เอดา เอดเลอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอดา ซารา เอดเลอร์
เอดา เอดเลอร์ เมื่อประมาณ ค.ศ. 1900
เกิด18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878(1878-02-18)
เฟรเดริกสแบร์ก
เสียชีวิต28 ธันวาคม ค.ศ. 1946(1946-12-28) (68 ปี)
โคเปนเฮเกน
สัญชาติเดนมาร์ก
อาชีพบรรณารักษ์และนักวิชาการศิลปะคลาสสิก

เอดา ซารา เอดเลอร์ (เดนมาร์ก: Ada Sara Adler; ค.ศ. 1878 – ค.ศ. 1946) เป็นนักวิชาการศิลปะคลาสสิกและบรรณารักษ์ชาวเดนมาร์ก

เธอเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากฉบับวิจารณ์ของสารานุกรมไบแซนไทน์ซูดา (5 เล่ม, ค.ศ. 1928–1938) ซึ่งยังคงมีข้อความมาตรฐานอยู่

ประวัติ[แก้]

เอดเลอร์เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 โดยเป็นลูกสาวของแบร์เตล เดวิด เอดเลอร์ และเอลีส โยแฮนน์ ซึ่งมีคำเรียกตามหลังชื่อและนามสกุลหลังแต่งงานคือแฟรงเคล[1] ทั้งนี้ ครอบครัวของเธอมีฐานะทางสังคมสูงและมีความสัมพันธ์ที่ดี โดยเดวิด บารุค เอดเลอร์ ผู้เป็นปู่ของเธอเป็นนายธนาคารและนักการเมืองผู้มั่งคั่ง ส่วนน้าสาวของเธอชื่อเอลเลน เอดเลอร์ โปร์ เป็นแม่ของนิลส์ โปร์ และฮารัลด์ โปร์[1] รวมถึงเธอยังเกี่ยวข้องกับนักจิตวิทยาชาวเดนมาร์กชื่อเอดการ์ ฮูบิน ผ่านทางฝ่ายโปร์[2]

การศึกษาในช่วงต้นของเอดเลอร์อยู่ที่โรงเรียนมิสสตีนแปร์ แล้วจึงต่อที่โรงเรียนเอ็น. ซาห์เล ซึ่งเธอศึกษาภาษากรีกโบราณภายใต้การสอนของอาเนิร์ส บียอร์น ดรักแมน ใน ค.ศ. 1893[3] จากนั้น เธอก็เรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ซึ่งเธอยังคงศึกษาภาษากรีกและศาสนาเปรียบเทียบกับดรักแมน รวมถึงศาสตราจารย์ วิลเฮล์ม ธอมเซน[3][4] ใน ค.ศ. 1906 เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านศาสนากรีกโบราณ และได้รับรางวัลจากสมาคมนิรุกติศาสตร์ประวัติศาสตร์ สำหรับการวิจัยเรื่องตำนานของแพนโดรา[3] ครั้นใน ค.ศ. 1912 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท เธอได้เดินทางไปศึกษาต่อที่เวียนนา โดยในช่วงเวลานั้นเธอได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับศาสนากรีกสองสามบทความ รวมถึงได้ทำการวิจัยและเขียนให้แก่สารานุกรมเพาลี-วิสโซวา[3]

ใน ค.ศ. 1901 เธอแต่งงานกับนักปรัชญาชาวเดนมาร์กชื่อแอนทัน ธอมเซิน ซึ่งเธอได้พบที่งานเลี้ยงอาหารค่ำเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1897[1] โดยธอมเซินได้บันทึกเรื่องราวการพบกันครั้งแรกนี้ไว้ในไดอารีของเขา ซึ่งจำได้ว่าเขาหลงเธอแค่ไหน[2] กระทั่งพวกเขาหย่าร้างใน ค.ศ. 1912[4]

ครั้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เธอได้อพยพไปประเทศสวีเดนพร้อมกับชาวยิวเชื้อสายเดนมาร์กคนอื่น ๆ ซึ่งเธอได้สอนภาษากรีกที่โรงเรียนเดนมาร์กในลุนด์[4]

เมื่อเสียชีวิต เธอได้รับการฝังร่างในโมซาอิสก์เวสเทรอเบกราเอลเซสเปลดส์ใกล้โคเปนเฮเกน

อาชีพนักวิชาการ[แก้]

เธอเป็นที่รู้จักอย่างดีจากซูดาฉบับวิจารณ์ฉบับมาตรฐาน ซึ่งเธอได้รับการตีพิมพ์ 5 เล่ม (ไลพ์ซิช, ค.ศ. 1928–1938) เธอยังสนับเขียนหลายบทความให้แก่เรอัลเอ็นซือโคลเพเดียของเพาลี-วิสโซวา ซึ่งใน ค.ศ. 2016 มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดได้ตีพิมพ์บทความเพื่อยกย่องนักวิชาการศิลปะคลาสสิกสตรี ทั้งนี้ บทเกี่ยวกับเอดเลอร์เขียนโดยแคธารีน รอธ ผู้เป็นบรรณาธิการบริหารคนปัจจุบันของซูดาออนไลน์โปรเจกต์ ซึ่งรอธให้บริบทเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของเอดเลอร์ในการมอบทุนการศึกษาของซูดาในฐานะเป็นประเภทงานลงรายการแบบละเอียดที่มอบให้แก่ผู้หญิงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในขณะที่ผู้ชายได้ทำการวิจัยดั้งเดิมที่ 'น่าสนใจ' มากกว่า แต่อันที่จริงแล้วมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำให้เกิดการวิจัยเพิ่มเติม[3] (แม้ว่าการจัดทำรายการทางวิชาการส่วนใหญ่ก็ดำเนินการโดยผู้ชายในขณะนั้นเช่นกัน) ส่วนนักวิชาการศิลปะคลาสสิกอย่างวิลเลียม คาลเดอร์ ผู้เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณด้านศิลปะคลาสสิกที่มหาวิทยาลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ ได้กล่าวถึงเอดเลอร์ว่าเป็น "นักภาษาศาสตร์หญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอย่างไม่มีใครเทียบได้"[5] และนักวิชาการศิลปะคลาสสิกชาวเยอรมันชื่ออ็อทโท ไวน์ไรช์ ซึ่งมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับเอดเลอร์ ได้กล่าวถึงฉบับซูดาว่า "เบวุนเดิร์นสเวิร์ท" (ควรค่าแก่การชื่นชม) ใน ค.ศ. 1929 ไม่นานหลังจากการปรากฏตัวของหนังสือเล่มแรก[6]

