ข้ามไปเนื้อหา

เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์
เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์เพศผู้สีน้ำตาลแกมเหลือง
ชื่ออื่น เฮลเลฟอร์ชุนด์
สุนัขเฮลเลฟอร์ส
เฮลเลฟอร์ซินคอยรา
ประเทศกำเนิด ประเทศสวีเดน
คุณสมบัติ
ส่วนสูง เพศผู้ 55–63 เซนติเมตร (22–25 นิ้ว)
เพศเมีย 52–60 เซนติเมตร (20–24 นิ้ว)
ขน ขนปานกลาง, หนา, แข็งกระด้าง และหนาแน่น
สี สีเหลือง; มีหรือไม่มีปิดบัง
การจำแนกและมาตรฐาน
สโมสรบ้านหมาสำคัญยังไม่รับรอง
หมายเหตุ ได้รับการยอมรับจากสเวนสกาเคนเนลคลุบเบน, ซัวเมนเกนเนลลิตโต และนอสก์เคนเนลคลุบ
หมา (Canis lupus familiaris)

เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์ (อังกฤษ: Hällefors Elkhound) หรือ เฮลเลฟอร์ชุนด์ (สวีเดน: Hälleforshund) เป็นสุนัขสายพันธุ์สวีเดน

รูปร่าง

[แก้]

เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์เป็นสุนัขสปิตซ์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกลาง มีหางเคียวหรือหางขดงอ ขนที่หนา, แข็งกระด้าง และหนาแน่น มักเป็นสีเหลืองเสมอ แต่ก็มีสีน้ำตาลแกมเหลืองจนถึงสีค่อนข้างแดง โดยเฉดสีจะสว่างกว่าบริเวณหน้าอก, ท้อง, ขา และใต้หาง ส่วนความสูงเฉลี่ยสำหรับเพศผู้คือ 55 ถึง 63 ซม. และสำหรับเพศเมียคือ 52 ถึง 60 ซม.[1]

พฤติกรรม

[แก้]

เฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์เป็นสุนัขที่กระฉับกระเฉง, องอาจ และดื้อรั้น ด้วยบุคลิกที่มั่นคง[2]

ประวัติ

[แก้]

สายพันธุ์นี้ได้รับการพัฒนาในสเวียลันด์ แต่มีการถกเถียงถึงแหล่งกำเนิดที่มีรายละเอียดมากขึ้น กล่าวกันว่าแม้จะมีชื่อ แต่ก็ไม่ได้บังเกิดขึ้นในเฮลเลฟอร์ส แต่เป็นในหมู่บ้านเฟรียดิกสแบร์ก ที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลลุดวิกาที่อยู่ใกล้เคียง[2] มันถูกใช้เป็นสุนัขล่ากวางเป็นหลัก[1] และบรรพบุรุษที่น่าสังเกตที่สุดคือสุนัขพันธุ์ฟินนิชสปิตซ์ และสุนัขออสต์ยักไลกา[3] ทั้งนี้ สเวนสกาเคนเนลคลุบเบน ซึ่งเป็นสมาคมผู้เพาะพันธุ์สุนัขสวีเดน ได้ยอมรับสายพันธุ์นี้ใน ค.ศ. 2000[2] และปัจจุบันยังได้รับการยอมรับในกลุ่มประเทศนอร์ดิกอื่น ๆ อีกหลายประเทศ เช่น ประเทศฟินแลนด์ และประเทศนอร์เวย์[1][4]

เชื้อสาย

[แก้]

