เมหรานครห์

พิกัด: 26°17′53″N 73°01′08″E / 26.29806°N 73.01889°E / 26.29806; 73.01889
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมหรานครห์
โชธปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย
ป้อมเมหรานครห์
เมหรานครห์ตั้งอยู่ในรัฐราชสถาน
เมหรานครห์
เมหรานครห์
เมหรานครห์ตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
เมหรานครห์
เมหรานครห์
พิกัด26°17′53″N 73°01′08″E / 26.29806°N 73.01889°E / 26.29806; 73.01889
ประเภทFort
ข้อมูล
ควบคุมโดยคช สิงห์
เปิดสู่
สาธารณะ
ใช่
ประวัติศาสตร์
สร้างโดยราชวงศ์ราฐูร รัฐโชธปุระ

ป้อมเมหรานครห์ (อังกฤษ: Mehrangarh Fort) เป็นป้อมขนาด 1,200 เอเคอร์ ตั้งอยู่ในโชธปุระ รัฐราชสถาน ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่บนยอดเขา สูงราว 122 เมตรเหนือพื้น[1] ป้อมสร้างขึ้นใน ป. 1459 โดยผู้นำราชปุต ราว โชธ ส่วนสิ่งปลูกสร้างส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบัน มาจากศตวรรษที่ 17 ภายในขอบเขตของป้อมยังปรเกอบด้วยพระราชวังจำนวนมากที่เป็นที่รู้จักจากงานแกะสลักและลานกว้างภายใน บนผนังของประตูที่สองของป้อมยังสามารถพบร่องรอยลูกปืนใหญ่จากกองทัพของรัฐชัยปุระที่มาตีป้อมในอดีต ทางตะวันออกเฉียงเหนือของป้อมยังมี ฉัตรี ระลึกถึงกีรัต สิงห์ โสทะ (Kirat Singh Soda) ซึ่งเป็นทหารที่เสียชีวิตขณะพยายามป้องกันป้อมอยู่ตรงจุดนั้น

ป้อมประกอบด้วยเจ็ดประตู ซ่งรวมถึง ชัยโปล (ประตูชัยชนะ) สร้างขึ้นโดยมหาราชา มาน สิงห์ เพื่อฉลองชัยชนะเหนือกองทัพชัยปุระ และกองทัพพิกาเนร์ เมื่อปี 1806 ส่วนฟัตเตหโปล (Fattehpol; ประตูชัยชนะ เช่นกัน) สร้างขึ้นเพื่อฉลองชัยชนะของมหาราชาอาชีต สิงห์ เหนือจักรวรรดิโมกุล คำว่าเมหรานครห์ มาจากคำภาษสันสกฤต 'มิหิร' (Mihir) พระอาทิตย์ หรือเทพพระอาทิตย์ กับ 'ครห์' แปลว่าป้อม แปลรวมกันว่า "ป้อมพระอาทิตย์" ตามระบบการรวมคำและออกเสียงภาษาราชสถาน ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่น 'มิหิรครห์' กลายเป็น 'เมหรานครห์' เทพพระอาทิตย์นี้เป็นเทพประจำตระกูลของราฐูร[2] ถึงแม้จะเริ่มสร้างป้อมในปี 1459 โดย ราว โชธ ปฐมราชาแห่งโชธปุระ แต่ส่วนใหญ่ของป้อมในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยของมหาราชาชัสวันต์ สิงห์ (1638–78)

ประวัติศาสตร์[แก้]

ราว โชธ ผู้นำแห่งราชวงศ์ราฐูร (Rathore clan) เป็นผู้ที่ถือกันว่าเป็นผู้ริเริ่มการตั้งนครโชธปุระ[3] เขาสร้างเมืองโชธปุระขึ้นในปี 1459 เพื่อเป็นราชธานีของมาร์วาร์ (Marwar) ที่ซึ่งมานเทาร์เป็นราชธานีแห่งเดิม ราว โชธ เป็นหนึ่งในบุตร 24 คนของรันมัล ผู้นำคนที่สิบห้าของราฐูร หนึ่งปีหลังขึ้นปกครอง โชธตัดสินใจย้ายราชธานีไปยังโชธปุระที่ปลอดภัยขึ้น เนื่องจากป้อมของมานเทาร์อันเดิมนั้นอายุราวพันปี ไม่เพียงพอต่อการให้ความปลอดภัย

ป้อมโชธปุระเริ่มตั้งขึ้นโดยราว นารา (Rao Nara) บุตรของ ราว สามรา (Rao Samra) รากฐานของป้อมตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1459[4] ในการก่อสร้างป้อม ยังได้ฝังมนุษย์ทั้งเป็นตรงจุดที่สร้างป้อมเนื่องจากเชื่อว่าเป็นมงคลแก่ป้อม ผู้ที่ถูกฝังคือชายวรรณะเมฆวาลนามว่า "ราช ราม เมฆวาล" (Raja Ram Meghwal) ซึ่งยินดีที่จะถูกฝังด้วยตนเอง และราชวงศ์ราฐูรก็ให้คำสัญญาว่าจะดูแลครอบครัวของเมฆวาลต่อ

อ้างอิง[แก้]

  1. "History - Mehrangarh Museum Trust".
  2. MrYashwant Singh, an official guide to the Fort.
  3. Vyas, S.P. (2007). "Water supply system in the fort of Jodhpur". Proceedings of the Indian History Congress. 68: 1423. JSTOR 44145652.
  4. Mehrangarh Fort-Jodhpur เก็บถาวร 20 พฤศจิกายน 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน