เสวาคราม

พิกัด: 20°44′10″N 78°39′45″E / 20.73611°N 78.66250°E / 20.73611; 78.66250
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสวาคราม
เมือง
อาทินิวาส ที่พำนักแรกของมหาตมา คานธี ที่อาศรมเสวาคราม
อาทินิวาส ที่พำนักแรกของมหาตมา คานธี ที่อาศรมเสวาคราม
เสวาครามตั้งอยู่ในรัฐมหาราษฏระ
เสวาคราม
เสวาคราม
เสวาครามตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เสวาคราม
เสวาคราม
พิกัด: 20°44′10″N 78°39′45″E / 20.73611°N 78.66250°E / 20.73611; 78.66250
ประเทศอินเดีย
รัฐมหาราษฏระ
อำเภอวรรธ
ประชากร
 (2011)
 • ทั้งหมด8,000 คน
เขตเวลาUTC+5:30 (IST)
PIN442 102
รหัสโทรศัพท์91 7152
ทะเบียนพาหนะMH-32
เว็บไซต์maharashtra.gov.in

เสวาคราม (อักษรโรมัน: Sevagram, แปลว่า: “เมืองแห่งการบริการรับใช้”) เป็นเมืองในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของอาศรมของมหาตมา คานธี และที่อยู่อาศัยของคานธีนับตั้งแต่ปี 1936 จนเสียชีวิตในปี 1948[1] อาศรมที่เสวาครามมีคสามสำคัญมากในฐานะที่พำนักของคานธี รองลงมาจากสาพรมตีอาศรม[2]

ชื่อเดิมของเสาวครามคือ เสคาว (Segaon) เดิมทีเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ห่างไป 8 กิโลเมตรจากนครวรรธ มหาตมา คานธี ได้ตั้งอาศรมขึ้นในบริเวณชายขอบของหมู่บ้าน[3] โดยมี เสฐ ชนมลาล พชัช แห่งวรรธ ผู้เป็นศิษย์ของคานธี เป็นผู้จัดสรรที่เดินขนาด 1.2 ตารางกิโลเมตรให้กับคานธีในการสร้างอาศรม [4]

เมื่อครั้งคานธีเริ่มต้นการเดินขบวนเกลือบาทยาตรในปี 1930 จากสาพรมตีอาศรมไปยังนครอัห์มดาบาดเพื่อทำสัตยาเคราะห์เกลือ เขาตัดสินใจจะไม่เดินทางกลับไปยังสาพรมตีอาศรม จนกว่าอินเดียจะได้รับเอกราช หลังถูกปล่อยจากการจำคุกนานกว่าสองปีจากการทำสัตยาเคราะห์เกลือ คานธีเดินทางไปทั่วอินเดีย และตัดสินใจเลือกหมู่บ้านหนึ่งในอินเดียตอนกลางเพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการทำงานของเขส[5] คานธีเดินทางเยือนวรรธในปี 1934 ด้วยคำเชิญของศิษย์ ชนมลาล พชัช และพักอยู่ที่บ้านบังกะโลของพชัชหลังหนึ่ง[6] ในนครวรรธ สลับกับที่อาศรมอีกแห่ง[7]

ในเดือนเมษายน 1936 คานธีได้ตั้งที่พำนักของตนขี้นในหมู่บ้านที่ในเวลานั้นชื่อ เสคาว (Segaon)[8] ในชนบทของวรรธ เขาเปลี่ยนชื่อหมู่บ้านนี้ใหม่เป็น เสวาคราม อันแปลว่า “สถานที่แห่งการบริการรับใช้” บ้านที่สร้างขึ้นที่นี่มีลักษณะเป็นบ้านแบบชาวบ้านทั่วไปในท้องถิ่น[9] ต่อมาที่พำนักขอวเขาและศิษย์ค่อน ๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นอาศรมของคานธี คานธีอาศัยอยู่ที่นี่กระทั่งเสียชีวิตในปี 1948

อ้างอิง[แก้]

  1. "The History of Sevagram Ashram". gandhiashramsevagram.org/. The Gandhi Ashram at Sevagram – Official website. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  2. "Sevagram | Wardha". Jamnalal Bajaj Foundation. สืบค้นเมื่อ 2022-09-15.
  3. Venugopal Maddipati, "Nothingness as Scaffolding for Being: Gandhi, Madeline Slade, Architecture and the Humanisation of Sacrifice's Massive Ecological Existence, Segaon, 1936–37" https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/00856401.2018.1433445
  4. "Paramdham Ashram". jamnalalbajajfoundation.org. The Jamnalal Bajaj Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 พฤษภาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2014.
  5. Venugopal Maddipati, "An Architecture of Finitude," Gandhi and Architecture: A Time for Low-Cost Housing (Oxon: Routledge, 2020): https://www.academia.edu/42743173/Gandhi_and_Architecture_A_Time_for_Low_Cost_Housing_The_Philosophy_of_Finitude_Forthcoming_July_2020_
  6. "Bajajwadi". jamnalalbajajfoundation.org. The Jamnalal Bajaj Foundation. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  7. Desai, Mahadev (1968). Day To Day With Gandhi. Wardha: Sarva Seva Sangh Prakashan. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  8. "About Sevagram". jamnalalbajajfoundation.org. The Jamnalal Bajaj Foundation. สืบค้นเมื่อ 17 June 2014.
  9. Venugopal Maddipati, "Architecture as Weak Thought: Gandhi Inhabits Nothingness," Marg volume on Gandhi and Aesthetics pp. 44-51 https://www.academia.edu/41833717/Architecture_as_Weak_Thought_Gandhi_Inhabits_Nothingness_Gandhi_and_Aesthetics

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]