แคร์รี หลั่ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก แคร์รี หล่ำ)
ฯพณฯ
หลิน เจิ้ง เยฺว่เอ๋อ (มาตรฐาน)
หลั่ม แจ่ง ยฺหวุดหง่อ (กวางตุ้ง)
林鄭月娥
ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565
ก่อนหน้าเหลียง เจิ้นอิง (Leung Chun-ying)
ถัดไปจอห์น ลี
รัฐมนตรีใหญ่ฝ่ายปกครอง
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 – 16 มกราคม พ.ศ. 2560
ผู้บริหารสูงสุดเหลียง เจิ้นอิง (Leung Chun-ying)
ก่อนหน้าหลิน รุ่ยหลิน (Stephen Lam)
ถัดไปจาง เจี้ยนจง (Matthew Cheung)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555
ก่อนหน้าเลี่ยว ซิ่วตง (Sarah Liao) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม การขนส่ง และการโยธา)
ซุน หมิงหยาง (Michael Suen) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเคหะ การผังเมือง และที่ดิน)
ถัดไปม่าย ฉี-กวัง (Mak Chai-kwong)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เจิ้ง เยฺว่เอ๋อ

(1957-05-13) 13 พฤษภาคม ค.ศ. 1957 (66 ปี)[1]
วานไจ่, ฮ่องกง[2]
เชื้อชาติจีน (ตั้งแต่ พ.ศ. 2540)
บริเตน (ก่อน พ.ศ. 2550)
คู่สมรสหลิน จ้าวปัว (Lam Siu-por) (แต่ง พ.ศ. 2527)
บุตร2 คน
การศึกษาวิทยาลัยแคนนอสเซียนของเซนต์แฟรนซิส
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฮ่องกง
วิทยาลัยวูล์ฟสัน (อนุปริญญา)
ลายมือชื่อ

หลิน เจิ้ง เยฺว่เอ๋อ (จีน: 林鄭月娥; พินอิน: Lín Zhèng Yuè'é; เกิด 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2500) หรือภาษากวางตุ้งว่า หลั่ม แจ่ง ยฺหวุดหง่อ (ยฺหวิดเพ็ง: Lam4 Zeng6 Jyut6ngo4) หรือ แคร์รี หลั่ม (Carrie Lam) เป็นนักการเมืองชาวฮ่องกง เคยดำรงตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive) คนที่ 4 ของฮ่องกงระหว่าง พ.ศ. 2560[3] ถึง 2565 ก่อนหน้านี้ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีใหญ่ฝ่ายปกครอง (政務司司長 "หัวหน้าสำนักสำนักรัฐกิจ"; Chief Secretary for Administration) ตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ถึง 2560 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา (發展局局長 "หัวหน้ากระทรวงกระทรวงการพัฒนา"; Secretary for Development) ตั้งแต่ พ.ศ. 2550 ถึง 2555

เธอสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง แล้วเข้ารับราชการเมื่อ พ.ศ. 2523 สมัยที่ฮ่องกงยังอยู่ในความปกครองของบริเตน ต่อมาเมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา จึงกลายเป็นข้าราชการคนสำคัญขึ้น ช่วงที่ดำรงตำแหน่งดังกล่าวอยู่นั้น เธอได้ฉายาว่า "นักสู้ยิบตา" (tough fighter) เพราะสนับสนุนการรื้อท่าเรือราชินี (Queen's Pier) อย่างแข็งขัน

เธอได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีใหญ่ฝ่ายปกครองในครั้งที่เหลียง เจิ้นอิง (Leung Chun-ying) เป็นผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ช่วงนั้น เธอเป็นหัวหน้าคณะทำงานเฉพาะกิจว่าด้วยการพัฒนารัฐธรรมนูญ (Task Force on Constitutional Development) ในการปฏิรูปการเมืองช่วง พ.ศ. 2556–2558 และจัดการพูดคุยกับผู้นำนักศึกษาในการประท้วงเมื่อ พ.ศ. 2557 ต่อมาในการเลือกตั้งผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง พ.ศ. 2560 เธอได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนแผ่นดินใหญ่ และได้รับคะแนนเสียง 777 คะแนนจากกรรมการการเลือกตั้งซึ่งมีทั้งหมด 1,194 คน จึงได้เป็นผู้บริหารสูงสุดคนใหม่ เธอแถลงชัยชนะโดยสัญญาว่า จะ "เยียวยาความแตกแยกในสังคม" (heal the social divide) และ "หลอมรวมสังคมเราให้ก้าวหน้า" (unite our society to move forward)

อย่างไรก็ดี การปกครองของเธอเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์หลายขนาน เช่น ในประเด็นที่จับนักกิจกรรมมาขึ้นศาลและจำคุก รวมถึงตัดสิทธิ์ทางการเมืองของผู้สมัครรับเลือกตั้งจากฝั่งประชาธิปไตยและฝั่งที่สนับสนุนให้ฮ่องกงประกาศเอกราชจากจีน[4][5] นอกจากนี้ ใน พ.ศ. 2562 รัฐบาลของเธอเสนอ "ร่างรัฐบัญญัติกฎหมายผู้หนีคดีและความช่วยเหลือร่วมกันทางกฎหมายในคดีอาญา (แก้ไขเพิ่มเติม) ค.ศ. 2019" (Fugitive Offenders and Mutual Legal Assistance in Criminal Matters Legislation (Amendment) Bill 2019) ซึ่งนำไปสู่การประท้วงอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกฮ่องกง ผู้ประท้วงหลายคนยังเรียกร้องให้เธอลาออก เพราะมองว่า เธอเป็นหุ่นเชิดของจีนแผ่นดินใหญ่[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Ho, Andrew (15 มกราคม 2013). "The SAR's Superlady" (PDF). The Student Standard. Hong Kong. pp. 6–7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014.
  2. "HK Tramways grows with time". news.gov.hk. Hong Kong Special Administrative Region Government. 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 3 October 2014. Lam stated in a speech "To those who were born and brought up in Hong Kong like me"
  3. "Hong Kong chooses first woman head". The Hindu. March 26, 2017.
  4. "'The work of uniting society begins now': Carrie Lam pledges to heal Hong Kong's divide". South China Morning Post. 26 March 2017.
  5. Lum, Alvin (24 October 2018). "Hong Kong National Party founders lodge separate appeals against ban in effort to avoid legal action". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 24 October 2018.
  6. Shih, Gerry; McLaughlin, Timothy (9 June 2019). "Hundreds of thousands in Hong Kong protest law to allow extraditions to China". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 9 June 2019.