ข้ามไปเนื้อหา

เอมิเรตไซเรไนกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอมิเรตไซเรไนกา

إمارة برقة  (อาหรับ)
1949–1951
ธงชาติไซเรไนกา
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของไซเรไนกา
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติالنشيد الوطني لإمارة برقة[1]
เพลงชาติเอมิเรตไซเรไนกา
เอมิเรตไซเรไนกาในลิเบีย
เอมิเรตไซเรไนกาในลิเบีย
เมืองหลวงเบงกาซี
ภาษาทั่วไปภาษาอาหรับ
ศาสนา
อิสลาม
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์
เอมีร์ 
• 1949-1951
อิดริส
ประธานฝั่งบริเตน 
• 1949-1951
เอริก เดอ แคนโดล
ประวัติศาสตร์ 
• เอกราช
1 มีนาคม 1949
• ผนวกรวมกับตรีโปลิเตเนีย และ เฟซซัน เพื่อเปลี่ยนเป็น ราชอาณาจักรลิเบีย
24 ธันวาคม 1951
สกุลเงินปอนด์อียิปต์
ก่อนหน้า
ถัดไป
การปกครองทางทหารของอังกฤษ (ลิเบีย)
ราชอาณาจักรลิเบีย

เอมิเรตไซเรไนกา (อาหรับ: إمارة برقة) เกิดขึ้นเมื่อซัยยิด อิดริส ประกาศให้ไซเรไนกาเป็นรัฐอิสระเพียงฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 1949 โดยได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร[2] ซัยยิด อิดรีสประกาศตนเป็นประมุขแห่งไซเรไนกาใน 'การประชุมระดับชาติ' ที่เมืองเบงกาซี[3]การยอมรับโดยสหราชอาณาจักรไม่ได้มีอิทธิพลต่อทัศนคติของสหประชาชาติ และอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับคำสั่งให้เตรียมรับมือการประกาศเอกราชของลิเบียในมติที่ผ่านเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 1949[3] มีการประกาศเอกราชของราชอาณาจักรลิเบียเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 1951 และในวันที่ 27 ธันวาคม เอมีร์ ไอดริส ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อิดริสที่ 1[2][4][3]

ธงสีดำที่มีสัญลักษณ์รูปดาวและจันทร์เสี้ยวสีขาวถูกนำมาใช้โดยอิดริสในขณะที่เขาได้รับการประกาศให้เป็นเอมีร์ในปี 1947 ธงนี้กลายเป็นธงชาติลิเบียในปี 1951 โดยมีการเพิ่มแถบสีแดงและสีเขียวซึ่งแสดงถึง ตรีโปลิเตเนีย และ เฟซซัน ตามลำดับ อิดริสในฐานะกษัตริย์แห่งลิเบียทรงใช้ธงของเอมิเรตไว้เป็นธงพระอิสริยยศส่วนพระองค์ โดยมีการเพิ่มมงกุฎสีขาวที่ด้านบน[5]

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2012 สะท้อนเหตุการณ์เมื่อ 63 ปีก่อน การประชุมลักษณะเดียวกันนี้จัดขึ้นที่เมืองเบงกาซี โดยเรียกร้องให้ไซเรไนกามีอำนาจปกครองตนเองและเป็นสหพันธรัฐมากขึ้น อาเหม็ด อัล-เซนุสซี พระญาติของอิดริส ได้รับการประกาศให้เป็นประธานสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งไซเรไนกาที่ประกาศก่อตั้งขึ้น[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Himno Nacional de Cirenaica (1949-1951) : "النشيد الوطني لإمارة برقة العربية"". YouTube.
  2. 2.0 2.1 Minahan, James (2002). Encyclopedia of the Stateless Nations: S-Z. Greenwood Publishing Group. p. 1659. ISBN 978-0-313-32384-3.
  3. 3.0 3.1 3.2 Schulze, Reinhard (2002). A modern history of the Islamic world. I.B.Tauris. p. 135. ISBN 978-1-86064-822-9.
  4. Selassie, Bereket H. (1974). The executive in African governments. Heinemann. p. 94. ISBN 978-0-435-83100-4.
  5. Barraclough, Flags of The World (1965), p. 215.
  6. "Libyan leader says autonomy call a foreign plot - AlertNet". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-11. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.