แซบอเนแซนอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แซบอเนแซนอน
ฉบับหนึ่งจากปี 1945
ฉบับหนึ่งจากปี 1945
บรรณาธิการ เซดีเฆ โดว์แลทอบอดี
ประเภท นิตยสารสตรี
นิตยสารราย รายปักษ์, รายสัปดาห์, รายเดือน
วันจำหน่ายฉบับแรก 18 กรกฎาคม 1919
วันจำหน่ายฉบับสุดท้าย
— (ฉบับที่)
1 มกราคม 1921
 ?
ประเทศ ประเทศอิหร่าน
เมือง เอสแฟฮอน

แซบอเนแซนอน (เปอร์เซีย: زبان زنان; แปลว่า เสียงสตรี) เป็นนิตยสารรายปักษ์ รายสัปดาห์ และรายเดือนเกี่ยวกับแนวคิดสตรีสุดโต่ง ตีพิมพ์ในประเทศอิหร่านระหว่าง ค.ศ. 1919 ถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1921 ก่อตั้งโดยเซดีเฆ โดว์แลทอบอดี ผู้ซึ่งเป็นบรรณาธิการของนิตยสารเช่นกัน

ประวัติ[แก้]

ในปี 1919 เซดีเฆ โดว์แลทอบอดี ครูและนักเคลื่อนไหว ได้ก่อตั้งนิตยสาร แซบอเนแซนอน ขึ้น[1] ตีพิมพ์ในเมืองเอสแฟฮอน โดยเป็นนิตยสารสตรีลำดับที่ 3 ที่ตีพิมพ์ในประเทศอิหร่าน และเป็นหัวแรกที่ตีพิมพ์นอกเมืองหลวงเตหะราน[2][3] โดยมีนิตยสารที่ตีพิมพ์มาก่อนหน้า ได้แก่ ดอเนช ("ความรู้") ตั้งแต่ปี 1910 และ โชคูเฟ ("ดอกไม้บาน") ตั้งแต่ปี 1913[4] แซบอเนแซนอน ฉบับแรกตีพิมพ์ในวันที่ 18 กรกฎาคม 1919 เริ่มแรกเป็นนิตยสารรายปักษ์[5] แต่ละฉบับมีความยาว 4 หน้า[6] ต่อมาได้ปรับเป็นรายสัปดาห์เนื่องจากมีความต้องการสูงขึ้น[5] นิตยสารตีพิมพ์เฉพาะบทความที่สตรีเขียนส่งไปเท่านั้น[7] นิตยสารถูกบังคับให้ปิดตัวเมื่อปี 1921 เนื่องมาจากจุดยืนต่อต้านอังกฤษของนิตยสาร[5]

การตอบรับ[แก้]

นับแต่เริ่ม บทความของนิตยสารมีเป้าหมายที่จะท้าทาย "การถอยหลังลงคลองและความเบาปัญญา" ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิสตรีในเอสแฟฮอน[8] และมีจุดยืนสนับสนุนการถอดผ้าคลุม (ฮิญาบ) ของสตรีในอิหร่านอย่างเปิดเผย[5] จุดยืนนี้ทำให้นิตยสารถูกสื่อข่าวอื่น ๆ โจมตี และอาคารของนิตยสารก็ถูกโจมตีด้วยอาวุธปืนและก้อนหินเช่นกัน[9] จนท้ายที่สุด นิตยสารดำเนินการตีพิมพ์ต่อไปได้ภายใต้การคุ้มครองจากตำรวจ[5] หลังจากตีพิมพ์ได้ 2 ปี นิตยสารถูกสั่งห้ามตีพิมพ์นาน 13 เดือนจากบทบรรณาธิการของโดว์แลทอบอดีที่มีเนื้อหาต่อต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษอย่างเปิดเผย[10][11]

ในปี 1921 เธอย้ายไปยังเตหะรานและตั้งนิตยสารขึ้นใหม่ที่นั่น[5] ภายใต้ชื่อเดิม แต่ปรับมาตีพิมพ์รายเดือนและมีขนาด 48 หน้าต่อฉบับแทน[5] นิตยสารหัวใหม่ในชื่อเดิมนี้มีอิทธิพลอย่างมาก และยังช่วยให้เห็นภาพชีวิตของสตรีในอิหร่านตลอดเวลาหลายทศวรรษ[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. الیز ساناساریان (2005). جنبش حقوق زنان در ایران (طغیان، افول و سرکوب از ۱۲۸۰ تا انقلاب ۱۳۵۷) [Women's rights movement in Iran (insurgency, decline and repression from 1902 to the revolution of 1979)] (ภาษาเปอร์เซีย). แปลโดย نوشین احمدی خراسانی. Tehran: نشر اختران. pp. 58–59. ISBN 964-7514-78-6.
  2. شبکه بین المللی همبستگی با مبارزات زنان ايران [International network of solidarity with Iranian women's struggles]. www.iran-women-solidarity.net (ภาษาเปอร์เซีย). 25 พฤศจิกายน 2007. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2020.
  3. Ali Asghar Kia (1996). A review of journalism in Iran: the functions of the press and traditional communication channels in the Constitutional Revolution of Iran (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Wollongong. p. 192.
  4. Sanasarian, Eliz (1982). The Women's Rights Movements in Iran. New York: Praeger. pp. 124–129. ISBN 0-03-059632-7.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 Nassereddin Parvin (2009). "Zabān-e Zanān". Encyclopædia Iranica (online ed.).
  6. Somayyeh Mottaghi. (2015). 'The Historical Relationship between Women’s Education and Women’s Activism in Iran' Asian Women, 31(1).
  7. "Sediqeh Dowlatabadi 1882-1961". sister-hood magazine. 26 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2020.
  8. Diana Childress (2011). Equal Rights Is Our Minimum Demand: The Women's Rights Movement in Iran 25. Twenty-First Century Books. p. 33. ISBN 978-0-7613-5770-4.
  9. "Iranian Personalities: Sediqeh Dowlatabadi". Iran Chamber. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2020.
  10. "Iran's Feminist Parties". exterminatingangel.com. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2020.
  11. Camron Michael Amin (2001). "Selling and Saving "Mother Iran": Gender and the Iranian Press in the 1940s". International Journal of Middle East Studies. 33 (3): 335–361. doi:10.1017/S0020743801003014. ISSN 0020-7438. JSTOR 259455. PMID 18159657.
  12. شفیعی, سمیه سادات; حسینی فر, سیده زهرا (2018). نقش های اجتماعی مرجح زنان در آغاز پهلوی دوم؛ کاووشی جامعه شناختی در ماهنامه زبان زنان [Preferred social roles of women at the beginning of Pahlavi II; Sociological research in the monthly women's language]. فصلنامه علوم اجتماعی (ภาษาเปอร์เซีย). 25 (82). doi:10.22054/qjss.2018.23523.1593.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]