เหตุไฟฟ้าดับในประเทศเวเนซุเอลา พ.ศ. 2562
เหตุไฟฟ้าดับทั่วประเทศเวเนซุเอลา (ซึ่งยังคงเกิดซ้ำ) เริ่มขึ้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลนิโกลัส มาดูโร ระบุว่าการขาดแคลนกระแสไฟฟ้าเกิดจากการก่อวินาศกรรมต่อระบบผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศ[1][2][3] ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญและข้อมูลจากกอร์โปเอเลก (บรรษัทผลิตไฟฟ้าของรัฐ) ระบุว่าเกิดจากการขาดการบำรุงรักษา การทุจริตในพื้นที่ และการขาดความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคซึ่งเป็นผลมาจากภาวะสมองไหลจากวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นเวเนซุเอลา[4][5][6] ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ได้เกิดเหตุกระแสไฟฟ้าขัดข้องทั่วประเทศแล้วหลายครั้ง[7]
เหตุไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:56 น. ของวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2562 ตามเวลาท้องถิ่น[8] (03:56 น. ของวันที่ 8 มีนาคม ตามเวลาในไทย) กินเวลาจนถึงวันที่ 14 มีนาคม เมื่อกระแสไฟฟ้ากลับเข้าสู่ระบบในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ[9][10] นับว่าเป็นเหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา[11] โดยส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตไฟฟ้าในเกือบทุกรัฐของประเทศ[8][12] เช่นเดียวกับในรัฐโรไรมาของบราซิลซึ่งอยู่ติดกัน[13][14] ก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงในโรงพยาบาลและคลินิก อุตสาหกรรม การขนส่ง และการประปา[15] และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 43 คน[16] ในวันที่ 12 มีนาคม พื้นที่บางส่วนของประเทศเริ่มกลับมามีไฟฟ้าใช้ แต่กรุงการากัสยังคงมีไฟฟ้าใช้เพียงบางส่วน และภาคตะวันตกแถบชายแดนโคลอมเบียยังตกอยู่ในความมืด[17] กระแสไฟฟ้าในบางพื้นที่ยังคงขัดข้องต่ออีกหลายวันหลังจากวันที่ 14 มีนาคม[18]
ประมาณ 14–16 รัฐ จาก 24 รัฐและเขตเมืองหลวงของเวเนซุเอลาตกอยู่ในความมืดอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม[19] ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 28 มีนาคม[20] มีผู้ป่วยเสียชีวิตอย่างน้อยสี่คนเนื่องจากโรงพยาบาลขาดไฟฟ้าใช้เป็นเวลาสามวัน[21] ไฟฟ้าดับอีกครั้งในช่วงเย็นของวันที่ 29 มีนาคม[22] ตามมาด้วยเหตุไฟฟ้าดับอีกครั้งในอีก 24 ชั่วโมงถัดมา[23] ตลอดเดือนมีนาคม เวเนซุเอลาประสบปัญหาไฟฟ้าดับรวมเป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน[24]
ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องที่ยืดเยื้อทำให้วิกฤตการณ์ในเวเนซุเอลาเลวร้ายลงอีก และ "ซ้ำเติมความยากลำบากของชาวเวเนซุเอลา โดยตัดขาดน้ำประปาและทำให้โรงพยาบาลและสนามบินตกอยู่ในความมืดมิด"[25] ในวันที่ 31 มีนาคม มาดูโรประกาศแผนปันส่วนกระแสไฟฟ้าเป็นเวลา 30 วัน[26] ส่วนฮวน กวยโด ประกาศว่าญี่ปุ่นพร้อมที่จะลงทุนในเวเนซุเอลาเพื่อช่วยแก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง[27]
เหตุไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ในเวเนซุเอลาเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงเย็นของวันที่ 22 กรกฎาคม โดยส่งผลกระทบถึง 19 รัฐ[28] เน็ตบล็อกส์ (องค์การนอกภาครัฐ) ชี้ว่าเหลือเพียงร้อยละ 6 ของระบบโทรคมนาคมของประเทศที่ยังคงทำงานอยู่[28] รายการถ่ายทอดทางโทรทัศน์ของรัฐ (ซึ่งตามปกติไม่เคยหยุด) งดออกอากาศชั่วคราว การขนส่งทางรถไฟใต้ดินได้รับผลกระทบในช่วงเวลาเร่งด่วนเช่นกัน ทางการสั่งหยุดงานและหยุดเรียนในวันรุ่งขี้น[29] ฝ่ายบริหารของมาดูโรกล่าวย้ำข้อกล่าวหาที่ว่า "การโจมตีทางแม่เหล็กไฟฟ้า" เป็นตัวการทำให้ไฟฟ้าดับ[28] กระแสไฟฟ้ากลับเข้าสู่ระบบในกรุงการากัสในวันต่อมา[29]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Venezuela crisis: Fresh power cuts black out Caracas". BBC. 26 March 2019. สืบค้นเมื่อ 26 March 2019.
- ↑ "Thousands join rival protests on streets of Venezuela as power cuts continue". MSN. 10 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
- ↑ "Conformarán una comisión presidencial para investigar el ciberataque y mostrar la verdad". Prensa MPP (ภาษาสเปน). 12 March 2019. สืบค้นเมื่อ 15 March 2019.
