เอดเวิร์ด เจนเนอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์)
เอดเวิร์ด เจนเนอร์

เกิด17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749
บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ
เสียชีวิต26 มกราคม ค.ศ. 1823(1823-01-26) (73 ปี)
บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
คู่สมรสแคทเธอรีน คิงสโคป (สมรส 1788; เสียชีวิต 1815)
บุตร3
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขาเภสัชกร/ศัลยกรรม, ธรรมชาติวิทยา
อาจารย์ที่ปรึกษาจอห์น ฮันเตอร์

เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (อังกฤษ: Edward Jenner, FRS FRCPE;[1] 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749 – 26 มกราคม ค.ศ. 1823) เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดวัคซีนและผลิตวัคซีนโรคฝีดาษ วัคซีนชนิดแรกของโลก[2][3] คำว่า วัคซีน และ การให้วัคซีน มาจากคำว่า Variolae vaccinae ('ตุ่มหนองของวัว') ซึ่งเป็นคำที่เจนเนอร์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเรียกฝีดาษวัว ใน ค.ศ. 1798 เขาใช้ศัพท์นี้ในหัวข้อ Inquiry into the Variolae vaccinae known as the Cow Pox เพื่อกล่าวถึงผลการป้องกันโรคฝีดาษจากฝีดาษวัว[4]

ในโลกตะวันตก เจนเนอร์มักได้รับการกล่าวถึงเป็น "บิดาแห่งวิทยาภูมิคุ้มกัน"[5] และกล่าวกันว่าผลงานของเขาได้ช่วยเหลือ "หลายชีวิตมากกว่าผู้ใด"[6]: 100 [7] ในสมัยของเจนเนอร์ ประชากรโลกประมาณ 10% เสียชีวิตจากโรคนี้ โดยในเมืองและนครที่โรคแพร่กระจายได้ง่าย ตัวเลขพุ่งสูงถึง 20%[7] ใน ค.ศ. 1821 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นแพทย์ประจำสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 4 และได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีบาร์กลีย์ เขาเป็นสมาชิกราชสมาคม ในด้านสัตววิทยา เขาเป็นหนึ่งในนักวิชาการสมัยใหม่กลุ่มแรกที่กล่าวถึงภาวะกาฝากของนกคัคคู (อาริสโตเติลก็กล่าวถึงพฤติกรรมนี้ใน History of Animals)

ชีวิตช่วงต้น[แก้]

ฉบับร่างที่เขียนด้วยลายมือที่กล่าวถึงวัคซีนชนิดแรกของเจนเนอร์ จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งอังกฤษในลอนดอน

เอดเวิร์ด เจนเนอร์เกิดในวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1749[8] ที่บาร์กลีย์ กลอสเตอร์เชอร์ ประเทศอังกฤษ โดยเป็นบุตรคนที่ 8 จากทั้งหมด 9 คน เรเวอเรนด์ สตีเฟน เจนเนอร์ พ่อของเขา เป็นตัวแทนแห่งบาร์กลีย์ ทำให้เจนเนอร์ได้รับการศึกษาขึ้นพื้นฐานได้มาก[8]

การศึกษาและฝึกฝน[แก้]

ตอนอยู่ในวัยหมุ่น เขาศึกษาที่โรงเรียนแคทเธอรีน เลดีบาร์กลีย์ (Katherine Lady Berkeley's School) ในวุทัน-อันเดอร์-เอจ และในไซเรินเซสเตอร์[8] ในเวลานั้น เขาได้รับการปลูกฝี (ด้วยวิธี variolation) โรคฝีดาษ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพโดยทั่วไปในระยะยาว[8] ตอนอายุ 14 ปี เขาเป็นเด็กฝึกงานให้กับแดเนียล ลัดโลว์ ศัลยแพทย์ประจำชิงปิงซอดบิวรี เซาท์กลอสเตอร์เชอร์ เป็นเวลา 7 ปี โดยเขาได้รับประสบการณ์ในการเป็นศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ในช่วงนี้[8]

ใน ค.ศ. 1770 ตอนอายุ 21 ปี เจนเนอร์กลายเป็นเด็กฝึกงานด้านการผ่าตัดและกายวิภาคศาสตร์ภายใต้ศัลยแพทย์ จอห์น ฮันเตอร์และคนอื่น ๆ ในโรงพยาบาลเซนต์จอร์จส์ ลอนดอน[9]

ชีวิตช่วงหลัง[แก้]

ปักษีวิทยา[แก้]

นอกจากเป็นแพทย์แล้ว เอดเวิร์ด เจนเนอร์ ยังถือว่าเป็นนักปักษีวิทยาอีกด้วย ด้วยผลงานทางวิทยาศาสตร์ชิ้นแรกก่อนการค้นพบวัคซีน คือ การศึกษาพฤติกรรมการขยายพันธุ์ของนกในวงศ์นกคัคคู (Cuculidae) หรือนกกาเหว่าอีกด้วย ซึ่งเป็นนกที่มีพฤติกรรมวางไข่ไว้ในรังของนกชนิดอื่น และปล่อยให้พ่อแม่นกชนิดอื่นนั้นเลี้ยงดูลูกของตัวเอง ซึ่งในเวลานั้น (ศตวรรษที่ 18) ผู้คนยังไม่รู้ว่านกคัคคูทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร เจนเนอร์ได้ตีพิมพ์เรื่องนี้ในปี ค.ศ. 1778 เจนเนอร์ได้บันทึกไว้ว่าไม่เพียงแค่แม่นกคัคคูเท่านั้นที่วางไข่ไว้ในรังของนกชนิดอื่น แต่ลูกนกคัคคูที่ฟักออกมา จะทำการผลักดันลูกนกตัวเดิมในรังด้วยข้อศอกและหลังให้ตกลงไปจากรังอีกด้วย เพื่อครอบครองรังแต่ผู้เดียว แม้รายงานฉบับนี้นักวิทยาศาสตร์หลายคนในขณะนั้นยังไม่เชื่อ แต่ก็ทำให้เจนเนอร์ได้เข้าเป็นสมาชิกของราชสมาคมแห่งลอนดอน[10]

