมักแสดงความเย้ายวนทางเพศของเพศหญิง (ของเพศชายก็มีเช่นกันแต่น้อย) เพื่อปลุกใจเสือป่า เราสามารถพบฉากอาบน้ำได้ทั่วไปในการ์ตูนในทศวรรษที่ 1990 ในปัจจุบันภาพยนตร์การ์ตูนหลายเรื่องจะอุทิศตอนตอนหนึ่งเพื่อการเดินทางไปพักผ่อนที่บ่อน้ำพุร้อนหรือชายหาด มีจุดประสงค์เพื่อเติมภาพของตัวละครหญิงนุ่งน้อยห่มน้อย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วการทำเช่นนี้มักไม่เข้ากับเนื้อเรื่องอย่างมาก นอกจากนี้ การใช้มุมกล้องเพื่อโชว์ให้เห็นกางเกงใน หรือภาพการกระเด้งของหน้าอก (ข้อหลังถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกันบัสเตอร์ของไกแนกซ์ และเป็นต้นกำเนิดของคำว่า "กระเด้งไกแนกซ์" (Gainax bounce)) ยังเป็นแฟนเซอร์วิสที่พบเห็นได้บ่อยในภาพยนตร์การ์ตูนญี่ปุ่น เป็นที่น่าสังเกตว่าการ์ตูนบางเรื่องมีแฟนเซอร์วิสเป็นจุดขายและถูกใช้บ่อยเกินไปจนเฝือ ยกตัวอย่างเช่น เอเค็น เท็นโจเท็งเกะ เอเจนต์ไอกะ และ นาจิคา บลิทซ์ แทกทิกส์ เป็นต้น ฉากแปลงร่างนู้ดเป็นแฟนเซอร์วิสอีกรูปแบบหนึ่ง ถูกใช้เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องคิวตี้ฮันนี่ของ โก นางาอิ
คอสเพลย์เป็นแฟนเซอร์วิสอีกรูปแบบหนึ่งที่อาจไม่มีความเย้ายวนทางเพศโดยตรงนัก ผู้แต่งชุดมักเป็นตัวละครหญิง โดยชุดที่ได้รับความนิยมได้แก่ เนะโกะมิมิ ฮาดากะเอพรอน กิโมโน กระต่ายเพลย์บอย ชุดเมด ชุดมิโกะ ชุดพยาบาล เครื่องแบบตำรวจ ชุดสาวเสิร์ฟ (โดยเฉพาะจากภัตตาคารแอนนามิลเลอร์ส) ชุดพละ เครื่องแบบนักเรียน และชุดว่ายน้ำโรงเรียน เป็นต้น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Example: 吉田陽一, บ.ก. (June 25, 1999). ญี่ปุ่น: Encyclopedia Cutie Honey: Go Nagai World; โรมาจิ: エンサイクロペディアキューティーハニー : 永井豪ワールド. Nakano, Tokyo: Keibunsha. p. 028. ISBN 978-4-7669-3236-2. A frame (numbered "25") from the English opening sequence of New Cutie Honey, in which character Danbei Hayami fires a Rocket Punch as main character Honey Kisaragi lies topless and prone in the background, is shown and captioned "サービスカット! 団兵衛がジャマ......"
- ↑ Barrett, Grant (2006). "fan service". The official dictionary of unofficial English: a crunk omnibus for thrillionaires and bampots for the Ecozoic Age. New York City: McGraw-Hill. p. 112. ISBN 978-0-07-145804-7. OCLC 62172930. สืบค้นเมื่อ June 15, 2009.
- ↑ de la Ville, Valérie-Inés; Durup, Laurent (2009). "Achieving a Global Reach on Children's Cultural Markets: Managing the Stakes of Inter-Textuality in Digital Cultures". ใน Willett, Rebekah; Robinson, Muriel; Marsh, Jackie (บ.ก.). Play, creativity and digital cultures. Routledge. pp. 45–47. ISBN 978-0-415-96311-4.
- ↑ "Fan Service". Animetion's Glossary. Animetion. สืบค้นเมื่อ June 15, 2009.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]
- ↑ Harcoff, Pete (May 23, 2003). "Fan Service". Anime Glossary. The Anime Critic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 19, 2009. สืบค้นเมื่อ June 15, 2009.[แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง?]
- ↑ "ファンサービスとは (ファンサービスとは) [単語記事] - ニコニコ大百科". ニコニコ大百科 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
- ↑ "Fan Service and Fanservice - Meaning in Japanese". Japanese with Anime (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2016-10-17.
- ↑ Carrie Tucker (17 January 2009). I Love Geeks: The Official Handbook. Adams Media. pp. 75–76. ISBN 978-1-60550-023-2. สืบค้นเมื่อ 9 April 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Wolk, Douglas (2007). Reading comics : and what they mean. Cambridge, Massachusetts: Da Capo. p. 6. ISBN 978-0-306-81509-6. สืบค้นเมื่อ 22 April 2011.
fan service.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Clements, Jonathan; McCarthy, Helen (2006). The Anime Encyclopedia: A Guide to Japanese Animation Since 1917 (Revised and Expanded ed.). Stone Bridge Press. p. 30. ISBN 1-933330-10-4.
- Thompson, Jason (2007). Manga: The Complete Guide. New York: Ballantine Books & Del Rey Books. p. 497. ISBN 978-0-345-48590-8.