สายพันธุ์นี้อยู่ภายใต้เคลดย่อยดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียที่เรียกว่าดีวัน (d1) ซึ่งพบได้ทางตอนเหนือของสแกนดิเนเวียเท่านั้น อันเป็นผลมาจากการพันธุ์ผสมสุนัขป่าเพศเมียกับสุนัขเพศผู้ที่เกิดขึ้นหลังการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง[5][6] โดยเคลดย่อยดีวันมีต้นกำเนิดเมื่อ 480–3,000 ปีที่แล้ว และพบได้ในสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับซามีทั้งหมด ทั้งฟินนิชแลปพุนด์, แลปโพเนียนเฮอร์เดอร์, สวีดิชเอลก์ฮาวนด์, นอร์วีเจียนเอลก์ฮาวนด์, แบล็กนอร์วีเจียนเอลก์ฮาวนด์ และเฮลเลฟอร์สเอลก์ฮาวนด์ อนึ่ง ลำดับแม่สุนัขป่าที่มีส่วนทำให้เกิดสายพันธุ์เหล่านี้ยังไม่ตรงกันทั่วทั้งทวีปยูเรเชีย[7] และกิ่งก้านของมันบนแผนผังแบบต้นไม้ของวิวัฒนาการชาติพันธุ์นั้นมีรากอยู่ในลำดับเดียวกันกับสุนัขอัลไต 33,000 ปี (ไม่ใช่บรรพบุรุษโดยตรง)[8]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 SKL. (May 30th 2006).Hälleforsinkoira เก็บถาวร 2014-08-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Suomen Kennelliitto (SKL). Retrieved June 21st 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 SKK. Hälleforshund. Svenska Kennelklubben (SKK). Retrieved June 21st 2014.
  3. Krämer, E.-M. (2009). Der grosse Kosmos Hundeführer: 187. Stuttgart: Kosmos.
  4. NKK. (March 2012). Hälleforshunden[ลิงก์เสีย]. Norsk Kennel Klub (NKK). Retrieved June 21st 2014.
  5. Pang, J.-F.; Kluetsch, C.; Zou, X.-J.; Zhang, A.-b.; Luo, L.-Y.; Angleby, H.; Ardalan, A.; Ekstrom, C.; Skollermo, A.; Lundeberg, J.; Matsumura, S.; Leitner, T.; Zhang, Y.-P.; Savolainen, P. (2009). "MtDNA Data Indicate a Single Origin for Dogs South of Yangtze River, Less Than 16,300 Years Ago, from Numerous Wolves". Molecular Biology and Evolution. 26 (12): 2849–64. doi:10.1093/molbev/msp195. PMC 2775109. PMID 19723671.
  6. Duleba, Anna; Skonieczna, Katarzyna; Bogdanowicz, Wiesław; Malyarchuk, Boris; Grzybowski, Tomasz (2015). "Complete mitochondrial genome database and standardized classification system for Canis lupus familiaris". Forensic Science International: Genetics. 19: 123–129. doi:10.1016/j.fsigen.2015.06.014. PMID 26218982.
  7. Klütsch, C. F. C.; Seppälä, E. H.; Fall, T.; Uhlén, M.; Hedhammar, Å.; Lohi, H.; Savolainen, P. (2011). "Regional occurrence, high frequency but low diversity of mitochondrial DNA haplogroup d1 suggests a recent dog-wolf hybridization in Scandinavia: Dog-wolf hybridization in Scandinavia". Animal Genetics. 42 (1): 100–103. doi:10.1111/j.1365-2052.2010.02069.x. PMC 3040290. PMID 20497152.
  8. Thalmann, O.; Shapiro, B.; Cui, P.; Schuenemann, V. J.; Sawyer, S. K.; Greenfield, D. L.; Germonpre, M. B.; Sablin, M. V.; Lopez-Giraldez, F.; Domingo-Roura, X.; Napierala, H.; Uerpmann, H.-P.; Loponte, D. M.; Acosta, A. A.; Giemsch, L.; Schmitz, R. W.; Worthington, B.; Buikstra, J. E.; Druzhkova, A.; Graphodatsky, A. S.; Ovodov, N. D.; Wahlberg, N.; Freedman, A. H.; Schweizer, R. M.; Koepfli, K.- P.; Leonard, J. A.; Meyer, M.; Krause, J.; Paabo, S.; และคณะ (2013). "Complete Mitochondrial Genomes of Ancient Canids Suggest a European Origin of Domestic Dogs". Science. 342 (6160): 871–4. Bibcode:2013Sci...342..871T. doi:10.1126/science.1243650. PMID 24233726. S2CID 1526260.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]