เอกสารจิ่งเจี้ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพเขียนคริสต์ที่มั่วเกาอายุศตวรรษที่ 9 (ฉบับฟื้นฟูสภาพแล้ว) เชื่อกันว่าเป็นภาพเขียนแสดงรูปพระเยซูคริสต์

เอกสารจิ่งเจี้ยว (จีน: 景教經典; พินอิน: Jǐngjiào jīngdiǎn; Jingjiao Documents) หรือ เอกสารเนสเตอร์ (อังกฤษ: Nestorian Documents) หรือ พระเยซูสูตร (อังกฤษ: Jesus Sutras) เป็นชุดเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการคณะมิชชันนารีอาโลเปนในศตวรรษที่ 7 ซึ่งเป็นคณะบิชอปของคริสตจักรตะวันออกจากเมโสโปเตเมียในปกครองซัสซานิด และสงฆ์อาดัมจากศตวรรษที่ 8 เอกสารเขียนมือเหล่านี้มีอายุระหว่างปี 635 ซึ่งเป็นปีที่อาโลเปนเดินทางถึงดินแดนจีน ถึงปี 1000 โดยประมาณ ปีที่ซึ่งได้ตราผนึกไว้ในถ้ำที่มั่วเกาใกล้กับตุนหวง อันเป็นสถานที่ที่ค้นพบ

ในปี 2011 เอกสารสี่ฉบับเป็นที่ทราบว่าอยู่ในของสะสมส่วนบุคคลในญี่ปุ่น และอีกฉบับที่ปารีส ภาษาและเนื้อหาสะท้อนการมีปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมของจีนในระดับต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการใช้ศัพท์ของศาสนาพุทธกับลัทธิเต๋า[1]

การตั้งชื่อ[แก้]

ไม่มีข้อตกลงแน่ชัดถึงชื่อของชุดเอกสารเหล่านี้ในภาพรวม นักวิชาการชาวญี่ปุ่น โยชิโร ซาเอกิ (P. Y. Saeki) บรรยายโดยเรียกเอกสารชุดนี้ว่า "เอกสารเนสเตอร์" (Nestorian Documents)[2] ชื่อนี้ยังคงใช้อยู่เรื่อยมา[3] ส่วนนัดวิชาการยุคหลัง ๆ หันมาใช้ชื่อภาษาจีนซึ่งคือ "เอกสารจิ่งเจี้ยว" (Jingjiao Documents)[4]

นักจีนศึกษา มาร์ติน พาล์เมอร์ ได้พยายามจะบรรยายถึงเอกสารเหล่านี้รวมกันว่าเป็น พระสูตร เพื่อเชื่อมต่อเอกสารเข้ากับศาสนาพุทธอันเนื่องมาจากแนวโน้มของเนื้อหาและภาษาในเอกสารซึ่งโน้มเอียงไปทางการใช้คำศัพท์ในพุทธศาสนา และบางส่วนเนื่องมาจากชื่อจีน "จิ่งเจี้ยว" นั้นประกอบด้วยอักษรคำว่า จิ่ง () ซึ่งมักจะแปลตรงกับแนวคิดเรื่องพระสูตรในภาษาจีน ส่วนพาล์เมอร์อธิบายว่าอักษรนี้แท้จริงแปลว่า "วรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์"[5] และยังใช้เรียกคัมภีร์คลาสสิก เช่น Four Books and Five Classics (四書五經) ในลัทธิขงจื่อ หรือแม้นแต่ในชื่อปัจจุบันของพระคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาจีน ซึ่งคือ Shengjing (聖經)[6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Daniel H. Bays (2011). A New History of Christianity in China. Wiley. pp. 4–16. ISBN 978-1-4443-4284-0.
  2. Saeki, Yoshirō (1951). The Nestorian Documents and Relics in China (ภาษาอังกฤษ). Toho Bunkwa Gakuin: Academy of Oriental Culture, Tokyo Institute.
  3. Tang, Li (2004). A Study of the History of Nestorian Christianity in China and Its Literature in Chinese: Together with a New English Translation of the Dunhuang Nestorian Documents (ภาษาอังกฤษ). Peter Lang. ISBN 9783631522745.
  4. Nicolini-Zani, Matteo (2006). "Past and Current Research on Jingjiao Documents: A Survey". ใน Malek, Roman; Hofrichter, Peter (บ.ก.). Jingjiao: The Church of the East in China and Central Asia. Monumenta Serica Institute. pp. 23–24.
  5. Palmer, Martin (2001). The Jesus Sutras: Rediscovering the Lost Religion of Taoist Christianity (ภาษาอังกฤษ). Piatkus. p. 2. ISBN 9780749922504.
  6. Strand, Mark A. (10 September 2018). "The Origins of the Chinese Union Version Bible - ChinaSource". China Source Quarterly.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • A.C. Moule, Christianity in China Before the Year 1550, (1930) London.
  • P. Y. Saeki, The Nestorian Documents and Relics in China, (1937) Academy of Oriental Culture, Tokyo: Tokyo Institute, second edition, 1951. Contains the Chinese texts with English translations.
  • Kazuo Enoki, "The Nestorian Christianism in China in mediaeval times according to recent historical and archaeological Researches", in Problemi Attuali de Scienza e di Cultura, 62, Atti del convegno internazionale sul tema : l'Oriente cristiano nella storia della civiltà (Rome: Accademia Nazionale dei Lincei, 1964), 45–81.
  • W. Lin & X. Rong, “Doubts Concerning the Authenticity of Two Nestorian Chinese Documents Unearthed at Dunhuang from the Li’s Collection.” China Archaeology and Art Digest Vol. 1, No. 1 (May 1996), 5–14.
  • Martin Palmer, The Jesus Sutras: Rediscovering the Lost Scrolls of Taoist Christianity (2001), Wellspring/Ballantine, ISBN 0-345-43424-2. Texts translated by Palmer, Eva Wong, and L. Rong Rong.
  • Li Tang, A Study of the History of Nestorian Christianity in China and Its Literature in Chinese: Together With a New English Translation of the Dunhuang Nestorian Documents (2002), Peter Lang Publishing, 2003 paperback: ISBN 0-8204-5970-4. A fresh scholarly translation by a Chinese academic, with historical background and critical linguistic commentary on the texts.
  • Thomas Moore and Ray Riegert (editors) The Lost Sutras of Jesus: Unlocking the Ancient Wisdom of the Xian Monks (2003), Seastone, ISBN 1-56975-360-1. Texts translated by John Babcock.
  • Christoph Baumer, The Church of the East, an Illustrated History of Assyrian Christianity (London: I. B. Tauris, 2006).
  • David Wilmshurst, The Martyred Church: A History of the Church of the East, (2011) London.
  • เนื้อความต้นฉบับของเอกสาร:
  • 二十年来中国大陆景教研究综述(1982—2002) (A survey of Chinese mainland landscape teaching in the past 20 years (1982-2002))