เหลือบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหลือบ
Tabanus sulcifrons[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Diptera
อันดับย่อย: Brachycera
อันดับฐาน: Tabanomorpha
วงศ์ใหญ่: Tabanoidea
วงศ์: Tabanidae
Genera

as listed in ITIS:
Subfamily Chrysopsinae:

Subfamily Pangoniinae:

Subfamily Tabaninae:

Not placed:

เหลือบเป็น แมลงดูดเลือดอันดับDiptera, วงศ์ Tabanidae ที่กัดและสร้างความเจ็บปวดมาก มีลักษณะคล้ายแมลงวันที่มีขนาดใหญ่ บินเสียงดัง และยังเป็นแมลงผสมเกสรที่มีความสำคัญต่อดอกไม้อีกด้วย โดยเฉพาะใน แอฟริกาใต้ เหลือบพบได้ทั่วโลก ไม่พบเฉพาะละติจูดเหนือมากและใต้มาก บางครั้งเรียก gadflies, breeze flies[2], zimbs หรือ clegs. ในออสเตรเลียเรียก "March Flies" บางพื้นที่ในแคนาดาพวกมันถูกเรียกว่า Bull Dog Flies.

เหลือบถูกค้นพบแล้วประมาณ 4,500 ชนิดทั่วโลก มากกว่า 1000 ชนิด อยู่ในสกุล Tabanus แบ่งออกเป็น 3 วงศ์ย่อย:

  • Chrysopsinae
  • Pangoniinae
  • Tabaninae
  • สกุล Zophina ไม่สามารถจัดลงในวงศ์ย่อยอื่น ๆ จึงถูกจำแนกเป็นวงศ์ย่อย Pangoniinae อีก 2 กลุ่มที่รู้จักกันดีคือ เหลือบม้า ใน สกุล Tabanus Linnaeus, 1758 และ เหลือบกวาง ในสกุล Chrysops Meigen, 1802 ซึ่งบางครั้งถูกเรียกว่าเหลือบม้าลายแถบ เนื่องจากลักษณะสีของมัน

อาหาร[แก้]

ตัวเต็มวัยเหลือบม้ากินน้ำหวานและบางครั้งเกสรดอกไม้ ตัวเมียปกติต้องกินเลือดในการขยายพันธุ์ ตัวผู้ส่วน (กราม) ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ของปากลดรูป เหลือบม้าตัวเมียส่วนมากกินเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม รวมถึงคน แต่บางชนิดกินเลือดนก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์เลื้อยคลาน ตัวอ่อน ของเหลือบม้าเป็นตัวห้ำ ของ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง อื่น ๆ โดยขุดดินอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น

พฤติกรรมการกัด[แก้]

ส่วนปากของเหลือบ (cf. Haematopota pseudolusitanica)

การกัดจากแมลงที่มีขนาดใหญ่เจ็บมาก เหลือบม้าส่วนใหญ่ทีมีลิ้น (proboscid)สั้น ใช้กรามที่เหมือนมีดฉีกและ/หรือตัด เนื้อออกจากกัน แมลงกัดที่มีลิ้นยาว เช่น ยุง ปากของมันจะเจาะผิวหนังเหมือนเข็ม

การขยายพันธุ์[แก้]

วางไข่บนก้อนหิน หรือ พืช ที่ใกล้น้ำ เมื่อฟัก ตัวอ่อนจะตกลงในน้ำหรือดินที่ชื้นๆ กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น หอยทาก ไส้เดือน และ แมลงอื่นเป็นอาหาร

การนำโรค[แก้]

A bite of horse-fly on a human.

เหลือบเป็นพาหะนำโรคมาสู่สัตว์ และมนุษย์ เหลือบเป็นพาหะนำโรค equine infectious anaemia virus, และ Trypanosome ขนิดในสกุล en:Chrysops เป็นพาหะของ Loa loa, โดยนำ ปรสิต filarial worm มาสู่คน และโรค anthrax สู่วัว ควาย และแกะ และโรค tularemia จากกระต่ายมาสู่คน

เมื่อมีเหลือบเป็นจำนวนมาก การเสียเลือดเป็นปัญหาทั่วไปในสัตว์ สัตว์บางตัวเสียเลือดถึง 300 มล. ในวันเดียวจากเหลือบกัด ซึ่งทำให้มันอ่อนแอหรือตายได้

ข้อมูลเพิ่มเติม[แก้]

Gallery[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cirrus Digital Horse Fly Tabanus sulcifrons
  2. Webster's Revised Unabridged Dictionary (1913), p707

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]