แต่งงานและยามนุษย์[แก้]

ใบรับรองการเข้าร่วมวิทยากรที่มอบให้กับเจนเนอร์ เขาได้เข้าร่วมการบรรยายเกี่ยวกับเคมี การแพทย์ และฟิสิกส์หลายแห่ง

เจนเนอร์แต่งงานกับแคทเธอรีน คิงส์คอต (Catherine Kingscote; เสียชีวิตจากวัณโรคใน ค.ศ. 1815 ) ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1788 เขาอาจพบเธอขณะที่ตัวเขาและคนอื่นกำลังทดลองกับลูกโป่ง ลูกโป่งทดลองลอยลงที่คิงส์คอตพาร์ก กลอสเตอร์เชอร์ ที่ถือครองโดยแอนโทนี คิงส์คอต พ่อของแคทเธอรีน[11] ทั้งคู่มีลูก 3 คน: เอดเวิร์ด รอเบิร์ต (1789–1810), รอเบิร์ต ฟิตซ์ฮาร์ดิง (1792–1854) และแคทเธอรีน (1794–1833)[12]

เขาได้รับปริญญาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูวส์ใน ค.ศ. 1792[13] เขาได้รับเครดิตจากการพัฒนาความเข้าใจของอาการเจ็บหน้าอก[14]

การคิดค้นวัคซีน[แก้]

เสียชีวิต[แก้]

เจนเนอร์ประสบกับการตกเลือดในสมองในวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1823 ทำให้ส่วนขวาของร่างกายเป็นอัมพาต[6]: 314  เขาไม่ได้ฟื้นตัวและเสียชีวิตในวันถัดมาด้วยอาการสโตรกที่ชัดเจนครั้งที่สองในวันที่ 26 มกราคม ค.ศ. 1823[6] อายุ 73 ปี ศพของเขาได้รับการฝังที่ห้องสุสานครอบครัวที่โบสถ์นักบุญแมรี บาร์กลีย์[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Jenner, Edward (1749–1823)". rcpe.ac.uk. Royal College of Physicians of Edinburgh. 28 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2021. สืบค้นเมื่อ 2018-06-26.
  2. Riedel, Stefan (January 2005). "Edward Jenner and the history of smallpox and vaccination". Proceedings (Baylor University. Medical Center). Baylor University Medical Center. 18 (1): 21–25. doi:10.1080/08998280.2005.11928028. PMC 1200696. PMID 16200144.
  3. Baxby, Derrick (2009) [2004]. "Jenner, Edward (1749–1823)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/14749. สืบค้นเมื่อ 2 December 2022.
  4. Baxby, Derrick (1999). "Edward Jenner's Inquiry; a bicentenary analysis". Vaccine. 17 (4): 301–307. doi:10.1016/s0264-410x(98)00207-2. PMID 9987167.
  5. "History – Edward Jenner (1749–1823)". BBC. 1 November 2006. สืบค้นเมื่อ 28 July 2009.
  6. 6.0 6.1 6.2 Baron, John (1838). The Life of Edward Jenner M.D. LL.D. F.R.S. (ภาษาอังกฤษ). Vol. 2. London: Henry Colburn. p. 310. hdl:2027/nc01.ark:/13960/t2t523s95 – โดยทาง HathiTrust.
  7. 7.0 7.1 "How did Edward Jenner test his smallpox vaccine?". The Telegraph. Telegraph Media Group. 13 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 มกราคม 2022. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2017.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 "About Edward Jenner". The Jenner Institute. สืบค้นเมื่อ 12 April 2020.
  9. "Young Edward Jenner, Born in Berkeley". Edward Jenner Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 September 2012. สืบค้นเมื่อ 4 September 2012.
  10. "ท่องโลกกว้าง : เจาะความลับของธรรมชาติ ตอน นกจอมลวง ผีเสื้อเจ้าเล่ห์ และ คำกล่าวขาน". ไทยพีบีเอส. 19 February 2015. สืบค้นเมื่อ 20 February 2015.[ลิงก์เสีย]
  11. Richard B. Fisher, Edward Jenner (Andre Deutsch, 1991) pp. 40–42 แม่แบบ:ISBN?
  12. The Journal of Genealogy and Family History, Vol. 2, No. 1 (2018)
  13. "A brief history of the University". University of St Andrews. สืบค้นเมื่อ 11 February 2018. Through the centuries many great minds have been attracted to St Andrews:...Edward Jenner, pioneer of the smallpox vaccine (MD, 1792)
  14. Beasley AW (2011). "A story of heartache: the understanding of angina pectoris in the pre-surgical period". The Journal of the Royal College of Physicians of Edinburgh. 41 (4): 361–365. doi:10.4997/JRCPE.2011.416. PMID 22184576.
  15. "Edward Jenner – St Mary's Church, Berkeley, Gloucestershire". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 September 2011. สืบค้นเมื่อ 15 December 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]