เหตุผลวิบัติไฟไหม้ฟาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การ์ตูนเรื่องนี้ใน ค.ศ. 1895 แสดงให้เห็นการอ้างเหตุผลแบบไฟไหม้ฟางว่าพิธีสมรสจะเป็นไปในรูปแบบใดใน ค.ศ. 2001 หากผู้หญิงมีสิทธิที่จะเลือกตั้ง

เหตุผลวิบัติไฟไหม้ฟาง[1][2] (อังกฤษ: slippery slope fallacy หรือ SSF) ในทางตรรกศาสตร์, การคิดวิเคราะห์, วาทศิลป์ทางการเมือง และกฎหมายตามแนวบรรทัดฐานของคําพิพากษา (case law) เป็นการอ้างเหตุผลอย่างวิบัติ (fallacious agrument) เมื่อฝ่ายหนึ่งยืนยันว่าการกระทำก้าวเล็ก ๆ หนึ่งจะนำไปสู่ห่วงโซ่เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกันและท้ายสุดจะก่อให้เกิดผลลัพธ์สำคัญ (ที่โดยปกติจะเป็นผลลบ)[3] แก่นหลักของการอ้างเหตุผลแบบไฟไหม้ฟางคือ การตัดสินใจอย่างเฉพาะเจาะจงในประเด็นที่กำลังกล่าวถึงมักเป็นเหตุของผลที่ไม่ตั้งใจ (unintended consequences) ข้อดีของการอ้างเหตุผลแบบดังกล่าวขึ้นอยู่ว่าก้าวเล็ก ๆ นั้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ไม่ดีจริงหรือไม่ และบางครั้งมักถูกใช้ในรูปแบบของการปลุกปั่นให้เกิดความหวาดกลัว (fearmongering) เมื่อผลที่อาจเกิดขึ้นได้ถูกกล่าวเกินจริงเป็นความพยายามที่จะทำให้ผู้รับสารรู้สึกหวาดกลัว

นัยยะอันวิบัติของการให้เหตุผลแบบไฟไหม้ฟาง มักใช้ควบคู่กันกับเหตุผลวิบัติต่อเนื่อง (continuum fallacy) ซึ่งเพิกเฉยความเป็นไปได้ของส่วนกลางระหว่างความคิดหรือมุมมองที่ขัดแย้งกัน และเชื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างไร้รอยต่อจากหมวดหมู่เอ ไปยังหมวดหมู่บี เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้เกิดเหตุผลวิบัติอรูปนัย (informal fallacy)

นักเขียนบางคนแยกส่วนระหว่าง เหตุการณ์ ไฟไหม้ฟาง และ การอ้างเหตุผล ไฟไหม้ฟาง[4][5]: 122  เหตุการณ์ไฟไหม้ฟางสามารถแทนโดยอนุกรมของประพจน์มีเงื่อนไขว่า:

ถ้า p แล้ว q; ถ้า q แล้ว r; ถ้า r แล้ว  z.

การอ้างเหตุผล ไฟไหม้ฟาง โดยส่วนใหญ่จะเป็นการอ้างเหตุผลเชิงลบซึ่งมีความพยายามที่จะให้ขัดขวางไม่ให้บุคคลใดกระทำการกระทำใด เพราะหากบุคคลนั้นกระทำจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยอมรับไม่ได้[6] นักเขียนบางคนชี้ให้เห็นว่าการอ้างเหตุผลด้วยโครงสร้างเดียวกันอาจนำไปใช้ในทางบวกเมื่อบุคคลใดได้รับแรงกระตุ้นให้กระทำก้าวแรก เพราะจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ยอมรับได้[7]

หากใครถูกกล่าวหา ว่าใช้การอ้างเหตุผลแบบไฟไหม้ฟาง จะถือว่าผู้นั้นผิดเหตุใช้การให้เหตุผลแบบวิบัติ (fallacious reasoning) และในขณะที่พวกเขาอ้างว่า p อนุมานแทน z ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด จะไม่สามารถนำมาอ้างความชอบธรรมได้ โดยปกติ การอ้างเหตุผลแบบไฟไหม้ฟางมักถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเหตุผลวิบัติ แม้จะมีการรับรู้อยู่ว่าพอมีการอ้างเหตุผลที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของเหตุผลวิบัติบ้างก็ตาม[8]: 273–311 

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ภูรีสิทธิ์, ภรณี (2021). เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสาเข็มของประชาธิปไตย. เสมสิกขาลัย. p. 59. ISBN 978-616-588-043-5.
  2. "ผมยาวแล้วโลกการศึกษาจะถล่ม? รู้จัก Slippery slope ตรรกะที่บังวิสัยทัศน์ยิ่งกว่าทรงผม". The Matter. 2020-11-24. สืบค้นเมื่อ 2023-06-19.
  3. "Learning to reason clearly by understanding logical fallacies". makethestand.com. July 19, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2012. สืบค้นเมื่อ February 20, 2012.
  4. Rizzo, Mario; Whitman, Douglas (2003). "The camel's nose is in the tent: rules, theories, and slippery slopes". UCLA Law Review. 51 (2): 539–592. สืบค้นเมื่อ 2017-03-18.
  5. Kelley, David (2014). The art of reasoning: an introduction to logic and critical thinking (4th ed.). New York London: W.W. Norton & Company, Inc. ISBN 978-0-393-93078-8.
  6. Haigh, Matthew; Wood, Jeffrey S.; Stewart, Andrew J. (July 2016). "Slippery slope arguments imply opposition to change" (PDF). Memory & Cognition (ภาษาอังกฤษ). 44 (5): 819–836. doi:10.3758/s13421-016-0596-9. ISSN 0090-502X. PMID 26886759.
  7. Groarke, Leo (1997). Good reasoning matters!: a constructive approach to critical thinking. Toronto New York: Oxford University Press. p. 246. ISBN 978-0-19-541225-3.
  8. Walton, Douglas (2015). "The basic slippery slope argument". Informal Logic. 35 (3): 273. doi:10.22329/il.v35i3.4286. SSRN 2655360.