ข้ามไปเนื้อหา

เล็บเหยี่ยว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล็บเหยี่ยว
ใบและผล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Rosales
วงศ์: Rhamnaceae
สกุล: Ziziphus
สปีชีส์: Z.  oenoplia
ชื่อทวินาม
Ziziphus oenoplia
(L.) Mill.
ชื่อพ้อง
  • Rhamnus oenoplia L.

เล็บเหยี่ยว (อังกฤษ: Jackal Jujube, Small-fruited Jujube หรือ Wild Jujube) เป็นพืชดอกในวงศ์พุทราที่มีการกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนของเอเชียและออสเตรเลีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีก ได้แก่ หนามเล็บเหยี่ยว เล็ดเหยี่ยว หมากหนาม พุทราขอ ตาฉู่แม ไลชูมี มะตันขอ แสงคำ เล็บแมว[1][2]

ลักษณะ

[แก้]

เล็บเหยี่ยวเป็นไม้พุ่มสูง 0.5-2 เมตร ลำต้นมีหนามโค้งลง ใบเดี่ยว ออกสลับ รูปไข่หรือรูปขอบขนาน ขอบใบหยักซี่ฟัน ปลายใบแหลม ยาว 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.8-3 เซนติเมตร ผิวใบมีขนประปราย ผิวใบด้านล่างมีขนหนาแน่นบริเวณเส้นใบ ดอกช่อแบบช่อกระจุก ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมกันที่ฐานเป็นจานฐานดอก ปลายแยกเป็น 5 แฉก แต่ละแฉกรูปสามเหลี่ยม ยาว 1-1.5 มิลลิเมตร กว้าง 0.8-1 มิลลิเมตร ผิวด้านนอกมีขน กลีบดอก รูปช้อน ยาว 0.8-1 มิลลิเมตร กว้าง 0.2-0.5 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน ออกสลับกับกลีบเลี้ยง เกสรเพศผู้ มี 5 อัน ก้านชูเกสรแบน ยาว 0.5-0.8 มิลลิเมตร เกสรเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ รูปค่อนข้างกลม ยาว 0.3-0.8 มิลลิเมตร สีเขียว ไม่มีก้านชูเกสร ยอดเกสรกลมมี 2 พู สีม่วง ผลแบบผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง รูปกลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-5 มิลลิเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีม่วงเข้ม-ดำ[1]

การใช้ประโยชน์

[แก้]

ผลใช้รับประทานเป็นผลไม้[3]เปลือกลำต้นมีแทนนิน 12% ใช้ฟอกย้อมหนังในอินเดีย รากใช้แก้อาการเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ในอินเดียนิยมปลูกเป็นรั้ว[4]


การกระจายพันธุ์และถิ่นอาศัย

[แก้]

มีการกระจายพันธุ์จากอนุทวีปอินเดียไปทางใต้ของประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถึงทางเหนือของประเทศออสเตรเลีย[5] พบในป่าเต็งรังและป่าคืนสภาพ

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 เล็บเหยี่ยว ศูนย์ข้อมูลพืช สำนักวิชาการ-วิจัย องค์การสวนพฤกษศาสตร์
  2. Ziziphus oenoplia[ลิงก์เสีย] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย
  3. อรทัย เนียมสุวรรณ นฤมล เล้งนนท์ กรกนก ยิ่งเจริญ พัชรินทร์ สิงห์ดำ. 2555. พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของพืชกินได้จากป่าชายเลนและป่าชายหาดบริเวณเขาสทิงพระ จังหวัดสงขลา[ลิงก์เสีย]. วารสารวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 40 (3): 981 - 991
  4. พีรศักดิ์ วรสุนทโรสถ และคณะ. ทรัพยากรพืชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3: พืชให้สีย้อมและแทนนิน. กทม. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย. 2544.หน้า 167 – 168
  5. Ara et al. (2008).
  • Ara, Hosne; Hassan, Md. Abul; & Khanam, Mahbuba (June 2008). "Taxonomic study of the genus Ziziphus Mill. (Rhamnaceae) of Bangladesh". Bangladesh Journal of Plant Taxonomy. 15 (1): 47–61.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Kuvar, Sachin D.; & Bapat, U.C. (2010). "Medicinal plants used by Kokani tribals of Nasik district Maharashtra to cure cuts and wounds" (PDF). Indian Journal of Traditional Knowledge. 9 (1): 114–115.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • Sunit Suksamrarn, Narisara Suwannapoch, Natthachai Aunchai, Mayuso Kuno, Piniti Ratananukul, Rachada Haritakun, Chawewan Jansakul & Somsak Ruchirawat (January 2005). "Ziziphine N, O, P and Q, new antiplasmodial cyclopeptide alkaloids from Ziziphus oenoplia var. brunoniana". Tetrahedron. 61 (5): 1175–1180. doi:10.1016/j.tet.2004.11.053.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  • "Ziziphus oenoplia ". Ayurvedic medicinal plants. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2010. สืบค้นเมื่อ 2 November 2010.
  • "Ziziphus oenoplia ". GRIN taxonomy for plants. United States Department of Agriculture. 2010-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2 November 2010.
  • "Ziziphus oenoplia ". Myanmar Medicinal Plant Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 July 2011. สืบค้นเมื่อ 2 November 2010.