เอลีซาเบตา รีเซอา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอลีซาเบตา รีเซอา
ภาพถ่ายราวปี 1950
เกิด28 มิถุนายน ค.ศ. 1912(1912-06-28)
ดอมเนชต์ เทศมณฑลอาร์เจช ราชอาณาจักรโรมาเนีย
เสียชีวิต4 ตุลาคม ค.ศ. 2003(2003-10-04) (91 ปี)
ปีเตชต์ ประเทศโรมาเนีย
มีชื่อเสียงจากสัญลักษณ์การต้านทานคอมมิวนิสต์ของโรมาเนีย

เอลีซาเบตา รีเซอา (โรมาเนีย: Elisabeta Rizea; 28 มิถุนายน 1912 – 4 ตุลาคม 2003) เป็นสมาชิกแนวร่วมต้านคอมมิวนิสต์ชาวโรมาเนียในแถบเขาเฟอเกอรัชในวัลเลเกียเหนือ หลังการปฏิวัติโรมาเนียปี 1989 เธอกลาขมาเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการต้านทานคอมมิวนิสต์[1][2][3]

ชีวประวัติ[แก้]

รีเซอาเกิดเมื่อปี 1912 ในดอมเนชต์ หมู่บ้านในเทศมณฑลอาร์เจช ในเขาคาร์เพเธียใต้ บิดและมารดาคืออีโยน และ มารีอา ชูซา (Ion and Maria Șuța) ซึ่งเป็นไพร่ติดที่ดิน เมื่ออายุ 19 ปี เธอย้ายไปยังหมู่บ้านใกล้ ๆ ซึ่งคือนุกชออารา ที่เธอแต่งงานกับเจออร์เจ รีเซอา (Gheorghe Rizea) ซึ่งเป็นลูกจ้างของลุงเธอ จอร์เจ ชูซา (Gheorghe Șuța)[4]

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพโซเวียตนำเอารัฐบาลคอมมิวนิสต์มาประกาศใช้ในโรมาเนีย ลุงของรีเซอาซึ่งเป็นผู้นำท้องถิ่นของพรรคไพร่แห่งชาติถูกฆาตกรรมโดยตำรวจลับในวันเลือกตั้ง มีแหล่งข้อมูลระบุปีอยู่ที่ 1946 ไม่ก็ 1948[5] สามีของรีเซอาจึงเข้าร่วมเป็นทหารกองโจรต้านคอมมิวนิสต์ ไฮดูชีย์ มุสเกลูลุย ซึ่งนำโดยจีออร์เจ อาร์เซเนสกู ส่วนเอลีซาเบตาให้การสนับสนุนอาหารและอื่น ๆ แก่กองทหาร[4][1] เมื่อคืนวันที่ 18 มิถุนายน 1949 สมาชิกขอบกลุ่มอาร์เซเนสกูถูกตำรวจลับลอบโจมตี มีผู้เสียชีวิตสองราย และที่เหลือหลบหนีไปได้ หลังจากนั้นกองพลของตำรวจลับจึงทำการสำรวจพื้นที่ครั้งใหญ่ใช้พลทหารรวมสองกองพันรอบบริเวณ รีเซอาถูกจับกุมจากการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม ถูกทุบตี และนำตัวไปเรือนจำปีเตชต์ ถูกคุมขังนาน 18 เดือนขณะรอการตัดสิน จากนั้นจึงถูกตัดสินจำคุกเจ็ดปี[6]

หลังถูกปล่อยตัวจากคุก เธอยังคงให้อาหารและส่งข่าวสารแก่นักต่อสู้ต้านคอมมิวนิสต์ในเขาคาร์เพเธียใต้ เมื่ออาร์เซเนสกูถูกจับกุมในปี 1961 เธอก็ถูกดำเนินคดีเช่นกัน และถูกประกาศให้เป็น "dușman al poporului" (ดุชมันอัลปอปอรูลุย; ศัตรูของประชาชน) และตัดสินจำคุก 25 ปี อยู่ที่เรือนจำสตรีในมิสเลอา[1] สามปีต่อมา ในปี 1964 จึงได้รับการปล่อยตัวจากข้อตกลงนิรโทษกรรม (general amnesty)[2]

ตลอดสิบสองปีในคุก เธอถูกทารุณกรรมหลายรูปแบบ เช่น ถูกจับมัดแขวนโดยใช้เส้นปมของเธอเองจากตะขอ แล้วจึงถูกทุบตีจนสลบไปเพราะมีซี่โครงหัก[7] นอกจากนี้ถูกโกนหัว, เผา, ทุบตีด้วยพลั่ว เมื่อออกจากเรือนจำ เธอไม่มีทั้งผมและเดินไม่ได้ เพราะเข่าถูกทุบทำลายไปหมด

หลังการปฏิวัติล้มล้างคอมมิวนิสต์เสร็จสิ้นในปี 1989 เรื่องราวของเธอกลายมาเป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางจากการให้สัมภาษณ์ซึ่งปรมกฏในสารคดีปี 1992 เรื่อง Memorialul Durerii โดย ลูซีอา ฮอสซู-ลองกิน (Lucia Hossu-Longin [ro])[3] ในปี 2001 อดีตกษัตริย์ มีฮาอิลที่หนึ่งแห่งโรมาเนีย เสด็จเยี่ยมรีเซอาที่บ้านของเธอในนุกชออารา[7]

รีเซอาเสียชีวิตในปี 2003 ด้วยปอดอักเสบไวรัส ที่โรงพยาบาลในปีเตชต์[8]

มีถนนในเมืองยัช, นุกชออารา, ตีมีชออารา และ วอลุนตารี ที่ตั้งชื่อตามชื่อเธอ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Bouleanu, Elisabeth (11 November 2015). "Elisabeta Rizea, simbolul rezistenței anticomuniste: "Îmi făceam cruce cu limba şi mă rugam la Dumnezeu să mă ajute să nu spun nimic"". Adevărul (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  2. 2.0 2.1 "Elisabeta Rizea, 91, a Defiant Romanian". The New York Times. October 10, 2003. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  3. 3.0 3.1 Lambru, Steliu (July 29, 2013). "Heroes of the anti-communist resistance: Elisabeta Rizea". Radio Romania International. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  4. 4.0 4.1 Moceanu, Răzvan (October 6, 2019). "Portret: Elisabeta Rizea – o icoană a demnităţii, un simbol al rezistenţei anticomuniste" (ภาษาโรมาเนีย). Radio România Cultural. สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  5. Hiru, Ion C. (September 19, 2018). "In memoriam: 70 de ani de la asasinarea eroului țărănist Gheorghe Șuța". argesexpres.ro (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ April 29, 2020.
  6. Deletant, Dennis (2019). Romania under Communism. Paradox and Degeneration. London, New York: Routledge/Taylor & Francis Group. p. 210. ISBN 978-1-138-70742-9. OCLC 1050143513.
  7. 7.0 7.1 Tănase, Cristina (September 2004). "Elisabeta Rizea, Forgotten Hero Remembered". Vivid Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-02-24.
  8. "Elisabeta Rizea de Nucșoara". România Liberă. 11 October 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-03-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]