เรือตรวจการณ์ชั้นเคคา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พาโทรลลอนช์ 63 เข้าสู่กำบังไต้ฝุ่นจ่างโจว ในปี ค.ศ. 2008
ภาพรวมชั้น
ชื่อ: เรือตรวจการณ์ชั้นเคคา
ผู้สร้าง: อู่ต่อเรือไฉลี่ จำกัด ฮ่องกง
ผู้ใช้งาน: ตำรวจฮ่องกง
ก่อนหน้าโดย: ดาเมน เอ็มเค1
สร้างเมื่อ: ค.ศ. 2000–2005
ในประจำการ: ค.ศ. 2002–2005
เสร็จแล้ว: 6 ลำ
ใช้การอยู่: 6 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือตรวจการณ์ชายฝั่ง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 110 ตัน
ความยาว: 31 m (102 ft)
กินน้ำลึก: 1.8 m (5.9 ft)
ระบบขับเคลื่อน: โคแดด: 1 เอ็มทียู 8วี2000เอ็ม60 ลอยเทอร์ดีเซล, 1 วอเตอร์เจ็ท, 400 กิโลวัตต์ (540 เบรกฮอร์สพาวเวอร์); 2 เอ็มทียู 12วี396ทีอี84 ดีเซลหลัก, 2 เพลา, 1,500 กิโลวัตต์ (2,000 เบรกฮอร์สพาวเวอร์);
ความเร็ว: 27 นอต (50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 31 ไมล์ต่อชั่วโมง)
พิสัยเชื้อเพลิง: 1,500 ไมล์ทะเล (2,800 กม.; 1,700 ไมล์)
อัตราเต็มที่: 13 นาย

เรือตรวจการณ์ชั้นเคคา (อังกฤษ: Keka-class patrol boat) เป็นเรือที่ได้รับการออกแบบโดยบริษัทส่วนบุคคล เอเอสซี (ชื่อเดิมคือออสเตรเลียน ซับมารีน คอร์ปอเรชั่น) แต่เดิมสำหรับราชนาวีไทย (3 ลำ) ส่วนชุดที่สองได้รับการออกแบบมาสำหรับตำรวจน้ำฮ่องกง (6 ลำ)

ราชนาวีไทย[แก้]

บริษัทเอเอสซีของออสเตรเลีย และบริษัทซิลค์ไลน์อินเตอร์เนชันแนลของไทย ได้ก่อตั้งกิจการร่วมค้าเพื่อสร้างเรือตรวจการณ์ชั้นเคคาสามลำสำหรับราชนาวีไทย ณ อู่เรือซิลค์ไลน์ ที่ปากน้ำปราณ เทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ ประเทศไทย[1]

ซีรีส์ ที.81[แก้]

เรือชั้นเคคาสำหรับราชนาวีไทยได้รับการกำหนดให้เป็นซีรีส์ ที.81 และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:[2]

  • ขนาด (ระวางขับน้ำ): โหลดปกติ 95 ตัน; โหลดเต็ม 110 ตัน
  • ยุทโธปกรณ์: โบฟอร์ส 40/60 มม.; เออร์ลิคอน แกม-ซี01 ขนาด 20 มม., ปืนกลขนาดลำกล้อง 0.50 นิ้ว จำนวน 2 กระบอก
  • เครื่องยนต์หลัก: เอ็มทียู 16วี2000 ทีอี90 จำนวน 2 เครื่อง
  • เรดาร์: อันริทสึ

ตำรวจน้ำฮ่องกง[แก้]

ตำรวจน้ำฮ่องกงมีโครงการที่จะแทนที่เรือตรวจการณ์ 35 ลำที่เคยส่งมอบระหว่างปี ค.ศ. 1980 ถึง ค.ศ. 1992 ชุดแรกที่จะถูกแทนที่คือชั้นดาเมน เอ็มเค1 ซึ่งชั้นเคคาที่ออกแบบโดยบริษัทเอเอสซีได้รับเลือก พวกมันได้รับการสร้างโดยอู่ต่อเรือไฉลี่ในฮ่องกง และในอู่เรือของพวกเขาในจีนแผ่นดินใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 2000 ถึง ค.ศ. 2005 พวกมันได้รับการสั่งซื้อเป็นสองชุดของเรือสองและสี่ลำ[3]

เรือ[แก้]

เรือ การมอบส่ง ผู้สร้าง เจ้าของ คำอธิบาย
ประเทศไทย
ที.81 4 สิงหาคม ค.ศ. 1999 เอเอสซี / ซิลค์ไลน์ เจวี ราชนาวีไทย
ที.82 9 ธันวาคม ค.ศ. 1999 เอเอสซี / ซิลค์ไลน์ เจวี ราชนาวีไทย
ที.83 27 ตุลาคม ค.ศ. 2000 เอเอสซี / ซิลค์ไลน์ เจวี ราชนาวีไทย
ฮ่องกง
พีแอล60 ตุลาคม ค.ศ. 2002 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง ตามการแถลงข่าวตำรวจน้ำฮ่องกง[4]
พีแอล61 ตุลาคม ค.ศ. 2002 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง
พีแอล62 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง ตามการแถลงข่าวตำรวจน้ำฮ่องกง[5]
พีแอล63 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง
พีแอล64 ค.ศ. 2005 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง วันที่ส่งมอบสันนิษฐานจากการอ้างอิง[6]
พีแอล65 ค.ศ. 2005 อู่ต่อเรือไฉลี่ ตำรวจน้ำฮ่องกง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Australian ship builder to build landing craft for Royal Thai Navy". Pattaya Mail. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  2. "Royal Thai Navy Ship Specification; Thai Navy's warships". Thai Armed Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-17. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  3. "Hong Kong (Hong Kong), The market – Australasia and East Asia". Janes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  4. "New launches boost operational efficiency of marine police". Hong Kong Police. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  5. "New launches boost operational efficiency of marine police". Hong Kong Police. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.
  6. "Hong Kong (Hong Kong), The market – Australasia and East Asia". Janes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]