แผ่นดินของใคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แผ่นดินของใคร
กำกับปริญญา ลีละศร
เขียนบทศรี ชัยพฤกษ์ (บทประพันธ์ดั้งเดิม)
ปริญญา ลีละศร (บทภาพยนตร์)
นักแสดงนำทักษิณ แจ่มผล
แมน ธีระพล
เชาว์ แคล่วคล่อง
วิชิต ไวงาน
สมพงษ์ กงสุวรรณ
สมชาย ปัญทรางกูร
สุทิน บัณฑิตกุล
วิไลวรรณ วัฒนพานิช
ปรียา รุ่งเรือง
กำกับภาพฉลอง กลิ่นพิกุล
ตัดต่อปริญญา ลีละศร
ผู้จัดจำหน่ายสุวรรณสิงห์ฟิล์ม โปรดักชัน
ความยาว24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502
ประเทศประเทศไทย
ภาษาภาษาไทย
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย

แผ่นดินของใคร หรือชื่อเดิมว่า แผ่นดินฉกรรจ์ เป็นภาพยนตร์ไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเขาพระวิหารโดยตรง ถ่ายทำและถ่ายทอดบรรยากาศบนเขาพระวิหารแทบตลอดทั้งเรื่อง เปิดตัวโฆษณาในนิตยสาร ดาราไทย ตั้งแต่ปี 2502 โดยกำหนดฉายครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ แต่หลังจากที่กัมพูชายื่นฟ้องต่อศาลโลก แผ่นดินฉกรรจ์ จึงถูกทางเจ้าหน้าที่เซ็นเซอร์พิจารณาอีกครั้ง ซึ่งบางส่วนที่มีการพาดพิงกรณีก็ถูกตัดออกไป

แผ่นดินของใคร สร้างในนามสุวรรณสิงห์ฟิล์ม โปรดักชัน ถ่ายทำในระบบฟิล์ม 16 มม. อำนวยการสร้างโดยสุเมธ คุณะปุระ สร้างจากบทประพันธ์ดั้งเดิมในชื่อ แผ่นดินฉกรรจ์ ของอรชร หรือ ศรี ชัยพฤกษ์ , งานดัดแปลงเป็นบทภาพยนตร์ กำกับและลำดับภาพโดย ปริญญา ลีละศร ,ถ่ายภาพโดย ฉลอง กลิ่นพิกุล และออกแบบแต่งกายโดย เกียรติ ภูษา นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล, แมน ธีระพล, เชาว์ แคล่วคล่อง ,วิชิต ไวงาน ,สมพงษ์ กงสุวรรณ ,สมชาย ปัญทรางกูร และสุทิน บัณฑิตกุล และแสดงประกอบโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิชและปรียา รุ่งเรือง

แผ่นดินของใคร เปิดฉายเมื่อ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 พากย์โดยสมพงษ์ พิมพ์พร-สายพิณ และสีเทา เปิดฉายถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502 ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร โดยทักษิณ แจ่มผล ได้รับรางวัลแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากงานการประกวดตุ๊กตาทองปี 2502

หลังจากนั้น 3 ปี หลังจากคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ตัดสินใจนำ แผ่นดินของใคร มาเปิดฉายซ้ำระหว่างวันที่ 14 กรกฎาคม 2505 แต่กระแสตอบรับคนดูน้อยเกินคาด เนื่องจากยังเศร้ากับการสูญเสียปราสาทพระวิหารไป

ปัจจุบันฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังคงมีหลงเหลือและอยู่ในการบูรณะสภาพโดยเจ้าหน้าที่ของหอภาพยนตร์แห่งชาติ

โครงเรื่อง[แก้]

แมนและวิไลวรรณ สองสายลับของทางการปลอมตัวเพื่อสกัดกั้นการรุกรานอธิปไตยจากต่างชาติ (ขุน สองฟ้า หนุ่มนักขายยาเร่ ) บริเวณชายแดน แต่แท้จริงแล้วตำรวจที่มาร่วมขบวนการนี้ เพื่อผนึกกำลังแรงสามัคคีต่อต้านผู้ที่คิดร้ายทำลายชาติให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย

อ้างอิง[แก้]

  • วีระยศ สำราญสุขทิวาเวทย์. "ปราสาทพระวิหารแผ่นดินของใคร", นิตยสารศิลปะและวัฒนธรรม ฉบับที่ 11 กันยายน 2551 หน้า 26