เฮนรี อาร์เทอร์ เบลก
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
เฮนรี อาร์เทอร์ เบลก | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มกราคม ค.ศ. 1840 |
เสียชีวิต | 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1918 | (78 ปี)
บุพการี |
|
เซอร์ เฮนรี อาเทอร์ เบลก[1](อังกฤษ: Henry Arthur Blake ; 8 มกราคม 1840 - 23 กุมภาพันธ์ 1918) ข้าหลวง ชาวบริติช ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง คนที่ 12 ในอาณานิคมของบรีเตน (อังกฤษ) ระหว่าง ค.ศ. 1898 ถึง 1903 หรือตรงกับ พ.ศ. 2441 ถึง 2446 เป็นเวลาทั้งสิ้น 5 ปี
ประวัติ
[แก้]เซอร์ เฮนรี อาร์เทอร์ เบลก เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1840 หรือตรงกับ พ.ศ. 2383 ที่ ลิเมอริก ไอร์แลนด์ เป็นบุตรชายของ ปีเตอร์ เบลก สารวัตรแห่งกรมตำรวจหลวงไอร์แลนด์ และ เจน เลน
เขาเริ่มทำงานในตำแหน่งเสมียนของ ธนาคารแห่งชาติไอร์แลนด์ แต่ทำงานได้เพียง 18 เดือนก็ตัดสินใจลาออกและเริ่มต้นการเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจของกรมตำรวจหลวงไอร์แลนด์ ใน ค.ศ. 1857 หรือตรงกับ พ.ศ. 2400. และได้เป็นผู้ตรวจการพิเศษในอีก 2 ปีต่อมา. ใน ค.ศ. 1876 ตรงกับ พ.ศ. 2419 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้พิพากษาประจำเมือง Tuam ทางตะวันตกของไอร์แลนด์เขาได้รับการจดบันทึกว่าเป็นผู้ที่ ฉลาด สุขุม รอบคอบ และกระตือรือร้น. ใน ค.ศ. 1882 หรือตรงกับ พ.ศ. 2425 เขาได้เลื่อนขึ้นเป็นผู้พิพากษาพิเศษ
เบลกได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 โดยดำรงตำแหน่งจนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2446 ห้าเดือนก่อนที่เขาจะมาถึงฮ่องกง รัฐบาลอังกฤษได้ทำการเจรจาข้อตกลงกับรัฐบาลชิง ซึ่งเช่าดินแดนใหม่ให้กับฮ่องกงของอังกฤษเป็นระยะเวลา 99 ปี ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง เบลกส่งผู้บริหารอาณานิคมไปยังดินแดนใหม่เพื่อควบคุมกลุ่มปุนติในท้องถิ่น กลุ่มต่างๆ ต่อต้านการยึดครองดินแดนใหม่ของอังกฤษ ส่งผลให้เกิดสงครามหกวันปะทุขึ้น กองกำลังอินเดียส่วนใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายทหารบกอังกฤษ วิลเลียม แกสคอยน์ สามารถเอาชนะกลุ่มปุนติได้ โดยเบลกใช้นโยบายความร่วมมือที่เป็นมิตรเพื่อป้องกันปัญหาเพิ่มเติม และอนุญาตให้พวกเขารักษากฎหมายและประเพณีดั้งเดิมในเรื่องมรดกที่ดิน การใช้ที่ดิน และการแต่งงาน
เบลกเดินทางออกจากฮ่องกงทันทีหลังจากที่เขาเข้าร่วมการวางศิลาฤกษ์ของอาคารศาลฎีกา (สภานิติบัญญัติแห่งฮ่องกง ตั้งแต่ปี 2528 ถึง 2554) เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446
เบลกได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งศรีลังกา (บรีติชซีลอน) คนที่ 19 เมื่อสิ้นสุดการดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในฮ่องกงในปี พ.ศ. 2446 และเขาดำรงตำแหน่งดังกล่าวจนถึงปี พ.ศ. 2450 จึงเป็นตำแหน่งสุดท้ายของเขาในการบริหารอาณานิคมของอังกฤษ เบลคที่เพิ่งเกษียณอายุใหม่ทำให้จอร์จ มอร์ริสันประทับใจกับความขมขื่นของเขาที่ไม่ลงสมัครรับตำแหน่งองคมนตรีด้วยความขอบคุณสำหรับการบริการสาธารณะตลอด 41 ปีของเขา
พระราชนิพนธ์ไกลบ้าน
[แก้]ในพระราชนิพนธ์ไกลบ้านซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึง เซอร์ เฮนรี อาร์เทอร์ เบลก เป็นครั้งแรกในพระราชหัตถเลขาฉบับที่ 3 คืนที่ 14 วันอังคารที่ 9 เมษายน ร.ศ. 126 ตรงกับ พ.ศ. 2450 ดังใจความตอนหนึ่งว่า
เวลาบ่าย ๔ โมงเรือเข้าในเบรกวอเตอ มีเรือรบอังกฤษสลุดลำหนึ่ง เรือยังไม่ทันจอด พวกดำน้ำหัวมันเหลืองเหมือนพวกเอเดน สิเกรตารีเจ้าเมืองกับกงสุลเยอรมันลงมาหา เอาเรือเจ้าเมืองลงมารับไปขึ้นท่า มีพระมารับประมาณ ๑๒ องค์สวดมหาการุณิโก ได้ยืนฟังจนจบแล้วเลยไปขึ้นรถ ตรงไปกวีนซเฮาส์ทีเดียว เจ้าเมืองคนนี้ ชื่อเซอเฮนรีอาเทอเบลก เดิมเปนเจ้าเมืองฮ่องกง เคยรับลูกโตเมื่อกลับจากยุโรป
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Charles Mosley, editor, Burke's Peerage, Baronetage & Knightage, 107th edition, 3 volumes (Wilmington, Delaware, U.S.A.: Burke's Peerage (Genealogical Books) Ltd, 2003), volume 1, page 120.
ก่อนหน้า | เฮนรี อาร์เทอร์ เบลก | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
เจ้าหน้าที่รัฐบาล
| ||||
Sir Charles Cameron Lees | Governor of the Bahamas (1884–1887) |
Ambrose Shea | ||
Sir William Des Vœux | Colonial Governor of Newfoundland (1887–1889) |
Sir John Terence Nicholls O'Brien | ||
Sir Henry Wylie Norman | Governor of Jamaica (1889–1898) |
Augustus William Lawson Hemming | ||
Major-General Wilsone Black, Acting Administrator | Governor of Hong Kong (1898–1903) |
Sir Francis Henry May, Acting Administrator | ||
Sir Everard im Thurn acting governor |
Governor of Ceylon (1903–1907) |
Hugh Clifford acting governor |