เอ็ม109 ฮาวอิตเซอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปืนใหญ่อัตตาจรเอ็ม 109 ของกองกำลังป้องกันอิสราเอล
ภาพการยิงปืนใหญ่อัตตาจรเอ็ม 109 ของกองกำลังป้องกันอิสราเอล
ปืนใหญ่อัตตาจรเอ็ม 109
ชนิด ปืนใหญ่อัตตาจร
สัญชาติ  สหรัฐ
สมัย
การใช้งาน
เริ่มใช้ 1960 - ปัจจุบัน
ช่วงผลิต ไม่ทราบอย่างแน่ชัด
ช่วงการใช้งาน 1960 - ปัจจุบัน
ผู้ใช้งาน  สหรัฐ

 อังกฤษ

สงคราม
ขนาดลำกล้อง 155 มิลลิเมตร
ระยะครบรอบเกลียว 2.4 มม.
ความยาวลำกล้อง 3.0 เมตร
กระสุน 155 มิลลิเมตร แบบแยกบรรจุ
อัตราการยิง 4 นัด/นาที
ความเร็วปากลำกล้อง
มุมยิง {{{elevation}}}
มุมทิศ {{{traverse}}}
ระยะยิงไกลสุด 30,000 เมตร
ระยะยิงใกล้สุด 18,000 เมตร
พลประจำปืน 8 นาย
น้ำหนัก 27.5 ตัน
ความยาวรวม 9.1 เมตร
แบบอื่น

เอ็ม109 ฮาวอิตเซอร์ (อังกฤษ: M109 howitzer) เป็นปืนใหญ่อัตตาจรสัญชาติอเมริกันขนาด 155 ม.ม.ซึ่งปรากฏตัวครั้งแรกในต้นทศวรรษ 1960 มันได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงรุ่นในปัจจุบันคือเอ็ม109เอ6 พาลาดิน ปัจจุบันถูกใช้เพียงกองทัพสหรัฐฯ เท่านั้น สหรัฐฯ ยังคงมีเอ็ม109เอ5 จำนวนมากอยู่ในประจำการ ตระกูลเอ็ม109 เป็นสิ่งที่พบเห็นได้บ่อยตามกองพลยานเกราะของโลกตะวันตก

กองทัพอังกฤษได้แทนที่เอ็ม109 ด้วยเอเอส-90 กองกำลังติดอาวุธในยุโรปจำนวนมากได้แทนที่เอ็ม109 ด้วยพีซีเอช 2000 ของเยอรมนี ซึ่งดีเหนือกว่าเอ็ม109 ในหลายๆ ด้าน การพัฒนาที่สำคัญของเอ็ม109 เกิดขึ้นโดยสหรัฐฯ และสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยการยกเลิกโครงการครูเซเดอร์ในสหรัฐฯ พาลาดินยังคงเป็นปืนใหญ่อัตตาจรหลักของกองทัพบกสหรัฐฯ ไปอีกหลายปี จนกระทั่งจะมีโครงการใหม่ของสหรัฐฯ ที่จะเริ่มในปี พ.ศ. 2551–2553

ลูกเรือของเอ็ม109 จะประกอบด้วยหัวหน้า พลขับ พลปืนสามนายที่ต้องเตรียม บรรจุ และยิง และพลปืนอีกสองนายที่จะเป็นคนเล็งปืนใหญ่ พลปืนจะเล็งปืนไปทางซ้ายขวา โดยที่อีกคนจะเล็งขึ้นลง เอ็ม109เอ6 พาลาดินนั้นต้องการพลปืนเพียงหนึ่งนายและคนบรรจุกระสุนสองนาย

รายละเอียดเฉพาะของเอ็ม109 ฮาวอิตเซอร์[แก้]

  • ประเทศผู้ผลิต สหรัฐอเมริกา
  • บทบาท ปืนใหญ่อัตตาจร
  • น้ำหนัก
  • ความยาว 9.1 เมตร
  • ความกว้าง 3.1 เมตร
  • ความสูง 3.3 เมตร
  • ลูกเรือ 8 นาย (ผู้บัญชาการปืน พลขับ พลปืนหกนาย)
  • อัตราการยิง 4 นัดต่อนาที
  • ระยะยิงที่มีประสิทธิภาพ 18,000-30,000 เมตร (กระสุนจรวด)
  • อาวุธหลัก ปืนใหญ่126 ฮาวอิตเซอร์ขนาด 155 ม.ม.
  • อาวุธรอง ปืนกลเอ็ม2 ขนาด 12.7 ม.ม.
  • พิสย 350 กิโลเมตร
  • ความเร็ว 56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]