ข้ามไปเนื้อหา

แพนแอม เที่ยวบินที่ 73

พิกัด: 24°54′24″N 67°09′39″E / 24.90667°N 67.16083°E / 24.90667; 67.16083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แพนแอม เที่ยวบิน 73
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
สรุปเหตุการณ์
วันที่5 กันยายน ค.ศ.1986
สรุปการจี้เครื่องบิน
จุดเกิดเหตุท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์, การาจี, ปากีสถาน
24°54′24″N 67°09′39″E / 24.90667°N 67.16083°E / 24.90667; 67.16083
อากาศยานลำที่เกิดเหตุ
ประเภทอากาศยานโบอิง 747-121
ชื่ออากาศยานClipper Empress of the Seas
ดําเนินการโดยแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวย์
ทะเบียนN656PA
ต้นทางท่าอากาศยานนานาชาติฉัตรปตี ศิวาจี มหาราช,มุมไบ,อินเดีย
จุดพักท่าอากาศยานนานาชาติจินนาห์
การาจี, ปากีสถาน
จุดพักสุดท้ายท่าอากาศยานแฟรงก์เฟิร์ต,แฟรงค์เฟิร์ต,เยอรมันนี
ปลายทางท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี,นิวยอร์ก,สหรัฐอเมริกา
ผู้โดยสาร360
ลูกเรือ19
เสียชีวิต21[1]
บาดเจ็บ120
รอดชีวิต358

แพนแอม เที่ยวบินที่ 73 เป็นเที่ยวบินโดยสารของสายการบินแพนอเมริกันเวิลด์แอร์เวส์ ที่ออกเดินทางจากเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มุ่งหน้าสู่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีกำหนดแวะจอดที่เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน และแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนีตะวันตก

เมื่อวันที่ 5 กันยายน ค.ศ. 1986 ขณะที่เครื่องบินโบอิง 747-121 กำลังจอดอยู่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติการาจี ประเทศปากีสถาน กลุ่มผู้ก่อการร้ายชาวปาเลสไตน์ 4 คน จากองค์กรอาบู นิดาล ได้บุกขึ้นเครื่องบินและจับตัวผู้โดยสารและลูกเรือเป็นตัวประกัน เครื่องบินลำนี้บรรทุกผู้โดยสาร 360 คน เดินทางจากเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย[2] คณะลูกขุนใหญ่สรุปในเวลาต่อมาว่ากลุ่มติดอาวุธกำลังวางแผนที่จะใช้เครื่องบินโดยสารที่ถูกจี้ไปรับนักโทษชาวปาเลสไตน์ทั้งในไซปรัสและอิสราเอล[3]

ผู้โดยสารกว่ายี่สิบคนเสียชีวิตระหว่างถูกจี้ รวมถึงผู้โดยสารจากอินเดีย สหรัฐอเมริกา ปากีสถาน และเม็กซิโก ผู้ก่อเหตุถูกจับกุมและถูกตัดสินประหารชีวิตในประเทศปากีสถาน อย่างไรก็ตาม โทษประหารชีวิตของผู้ก่อเหตุถูกเปลี่ยนเป็นจำคุกตลอดชีวิต นีรชา ภโนต หัวหน้าพนักงานต้อนรับบนเที่ยวบินนี้ ได้แสดงความกล้าหาญอย่างยิ่งในการปกป้องผู้โดยสารและลูกเรือ ทั้งนี้นีรชาเสียชีวิตจากการถูกยิง ทำให้ได้รับการยกย่องเชิดชูจากทั้งประเทศปากีสถานและอินเดีย ด้วยการมอบเหรียญกล้าหาญสูงสุดให้แก่เธอ[4]

สัญชาติ

[แก้]
สัญชาติ ผู้โดยสาร ลูกเรือ ทั้งหมด เสียชีวิต
ออสเตรเลีย 4 0 4 2
เบลเยี่ยม 2 0 2 0
แคนาดา 30 0 30 0
เดนมาร์ก 8 0 8 2
ฝรั่งเศส 4 1 5 0
เยอรมันนี 81 3 84 0
อินเดีย 91 13 104 12
ไอร์แลนด์ 5 0 5 4
อิตาลี 27 0 27 13
เม็กซิโก 8 0 8 2
ปากีสถาน 44 0 44 3
สวีเดน 2 0 2 0
สหราชอาณาจักร 15 4 19 11
สหรัฐอเมริกา 44 2 46 2
รวม 365 23 388 51

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Jordanian Hijacker Sentenced in D.C. for 1986 Hijacking of Pan Am Flight 73 as Victims from Around the World Recount Horrors" (Press release). Washington, DC: Federal Bureau of Investigation. 2004-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-11-09.
  2. "Pan Am Flight-73 alleged hijacker 'killed' in drone attack in Pakistan". Asian Tribune.
  3. "United States of America v. Wadoud Muhammad et al Indictment" (PDF). justice.gov. United States Department of Justice. 2001-06-11. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
  4. "24 yrs after Pan Am hijack, Neerja Bhanot killer falls to drone". The Times of India. 2010-01-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-11.