เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม สัญลักษณ์ คือ ℓ (Azimuthal quantum number หรือ Orbital angular momentum quantum number) เป็นเลขควอนตัมสำหรับวงโคจรของอะตอม ที่ใช้บอกโมเมนตัมเชิงมุมสำหรับการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียสและใช้บอกรูปร่างของออร์บิทัลที่อิเล็กตรอนนั้นครอบครองอยู่ เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุมเป็นเลขอันดับ 2 ในชุดของเลขควอนตัม ซึ่งเลขควอนตัมนี้เป็นเลขที่อธิบายสถานะควอนตัมของอิเล็กตรอน เลขควอนตัม ประกอบด้วย เลขควอนตัมหลัก (Principal quantum number) เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม (Azimuthal quantum number) เลขควอนตัมแม่เหล็ก (Magnetic quantum number) และเลขควอนตัมสปิน (Spin quantum number)
โมเมนตัมเชิงมุม (L) ของอิเล็กตรอนในอะตอม มีความสัมพันธ์กับเลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม (ℓ) ดังสมการ
โดยที่
ħ คือ ค่าคงตัวของพลังค์แบบลดค่า
L2 คือ ตัวดำเนินการโมเมนตัมเชิงมุม
คือ ฟังก์ชันคลื่นของอิเล็กตรอน
เลขควอนตัมโมเมนตัมเชิงมุม บอกให้ทราบถึงจำนวนและชนิดของระดับพลังงานย่อย (subshell) ทำให้ทราบว่ามีจำนวนออร์บิทัลเท่าใด และเมื่อทราบจำนวนออร์บิทัลจะทราบว่าแต่ละออร์บิทัลทำมุมกันเท่าใด จึงทราบว่ารูปร่างของกลุ่มออร์บิทัลเป็นแบบใด ค่า ℓ ขึ้นกับเลขควอนตัมหลัก (n) มีค่าเป็นจำนวนเต็มบวกเสมอ (ℓ = 0, 1, 2, … ถึง n-1)

ℓ | Letter | Max electrons | Shape | Name |
---|---|---|---|---|
0 | s | 2 | sphere | sharp |
1 | p | 6 | two dumbbells | principal |
2 | d | 10 | four dumbbells or unique shape one | diffuse |
3 | f | 14 | eight dumbbells or unique shape two | fundamental |
4 | g | 18 | ||
5 | h | 22 | ||
6 | i | 26 |
ตัวอักษรภาษาอังกฤษ s, p, d, f ที่เป็นชื่อออร์บิทัล มาจากการสังเกตเส้นสเปกตรัม ซึ่งบางเส้นคมชัด (shape) บางเส้นเข้มจึงน่าจะเป็นเส้นหลัก (principle) บางเส้นพร่า (diffuse) บางเส้นพบบ่อย ๆ หรือพบได้ง่าย (fundamental) ต่อมาจึงเรียงตามตัวอักษรเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ อักษรตัวถัดจาก f คือ g ดังนั้นถ้าในอนาคตเราพบธาตุในออร์บิทัลใหม่ก็จะให้ชื่อต่อจาก f คือ g, h, I, j, ….