ข้ามไปเนื้อหา

เราะฟะห์

พิกัด: 31°16′21″N 34°15′31″E / 31.27250°N 34.25861°E / 31.27250; 34.25861
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เราะฟะห์
การถอดเสียงภาษาอาหรับ
 • อาหรับرَفَح
ภาพถ่ายทางอากาศของเราะฟะห์ใน ค.ศ. 2012
ภาพถ่ายทางอากาศของเราะฟะห์ใน ค.ศ. 2012
ที่ตั้งของเราะฟะห์ในฉนวนกาซา
ที่ตั้งของเราะฟะห์ในฉนวนกาซา
เราะฟะห์ตั้งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์
เราะฟะห์
เราะฟะห์
ที่ตั้งของเราะฟะห์
พิกัด: 31°16′21″N 34°15′31″E / 31.27250°N 34.25861°E / 31.27250; 34.25861
ตารางปาเลสไตน์77/78
รัฐ ปาเลสไตน์[1]
เขตผู้ว่าการเราะฟะห์[1]
การปกครอง
 • ประเภทนคร
 • หัวหน้าเทศบาลAnwar al-Shaer (2019)[2]
พื้นที่[3]
 • ทั้งหมด64,000 ดูนัม (64 ตร.กม. หรือ 25 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2017)[4]
 • ทั้งหมด171,899 คน
 • ความหนาแน่น2,700 คน/ตร.กม. (7,000 คน/ตร.ไมล์)

เราะฟะห์ (อาหรับ: رفح, ออกเสียง: [rafaħ]) เป็นนครในฉนวนกาซาตอนใต้ของรัฐปาเลสไตน์ที่เป็นเมืองหลักของเขตผู้ว่าการเราะฟะห์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครกาซา 30 กิโลเมตร (19 ไมล์) ใน ค.ศ. 2017 เราะฟะห์มีประชากร 171,889 คน[4] ณ เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 มีประชากรที่เชื่อว่าลี้ภัยอยู่ที่เราะฟะห์ประมาณ 1.4 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากการทิ้งระเบิดครั้งใหญ่และการโจมตีภาคพื้นดินที่นครกาซากับคอนยูนิสโดยอิสราเอลในช่วงสงครามอิสราเอล–ฮะมาส[5]

หลังสงครามปาเลสไตน์ ค.ศ. 1948 อียิปต์ปกครองพื้นที่และจัดตั้งค่ายผู้ลี้ภัยของชาวปาเลสไตน์พลัดถิ่น ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ กองกำลังป้องกันอิสราเอลสังหารชาวปาเลสไตน์ 111 คน รวมผู้ลี้ภัยในค่ายผู้ลี้ภัยเราะฟะห์ 103 คนในช่วงการสังหารหมู่เราะฟะห์ ค.ศ. 1956 จากนั้นในช่วงสงครามหกวันใน ค.ศ. 1967 กองทัพอิสราเอลเข้าครอบครองคาบสมุทรไซนายและฉนวนกาซาจากอียิปต์ และในปีเดียวกันก็ทำการรื้อทำลายบ้าน 144 แห่งในค่ายผู้ลี้ภัยเราะฟะห์ ทำให้ชาวปาเลสไตน์เสียชีวิต 23 คน[6]

เมื่ออิสราเอลถอนทัพจากไซนายใน ค.ศ. 1982 นครเราะฟะห์จึงถูกแบ่งออกเป็นส่วนกาซากับส่วนอียิปต์ ครอบครัวถูกแบ่งแยกด้วยกำแพงลวดหนาม[7][8] ใจกลางนครถูกทางอิสราเอล[9][10][11] และอียิปต์ทำลาย[12][13] เพื่อสร้างเขตกันชนขนาดใหญ่

เราะฟะห์เป็นที่ตั้งของด่านชายแดนเราะฟะห์ ด่านชายแดนแห่งเดียวระหว่างอียิปต์กับฉนวนกาซา ท่าอากาศยานนานาชาติยัสเซอร์ อาราฟัต ท่าอากาศยานแห่งเดียวของกาซา ตั้งอยู่ทางใต้ของนครนี้ ท่าอากาศยานนี้เปิดใช้งานใน ค.ศ. 1998 จนถึง 2001 เมื่อบริเวณนี้ถูกทิ้งระเบิดและรื้อทำลายโดยกองทัพอิสราเอล (ไอดีเอฟ)[14][15]

ศัพทมูลวิทยา[แก้]

r
Z1
pwbH
mDAt
xAst
rpwḥw[16]
สมัย: ราชอาณาจักรใหม่
(1550–1069 BC)
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

นครนี้เป็นที่รู้จักด้วยชื่อต่าง ๆ ตามยุคสมัย โดยชาวอียิปต์โบราณรู้จักกันในชื่อ Rpwḥw[16] ชาวอัสซีเรียรู้จักกันในชื่อ 𒊏𒉿𒄭 Rapiḫi หรือ 𒊏𒉿𒄷 Rapiḫu[17] ชาวอิสราเอลโบราณรู้จักกันในชื่อ רפיח Rāphiyaḥ ชาวกรีกรู้จักกันในชื่อ Ῥαφία Rhaphíā[18] ชาวโรมันรู้จักกันในชื่อ Raphia และรัฐเคาะลีฟะฮ์อาหรับรู้จักกันในชื่อ Rafh

