เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ที่มองคนไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Misbehaving  
ผู้ประพันธ์ริขาร์ด เธเลอร์
ประเทศสหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
สำนักพิมพ์ดับเบิลยู ดับเบิลยู นอร์ทัน แอนด์ คอมพะนี
ไทย: Bookscape
ISBN978-0-393-08094-0 (ปกแข็ง)
ไทย: ISBN 9786168221105

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม: เศรษฐศาสตร์แนวใหม่ที่มองคนไปไกลกว่าสัตว์เศรษฐกิจ (อังกฤษ: Misbehaving: The Making of Behavioral Economics) เป็หนนังสือโดยริชาร์ด เธเลอร์ นักเศรษฐศาสตร์แบะศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยธุรกิจบูธ มหาวิทยาลัยชิคาโก[1] ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 2017[2]

หนังสือมีเนื้อหาเกี่ยวกับงานของเธเลอร์ในฐานะนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมในการพยายามนำเสนอมุมมองใหม่ว่ามนุษย์สามารถพกพาอคติทางพฤติกรรม (behavioral biases), ง่ายต่อการทำผิดพลาด (error prone) และไม่ได้มีเหตุผลตลอดเวลา มุมมองเหล่านี้ต่อยอดจากหนังสือเล่มก่อนหน้าของเขา Nudge ซึ่งตีพิมพ์ในปี 2008

ในหนังสือ เธเลอร์ยังได้อธิบายถึงการนำการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์พฤติกรรมมามองในสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่การเงินครัวเรือน, รายการโทรทัศน์ ไปจนถึงการสุ่มลีกฟุตบอล และธุรกิจดิสรัปทีฟที่เกิดใหม่อย่างอูเบอร์[3]

หนังสือตีพิมพ์เป็นภาษาไทยในปี 2019 ผลงานแปลโดยศรพล ตุลยะเสถียร และ พิมพัชรา กุศลวิทิตกุล

อัางอิง[แก้]

  1. Knee, Jonathan A. (5 May 2015). "In 'Misbehaving,' an Economics Professor Isn't Afraid to Attack His Own" – โดยทาง www.nytimes.com.
  2. "Press Release".
  3. Thaler, Richard H. (9 October 2017). "Misbehaving: The Making of Behavioral Economics". W.W. Norton – โดยทาง Google Books.

แม่แบบ:โครงหนังสือ