เอกซเพรสชันนิซึมอิฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เอกซเพรสชันนิซึมอิฐ (เยอรมัน: Backsteinexpressionismus; อังกฤษ: Brick Expressionism) เป็นคำที่ใช้บรรยายรูปแบบเฉพาะหนึ่งของสถาปัตยกรรมเอกซเพรสชันนิซึม ซึ่งใช้อิฐ, กระเบื้อง หรือ อิฐเทียม เป็นวัสดุก่อสร้างหลักที่มองเห็นได้ของอาคาร สิ่งปลูกสร้างรูปแบบนี้สร้างขึ้นส่วนใหญ่ในช่วงทศวรรษ 1920 ในประเทศเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์ อันเป็นต้นกำเนิดของรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้ เป็นหลัก[1]

ศูนย์กลางของรูปแบบสถาปัตยกรรมนี้อยู่ในนครใหญ่ ๆ ในภาคเหนือของเยอรมนีและแถบรูร์ ในขณะที่รูปแบบอัมเสเตอร์ดัม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการเดียวกันนี้ สามารถพบได้ในเมืองใหญ่ของเนเธอร์แลนด์ เช่น อัมสเตอร์ดัม, อูเทร็ชท์ และ เกรอนีเงิน[2]

สถาปนิกคนสำคัญของขบวนการนี้ เช่น เพเทอร์ เบเรินส์, โดมีนีคุส บืม (มีผลงานในโคโลญ, แถบรูร์, ชวาเบีย และเฮสเซอ), มาร์ทิน เอลซาเอ็ซเซอร์ (เยอรมนีใต้), อัลเฟร็ท ฟีเชอร์ (เอสเซิน, รูร์), โยเซฟ ฟรังเคอ (เฌลเซินคีร์เชิน, รูร์), ฟริทซ์ ฮือเฌอร์ (เยอรมนีเหนือ รวมถึงชีเลเฮาส์ในฮัมบวร์ค) และ โอซซีพ คลาร์ไวน์ ผู้เป็นหัวหน้านักออกแบบ (เยอรมัน: Hauptentwurfsarchitekt[3]) และบริษัทออกแบบของเขา (เยอรมนีเหนือ รวมถึงฮัมบวร์ค และโบสถ์โฮเฮินโซลเลินพลัทซ์ในเบอร์ลิน)

อ้างอิง[แก้]

  1. Bob Lodewijks and Ronald Elink Schuurman, De Amsterdamse School in Utrecht (2014).
  2. Bob Lodewijks and Ronald Elink Schuurman, De Amsterdamse School in Utrecht (2014).
  3. Cf. Ernst-Erik Pfannschmidt, another architect employed with Höger, in his Letter to Eckhardt Berckenhagen, 29 June 1977, who then prepared the exhibition on the occasion of Höger's 100th anniversary in the Kunstbibliothek Berlin, an institution of the Berlin State Museums of the Prussian Cultural Heritage Foundation.