ภูมิอากาศ[แก้]

การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพินจัดให้นครนี้มีสภาพภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตร้อน (BSh)[19][20]

ข้อมูลภูมิอากาศของเราะฟะห์ ฉนวนกาซา
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 17.4
(63.3)
18.1
(64.6)
20.5
(68.9)
23
(73)
25.8
(78.4)
28.3
(82.9)
29.6
(85.3)
30.5
(86.9)
29.1
(84.4)
27.6
(81.7)
23.8
(74.8)
19.4
(66.9)
24.43
(75.97)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 12.9
(55.2)
13.6
(56.5)
15.6
(60.1)
18.1
(64.6)
20.9
(69.6)
23.6
(74.5)
25.2
(77.4)
26
(79)
24.7
(76.5)
22.6
(72.7)
18.7
(65.7)
14.8
(58.6)
19.73
(67.51)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 8.4
(47.1)
9.1
(48.4)
10.8
(51.4)
13.3
(55.9)
16.1
(61)
19
(66)
20.9
(69.6)
21.6
(70.9)
20.3
(68.5)
17.6
(63.7)
13.7
(56.7)
10.2
(50.4)
15.08
(59.15)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 48
(1.89)
36
(1.42)
27
(1.06)
6
(0.24)
4
(0.16)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
8
(0.31)
39
(1.54)
53
(2.09)
221
(8.7)
แหล่งที่มา: Climate-Data.org (ความสูง: 45 เมตร)[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "PS – Palestine, State of". ISO – Online Browsing Platform. International Organization for Standardization. สืบค้นเมื่อ 15 March 2024.
  2. "Palestinians criticize Hamas' decision to appoint municipal presidents – Al-Monitor: The Pulse of the Middle East". November 2019.
  3. Al Jazeera Staff. "What's happening in Gaza's Rafah as Israel threatens to attack?". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-02-16.
  4. 4.0 4.1 Preliminary Results of the Population, Housing and Establishments Census, 2017 (PDF). Palestinian Central Bureau of Statistics (PCBS) (Report). State of Palestine. February 2018. pp. 64–82. สืบค้นเมื่อ 2023-10-24.
  5. "Gaza: Israel's military operation in Rafah would be fatal for displaced civilians and humanitarian aid". Norwegian Refugee Council. 8 February 2024. สืบค้นเมื่อ 8 February 2024.
  6. Cattan, Henry (1969) Palestine, The Arabs & Israel. The Search for Justice. Longman SBN 582 78000 4 p. 111
  7. Usher, Graham (22 September 2005). "Cinderella in Rafah". Al-Ahram Weekly Online. No. 761, 22–28 September 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2005. สืบค้นเมื่อ 9 November 2015 – โดยทาง Wayback Machine.
  8. Kliot, Nurit (1995). Schofield, Clive (บ.ก.). The Evolution of the Egypt-Israel Boundary: From Colonial Foundations to Peaceful Borders (PDF). Boundary and Territory Briefing. Vol. 1. International Boundaries Research Unit, Department of Geography, University of Durham. pp. 3, 9, 18. ISBN 1-897643-17-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 August 2021. สืบค้นเมื่อ 27 November 2023 – โดยทาง www.durham.ac.uk.
  9. Razing Rafah — Mass Home Demolitions in the Gaza Strip, pp. 27–28 and 52–66 (PDF text version) on [1], Summary:. The report on refworld:. Human Rights Watch (HRW), October 2004
  10. Supplementary Appeal for Rafah. UNWRA, May 2004
  11. PCHR, Uprooting Palestinian Trees And Leveling Agricultural Land – The tenth Report on Israeli Land Sweeping and Demolition of Palestinian Buildings and Facilities in the Gaza Strip 1 April 2003 – 30 April 2004 On [2]
  12. Egyptian military doubling buffer zone with Gaza, demolishing nearly 1,220 more homes. Associated Press, 8 January 2015
  13. Look for Another Homeland. Human Rights Watch, September 2015
  14. "Grounded in Gaza, but hoping to fly again". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 2005-05-19. สืบค้นเมื่อ 2024-03-22.
  15. "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 2024-03-22.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  16. 16.0 16.1 Gauthier, Henri (1926). Dictionnaire des Noms Géographiques Contenus dans les Textes Hiéroglyphiques. Vol. 3. p. 118.
  17. Parpola, Simo (1970). Neo-Assyrian Toponyms. Kevaeler: Butzon & Bercker. p. 291.
  18. Polybius, Histories, 5.86.7
  19. 19.0 19.1 "Climate: Rafiah – Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.
  20. 20.0 20.1 "Climate: Rafah – Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-23. สืบค้นเมื่อ 2014-02-21.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]