อีลิเซียม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอลิเซี่ยม)
Goethe's Ankunft im Elysium โดย Franz Nadorp

ในเทพปกรณัมกรีก อีลิเซียม (อังกฤษ: Elysium) หรือ ทุ่งเอลีเซียน (กรีกโบราณ: Ἠλύσιον πεδίον, Ēlýsion pedíon) เป็นแนวคิดชีวิตหลังความตายที่พัฒนาไปตามกาลเวลาและได้รับการค้ำจุนโดยนิกายและลัทธิทางศาสนาและปรัชญาของกรีกบางส่วน เดิมที่สถานที่นี้แยกจากยมโลกของกรีกที่เป็นดินแดนของเฮดีส เฉพาะมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าและวีรบุรุษคนอื่น ๆ เท่านั้นที่สามารถผ่านเข้ามาทางแม่น้ำสติกซ์ได้ ภายหลังมีการเพิ่มแนวคิดของผู้ที่สามารถเข้าได้ว่ารวมถึงผู้ที่พระเจ้าเลือก คนชอบธรรม และวีรบุรุษ หลังเสียชีวิต พวกเขาจะยังคงอยู่ในทุ่งเอลีเซียนเพื่อมีชีวิตหลังความตายอย่างมีความสุขและความเจริญ และดื่มด่ำกับความสุขที่พวกเขาเคยได้รับขณะยังมีชีวิต[1][2][3][4][5][6]

โฮเมอร์รายงานว่า ทุ่งเอลีเซียนตั้งอยู่ที่ขอบทางตะวันตกของโลก ริมสายน้ำโอซีอานัส[1] จากนั้นในสมัยของเฮสิโอด กวีชาวกรีก อีลิเซียมเป็นที่รู้จักในชื่อ "เกาะแห่งความผาสุก" ตั้งอยู่ในมหาสมุทรตะวันตกปลายสุดขอบโลก[1][7][8] ภายหลังพินดาร์ กวีชาวธีบส์ ลดขนาดเกาะแห่งความผาสุกลงเป็นเกาะขนาดเล็ก โดยระบุว่ามีสวนสาธารณะที่ร่มรื่น กับพลเมืองที่ชอบเล่นกีฬาและดนตรี[1][2]

นักเขียนแต่ละคนระบุผู้ปกครองอีลิเซียมไม่เหมือนกัน โดยพินดาร์และเฮซิโอดระบุว่าผู้ปกครองคือโครนัส[9] ส่วนโฮเมอร์ระบุใน โอดิสซีย์ ว่ามี Rhadamanthus ที่มีผมสีนวลอาศัยอยู่ในนั้น[6][7][10][11]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Peck, Harry Thurston (1897). Harper's Dictionary of Classical Literature and Antiquities, Volume 1. New York: Harper. pp. 588, 589.
  2. 2.0 2.1 Sacks, David (1997). A Dictionary of the Ancient Greek World. Oxford University Press US. pp. 8, 9. ISBN 0-19-511206-7.
  3. Zaidman, Louise Bruit (1992). Religion in the Ancient Greek City. United Kingdom: Cambridge University Press. p. 78. ISBN 0-521-42357-0.
  4. Clare, Israel Smith (1897). Library of Universal History, Volume 2: Ancient Oriental Nations and Greece. New York: R. S. Peale, J. A. Hill.
  5. Petrisko, Thomas W. (2000). Inside Heaven and Hell: What History, Theology and the Mystics Tell Us About the Afterlife. McKees Rocks, PA: St. Andrews Productions. pp. 12–14. ISBN 1-891903-23-3.
  6. 6.0 6.1 Ogden, Daniel (2007). A Companion to Greek Religion. Singapore: Blackwell Publishing. pp. 92, 93. ISBN 978-1-4051-2054-8.
  7. 7.0 7.1 Westmoreland, Perry L. (2007). Ancient Greek Beliefs. Lee And Vance Publishing Co. p. 70. ISBN 978-0-9793248-1-9.
  8. Rengel, Marian (2009). Greek and Roman Mythology A to Z. Infobase Publishing. p. 50. ISBN 978-1-60413-412-4.
  9. Evelyn-White, Hugh G. (1914). The Homeric Hymns and Homerica with an English Translation. London: William Heinemann Ltd.
  10. Burkert, Walter (1985). Greek Religion. United Kingdom: Blackwell. p. 198. ISBN 0-631-15624-0.
  11. Murray, A.T. (1919). Homer, The Odyssey with an English Translation. Perseus Digital Library Project. Cambridge, MA: Harvard University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Elysium