- ↑ Angulo, Nataly and Cesar Batiz (10 March 2019). "¿Por qué ocurrió el apagón nacional que provocó el caos en Venezuela? Los expertos explican" [Why did the national blackout that caused the chaos in Venezuela happen? The experts explain]. Univision (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
Especialistas venezolanos en el tema eléctrico explican que el corte masivo de electricidad se debió a la falta de mantenimiento, desprofesionalización constante del sector en los últimos años del chavismo, falta de inversión y la gran vulnerabilidad que representa depender de un solo embalse: el de Guri, ubicado en el sur del país, en el estado Bolívar.
and
* "Desmontan versión de ataque cibernético: 'Es como hackear una nevera'" [Dismantling cyberattack version: 'It's like hacking a fridge']. El Nacional (ภาษาสเปน). 9 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.Expertos aseguran que el sistema de El Guri se creó antes de que existiera Internet, por lo que no depende de dicho tipo de conexiones para funcionar.
as analyzed at
* Brassesco, Javier and Fernando Nunez-Noda. "Expediente: Las causas del apagón en Venezuela" [File: The causes of the blackout in Venezuela]. Verifikado (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-30. สืบค้นเมื่อ 14 March 2019.Univision recogió opiniones de expertos ...
- ↑ Molina Guzmán, Julio (12 March 2019). "Origen de la falla eléctrica en Venezuela". Central University of Venezuela (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 March 2019.
- ↑ "No end in sight to Venezuela's blackout, experts warn". New York Times. 11 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
Energy experts, Venezuelan power sector contractors and current and former Corpoelec employees have dismissed accusations of sabotage, saying the blackout was the result of years of underinvestment, corruption and brain drain. (...) Restarting the turbines requires skilled operators who can synchronize the speed of rotation on as many as nine of Guri’s operational turbines. Experts said the most experienced operators had long left the company because of meager wages and an atmosphere of paranoia fed by Mr. Maduro’s ever-present secret police.
- ↑ Angulo, Nataly. "Los cuatro apagones que oscurecen a Venezuela" (ภาษาสเปน). El Pitazo. สืบค้นเมื่อ 23 July 2019.
- ↑ 8.0 8.1 Rodríguez Rosas, Ronny (9 March 2019). "A Motta Domínguez se le cumplió el plazo y no cumplió" [Motta Domínguez's deadline was met and he did not comply]. Efecto Cocuyo (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-13. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ "Venezuela: power returns after blackout but normal service may be a long way off". The Guardian. 14 March 2016. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
- ↑ "Four dead, hundreds detained after Venezuela blackout: rights groups". Reuters. 14 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 March 2019.
- ↑ Dube, Ryan and Maolis Castro (8 March 2019). "Venezuela Blackout Plunges Millions Into Darkness; Maduro, without evidence, blames sabotage by local opponents and the U.S. for power outage". Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019.
One company, Derwick Associates, formed by a number of well connected young businessmen with scant experience in the power business, received about $1.8 billion in contracts from Venezuelan state companies to buy and install turbines, paying a U.S. company about $1 billion to do the work. Derwick officials said they paid no bribes to any Venezuelan officials and the prices charged by the company reflected the high costs of doing business in Venezuela.
- ↑ Jones, Sam (13 March 2019). "Venezuela blackout: what caused it and what happens next?". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ Foggin, Sophie (26 March 2019). "Why Venezuela's power outage is also a Brazilian problem". Latin America Reports. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
- ↑ "Blackout darkens much of Venezuela in latest taste of economic woes". Buenos Aires Times. 8 March 2019. สืบค้นเมื่อ 17 June 2019.
- ↑ "En el tercer día de apagón en Venezuela, reportan que murieron 17 pacientes por falta de diálisis" [On the third day of the blackout in Venezuela, it is reported that 17 patients died due to lack of dialysis]. Infobae (ภาษาสเปน). 9 March 2019. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ Arroyo, Lorena (12 March 2019). "Denuncian ONGs: apagón deja al menos 43 pacientes muertos en Venezuela" [NGOs denounce: blackout leaves at least 43 patients dead in Venezuela]. Univisión. สืบค้นเมื่อ 13 March 2019.
- ↑ "Venezuela, blaming U.S. for six-day blackout, orders diplomats to leave". Reuters. 12 March 2019. สืบค้นเมื่อ 12 March 2019.
- ↑ "Servicio eléctrico sigue sin restituirse totalmente tras el apagón nacional". El Nacional (ภาษาสเปน). 18 March 2019. สืบค้นเมื่อ 18 March 2019.
- ↑ Phillips, Tom (25 March 2019). "'No more hope': fresh blackout leaves half of Venezuela without power". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 March 2019.
- ↑ Sequera, Vivian; Cohen, Luc (29 March 2019). "Venezuela blocks Guaido from office as the opposition scoffs". Reuters. สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
- ↑ Altuve, Armando (29 March 2019). "Médicos por la Salud contabiliza cuatro muertes por segundo apagón nacional" [Doctors for Health counts four deaths per second national blackout]. El Pitazo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 29 March 2019.
- ↑ "New round of power cuts hits major cities in Venezuela". Al Jazeera. 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ "Nuevo apagón afectó a Venezuela este sábado" [New blackout affected Venezuela this Saturday]. El Nacional (ภาษาสเปน). 30 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ "Venezuela sufre el tercer apagón en solo tres semanas". Telemundo 51 (ภาษาสเปน). 29 March 2019. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ Pons, Corina and Brian Ellsworth (29 March 2019). "International Red Cross ready for Venezuela humanitarian aid operation". Reuters. สืบค้นเมื่อ 30 March 2019.
- ↑ Bermudez, Margioni (1 April 2019). "Maduro announces 30 days of electricity rationing in Venezuela". Yahoo. AFP. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ "Guaido: Will work with Japanese government". NHK World. 31 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-31. สืบค้นเมื่อ 1 April 2019.
- ↑ 28.0 28.1 28.2 Sánchez, Fabiola; Goodman, Joshua (23 July 2019). "Much of Venezuela in the dark again after massive blackout". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 July 2019.
- ↑ 29.0 29.1 Smith, Scott (23 July 2019). "Venezuela's lights coming back to life following outage". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 July 2019.