เวลาเฉลี่ยท้องถิ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กราฟแสดงสมการเวลา แกนตั้งคือค่าความต่างระหว่างเวลาสุริยคติปรากฏ (เวลาบนนาฬิกาแดด) กับเวลาเฉลี่ยท้องถิ่น (แสดงด้วยนาฬิกามาตรฐาน) แกนนอนคือเวลาแต่ละวันในรอบปี

เวลาเฉลี่ยท้องถิ่น (local mean time) เป็นระบบเวลาแบบหนึ่งที่มีพื้นฐานจากเวลาสุริยคติซึ่งขึ้นกับตำแหน่งหรือลองจิจูดของพื้นที่ โดยกำหนดให้มีระยะห่างคงที่ตลอด

เวลาเฉลี่ยของท้องถิ่นถูกนำมาใช้ก่อนที่จะมีการกำหนดเขตเวลาขึ้นในต้นศตวรรษที่ 19 มันถูกนำไปใช้ในด้านดาราศาสตร์และการเดินเรือ[1]

เวลาสุริยะเฉลี่ยที่จุดและลองจิจูดอ้างอิง (เส้นเมอริเดียนอ้างอิง) บนพื้นโลกเรียกว่า เวลาสากล

การใช้งานในอดีต[แก้]

เวลาเฉลี่ยท้องถิ่นเริ่มใช้แทนเวลาสุริยคติท้องถิ่นและเวลานาฬิกาแดดในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 และเริ่มใช้มาจนกระทั่งเวลามาตรฐานถูกนำมาใช้ในแต่ละประเทศ แต่ละเมืองจะกำหนดเวลาเฉลี่ยในท้องถิ่นตามเส้นเมริเดียน ที่ผ่าน ส่งผลให้เวลาต่างกัน 4 นาทีสำหรับทุกองศาของลองจิจูด[2] เรื่องนี้กลายเป็นปัญหาขึ้นมาในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 หลังจากที่รถไฟจำเป็นต้องปรับเวลาให้ตรงกันในแต่ละสถานี และผู้คนจำเป็นต้องตั้งนาฬิกา (หรือนาฬิกาของโบสถ์) ให้ตรงกับตารางเวลา

เวลามาตรฐาน[แก้]

เวลามาตรฐาน หมายถึง เวลาที่ใช้ร่วมกันเป็นมาตรฐานเดียวกันภายในพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยปกติจะถูกกำหนดให้หักลบจากเวลามาตรฐานกรีนิช หรือใช้เวลาเฉลี่ยท้องถิ่นของเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค ความแตกต่างระหว่างเวลาเฉลี่ยท้องถิ่นกับเวลาสุริยคติท้องถิ่นเรียกว่า สมการเวลา

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Urban, Sean E.; Seidelmann, P. Kenneth (2013). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac (3rd ed.). Mill Valley, CA: University Science Books. pp. 13, 231, 239.
  2. Finch, Vernor C., Glenn T. Trewartha, M. H. Shearer, and Frederick L. Caudle (1943). Elementary Meteorology. McGraw-Hill Book Company, Inc. p. 17. ASIN B005F644PG.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)