ใน ค.ศ. 1916 เธอได้รับการตีพิมพ์บัญชีรายชื่อต้นฉบับภาษากรีกในหอสมุดหลวงเดนมาร์ก ซึ่งคอลเลกชันนี้รวบรวมโดยเตเนียล กอตฮิฟ โมลเดนเฮวอร์ ผู้เป็นหัวหน้าบรรณารักษ์ในคริสต์ศตวรรษที่สิบแปด[3] และเอดเลอร์เชื่อว่าต้นฉบับบางส่วนในนั้นถูกขโมยโดยโมลเดนเฮวอร์จากห้องสมุดที่อื่นในยุโรป[4] อนึ่ง ใน ค.ศ. 1931 เธอได้รับรางวัลทาเกียบรันท์ไรจ์ซีลีเกท ซึ่งเป็นรางวัลเดนมาร์กสำหรับความสำเร็จของผู้หญิงในด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์[7] กระทั่งในช่วงเวลาที่เธอเสียชีวิต เธอได้มีความก้าวหน้าอย่างมากในการจัดทำเอติโมโลฆิกุมเฆนุยนุมฉบับแรก ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินต่อไปภายใต้การดูแลของเคลาส์ อัลเพอส์[4]

ทั้งนี้ ถือว่างานของเธอเสร็จแล้วในโรมและฟลอเรนซ์เมื่อ ค.ศ. 1913 จนถึงฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1914 และปีต่อมา (ค.ศ. 1919 และ 1920) ในปารีส, เวนิส, ออกซฟอร์ด และฟลอเรนซ์[3]

ผลงาน[แก้]

  • ค.ศ. 1914: ดีค็อมเม็นทาเรเดสอัสเคลพีอาเดิสฟ็อนมือร์เลอา (เยอรมัน: Die Commentare des Asklepiades von Myrlea), เฮอร์มีส 49.1: 39–46
  • ค.ศ. 1916: แคตตาล็อกซูเปลมองแตร์เดมานูสครีเกรกเดอลาบีบลิโอเตกรัวยาลเดอโกเปนอาเก (ฝรั่งเศส: Catalogue supplémentaire des manuscrits grecs de la Bibliothèque Royale de Copenhague).
  • ค.ศ. 1917: ดี. กี. โมลเดนเฮวอร์ ออก์ฮันส์ฮอนด์สคริฟต์ซามลิง (เดนมาร์ก: D. G. Moldenhawer og hans haandskriftsamling). โคเปนเฮเกน.
  • ค.ศ. 1920: เด็นกราสเคลีเทอร์อาทัวส์สเกบเนออิโอลด์ทิด์ออก์มิดเดลแอเดอร์ (เดนมาร์ก: Den græske litteraturs skæbne i oldtid og middelalder). โคเปนเฮเกน.
  • ค.ศ. 1928–1938: ซุยดาเอเลกซีกอน (ละติน: Suidae Lexicon). ไลพ์ซิช: เบ. เก. ท็อยบ์เนอร์. 5 ฉบับ.
  • ค.ศ. 1932: ดิเอโอเมร์บิตาอิมโกเดกซ์บินโดโบเนนซิสพิล. 39 (ละติน: Die Homervita im Codex Vindobonensis Phil. 39), เฮอร์มีส 67.3: 363–366

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Hilden, Adda (30 August 2011). "Ada Adler (1878–1946)". Dansk Kvindebiografisk Leksikon.
  2. 2.0 2.1 Pind, Joergen L. (2014). Edgar Rubin and Psychology in Denmark: Figure and Ground. Springer. p. 40. ISBN 978-3-319-01061-8.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Roth, Catharine P. (2016). "Ada Sara Adler. 'The greatest woman philologist' of her time". ใน Wyles & Hall (บ.ก.). Women classical scholars : unsealing the fountain from the Renaissance to Jacqueline de Romilly'. Oxford: Oxford University Press.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Roth, Catharine P. (2 November 2020). "Ada Sara Adler: The Greatest Woman Philologist Who Ever Lived". Harvard Center for Hellenic Studies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-05-22.
  5. Calder, William; Hallett, Judith P. (1996–1997). "Introduction: Six North American Women Classicists". Classical World. 90 (2–3): 83. doi:10.2307/4351923. JSTOR 4351923.
  6. Weinreich, Otto (1929). "Die Seher Bakis und Glanis, ein Witz des Aristophanes". Archiv für Religionswissenschaft. 27: 57–60.
  7. Jensen, Niels (15 May 2021). "Danske Litteraturpriser".

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]