เสียงจากฆาตกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสียงจากฆาตกร
กำกับปาร์ค จินยู
เขียนบทปาร์ค จินยู
นักแสดงนำโซล ยุงกู
คิม นัมจู
คิม ยังชอย
คัง ดองวอน
(เสียง)[1]
ผู้จัดจำหน่ายซีเจ เอนเตอร์เทนเมนต์
วันฉาย1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007
ความยาว122 นาที
ประเทศเกาหลีใต้
ภาษาเกาหลี
จีนกลาง
ข้อมูลจากสยามโซน

เสียงจากฆาตกร (อังกฤษ: Voice of a Murderer; ฮันกึล: 그놈 목소리) เป็นภาพยนตร์เกาหลีที่สร้างมาจากเรื่องจริง ออกฉายในปี ค.ศ. 2007

เนื้อเรื่อง[แก้]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1991 ฮัน ซังอู ลูกชายวัย 9 ขวบ เพียงคนเดียวของ ฮัน จุงแบ ผู้ประกาศข่าวภาคค่ำทางโทรทัศน์ชื่อดัง ได้หายตัวไปจากสนามเด็กเล่นใกล้บ้านอย่างลึกลับ จากนั้น ผู้ลักพาตัวได้โทรศัพท์ติดต่อเข้ามาเพียงขอเงินค่าไถ่เป็นจำนวน 100,000 ดอลลาร์ จุงแบ ไม่ให้ โอ จีซุน ภรรยาของเขาแจ้งความแก่ตำรวจ ด้วยคิดว่าตนเองสามารถจัดการได้ แต่เมื่อผ่านไปหลายวัน ทั้งคู่ก็เริ่มตึงเครียด ในที่สุด จีซุน ก็โทรแจ้งตำรวจ ทางตำรวจได้ส่งนักสืบคิมเข้ามาตามติดกับจุงแบ โดยซ่อนตัวในกระโปรงหลังรถในลานจอดรถ มีหลายต่อหลายครั้งที่เกือบจะตัวตัวคนร้ายได้ แต่ก็คลาดไปทุกครั้ง ทั้ง ๆ ที่ทางตำรวจมีเครื่องมือทันสมัยในการตามตัว เบาะแสเดียวของคนร้าย คือ เสียงที่โทรเข้ามารบกวนจิตใจของทั้งคู่ ซึ่งก็ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อเวลาผ่านไปจากวันเป็นสัปดาห์ จากสัปดาห์เป็นเดือน ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ก็ระหองระแหง ทั้งคู่พาลไปหมด ไม่เว้นแม้แต่ตำรวจที่คอยติดตาม และความศรัทธาในพระเจ้าก็ลดถอยลง การโทรเข้ามาของคนร้ายก็ปั่นป่วนทั้งคู่ได้เรื่อย ๆ จนกระทั่งเพิ่มจำนวนเงินเป็น 200,000 ดอลลาร์ ในที่สุดคนร้ายก็ได้เงินลอยนวลไป โดยที่ทั้งคู่ไม่มีโอกาสได้ลูกชายคืนกลับมาอีกเลย

เบื้องหลัง[แก้]

Voice of a Murderer เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากเรื่องจริงที่เกิดในปี ค.ศ. 1991 ของการหายตัวไปอย่างลึกลับของลูกชายเพียงคนเดียวของผู้ประกาศข่าวชื่อดังทางโทรทัศน์ภาคค่ำของเกาหลีใต้ ซึ่งเบาะแสเดียวของคนร้าย คือ เสียงที่โทรศัพท์เข้ามาในแต่ละครั้ง แม้จะได้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายแล้ว แต่ก็ไม่มีใครหาได้เจอ จนในที่สุด 44 วันผ่านไป มีผู้พบศพของเด็กข้างแม่น้ำในโซล ผลการชันสูตรพบว่า เด็กขาดอากาศหายใจตั้งแต่วันที่สองที่หายไปแล้ว โดยที่ไม่สามารถจับคนร้ายได้เลย

ซึ่งคดีนี้ คนร้ายได้โทรศัพท์เข้ามาทั้งสิ้น 80 กว่าครั้ง เป็นเสียงของชายอายุราว 30 ปี พูดด้วยสำเนียงโซลชัดเจน และมีท่าทางของผู้มีการศึกษา จนถึงปี ค.ศ. 2006 คดีก็หมดอายุความ รวมตำรวจที่เข้ามาสืบสวนในคดีนี้รวมทั้งหมดแสนกว่านาย มีการสอบปากคำของผู้ต้องสงสัยถึงกว่า 400 ราย[2][3]

อ้างอิง[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]