ข้ามไปเนื้อหา

พายุเฮอริเคนแคทรีนา (พ.ศ. 2548)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เฮอร์ริเคนแคทรินา)
พายุเฮอริเคนแคทรีนา
พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
พายุเฮอริเคนแคทรีนาเมื่อมีความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548
พายุเฮอริเคนแคทรีนาเมื่อมีความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548
พายุเฮอริเคนแคทรีนาเมื่อมีความรุนแรงสูงสุดในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ก่อตัว 23 สิงหาคม พ.ศ. 2548
สลายตัว 30 สิงหาคม พ.ศ. 2548
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
175 ไมล์/ชม. (280 กม./ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 902 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 26.64 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต เสียชีวิต 1,836 ราย (เป็นทางการ)
สูญหาย 705 ราย[1][2]
ความเสียหาย 81.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2005)
90.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2006)
(พายุหมุนเขตร้อนที่สร้างความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
บาฮามาส ฟลอริดา คิวบา ลุยเซียนา (โดยเฉพาะ นิวออร์ลีนส์) มิสซิสซิปปี แอละแบมา ส่วนใหญ่ของอเมริกาเหนือทางตะวันออก
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2548

พายุเฮอริเคนแคทรีนา (อังกฤษ: Hurricane Katrina) คือพายุเฮอริเคนที่รุนแรง และสร้างความเสียหายที่สุด ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ถูกจัดความรุนแรงตาม มาตราเฮอริเคนในประเภทที่ 5 (ตามมาตราของ Saffir-Simpson Hurricane Scale) ซึ่งถือว่ารุนแรงที่สุด และมีพายุเฮอริเคนที่อยู่ในประเภทนี้มาก่อนเพียง 3 ลูกเท่านั้น ได้แก่ เฮอริเคนเลเบอร์เดย์ (Hurricane Labor Day, 1935) ในปี พ.ศ. 2478, เฮอริเคนคามิลล์ (Hurricane Camille, 1969) ในปี พ.ศ. 2512 และ เฮอริเคนแอนดรูว์ (Hurricane Andrew) ในปี พ.ศ. 2535 ก่อนที่จะถูกลดระดับความรุนแรงให้อยู่ในประเภทที่ 4 เฮอริเคนดังกล่าวสร้างความเสียหายมหาศาลให้แก่ชายฝั่งด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา ทางตอนใต้ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมืองนิวออร์ลีนส์ ในรัฐลุยเซียนา ซึ่งตามแถลงการณ์ของทางการสหรัฐฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุดังกล่าวกินเนื้อที่ความเสียหายประมาณ 90,000 ตารางไมล์ (233,000 ตารางกิโลเมตร) ซึ่งกว้างเกือบเท่าเกาะบริเตนใหญ่ทั้งเกาะ

พายุดังกล่าวทำให้คนประมาณห้าล้านคนไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งกว่าจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้คาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และแผนบรรเทาภัยพิบัติหลายแผนได้ถูกนำมาใช้ในพื้นที่ที่ประสบภัย

ข้อติติงการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลสหรัฐ

[แก้]

รัฐบาลสหรัฐได้รับการติเตียนเป็นอย่างมากถึงการบริหารงานที่ผิดพลาดและขาดความเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหา ทำให้เกิดความล่าช้าและเกิดการเสียชีวิตมากเกินกว่าที่ควรจะเป็น หน่วยงานที่รับผิดชอบในขณะนั้นคือ สำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (ฟีมา)

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Reports of Missing and Deceased." Louisiana Department of Health and Hospitals. April 18, 2006. Retrieved on 2006-06-05.
  2. "Deaths of evacuees push toll to 1,577." New Orleans Times-Picayune. May 19, 2006. Retrieved on 2006-06-05.