ข้ามไปเนื้อหา

เมริตเทสที่ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมริตเตส ในไฮเออโรกลีฟ
mr
r
t
t
f
s

เมริตเตส (Merit ites)
Mrj.t jt=s
ผู้เป็นที่รักของพระบิดา[1]

เมริตเตสที่หนึ่ง เป็นพระมเหสีและสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วงราชวงศ์ที่สี่ พระนามของพระองค์หมายถึง "ผู้เป็นที่รักของพระบิดา" หลายพระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักจากแผ่นหินสลักที่พบในกีซา พระองค์ถูกฝังอยู่ในพีระมิดของพระราชินีในกิซ่า (พีรามิด จี 1บี)

พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์สเนฟรู พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับพระเชษฐา (ร่วมพระบิดา) ฟาโรห์คูฟู[2] พระองค์เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายกาวาบ (มกุฎราชกุมาร) และอาจจะเป็นมารดาของฟาโรห์ดเจดีเฟร[3] รวมทั้งสมเด็จพระราชินีเฮเตเฟอร์เรสที่สอง และฟาโรห์คาเฟร ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นพระราชบุตรและธิดาของพระองค์กับฟาโรห์คูฟูเช่นกัน[4] และเป็นไปได้ว่าพระนางเมริตเตสที่สอง เป็นพระราชธิดาของพระองค์เช่นกัน[5]

พีระมิด

[แก้]
ปิรามิดพระราชินี จี 1บี

ปิรามิด จี 1บี ถูกสันนิษฐานว่าเป็นสุสานของพระนางเมริตเตสที่หนึ่ง ปิรามิดของพระองค์ถูกสร้างขึ้นทางตอนใต้ของปิรามิดของฟาโรห์ แต่เหมืองหินที่ตั้งอยู่ทางใต้ของปิรามิดของฟาโรห์คูฟู ทำให้ตำแหน่งของปิรามิดเล็กๆ เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออก คุณเรสเนอร์สันนิษฐานว่าวางการก่อสร้างของปิรามิดของพระนางเมริตเตสที่หนึ่ง ในเมือ่ประมาณปีที่ 15 ของรัชสมัยของฟาโรห์คูฟู การก่อสร้างพีระมิดของพระองค์จะเริ่มขึ้นในไม่ช้าหลังจากการก่อสร้างปิรามิด จี 1เอ ปิรามิดพระองค์เป็นส่วนหนึ่งของทุ่งที่ราบกิซาซึ่งรวมถึงมาสตาบาบางส่วน[6]

ปิรามิด จี 1เอ (อยู่ทางตอนเหนือสุดของสามปิรามิดเล็ก ๆ ทางตะวันออกของมหาพีระมิดแห่งกิซ่า) เป็นที่แรกที่คิดว่าเป็นปิรามิดของพระนางเมริตเตสที่หนึ่ง แต่ในตอนนี้คิดว่าจะเป็นพระราชมารดาของฟาโรห์คูฟู พระนางเฮเตเฟอร์เรสที่หนึ่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้ปิรามิด จี 1บี ถูกคิดว่าเป็นหลุมฝังพระศพของพระนางเมริตเตสที่หนึ่ง มีวิหารในที่ฝังพระศพเล็ก ๆ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับหลุมเรือ เรือไม่พบในหลุมหินสำหรับเรืออย่างไรก็ดี[7] วิหารในที่ฝังพระศพได้รับการตกแต่งด้วยฉากต่างๆ เศษจากประตูหลอกและผนังถูกซ่อมแซมระหว่างการขุดค้น พระนามของพระองค์ถูกเก็บรักษาไว้ในส่วนที่ตอนนี้ในพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์บอสตัน นอกจากนี้ยังมีชิ้นส่วนสัตว์และเรือพาย[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Silke Roth: Die Königsmütter des Alten Ägypten von der Frühzeit bis zum Ende der 12. Dynastie (= Ägypten und Altes Testament 46). Harrassowitz, Wiesbaden 2001, ISBN 3-447-04368-7, page 354 - 358 & 388.
  2. Dodson, Aidan and Hilton, Dyan. The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson. 2004. ISBN 0-500-05128-3
  3. Joyce Tyldesley. Chronicle of the Queens of Egypt. Thames & Hudson. 2006. ISBN 0-500-05145-3
  4. Gundacker: Genealogie. S. 24–26
  5. Gizapyramids website เก็บถาวร 2008-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page for G 7650
  6. George Andrew Reisner, A History of the Giza Necropolis I, Cambridge: Harvard University Press, 1942, pp 70–74, retrieved from Giza Digital Library: History of the Giza Necropolis Series เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. Miroslav Verner. The Pyramids: The Mystery, Culture, and Science of Egypt's Great Monuments. Grove Press. 2001 (1997). ISBN 0-8021-3935-3
  8. Porter, Bertha and Moss, Rosalind, Topographical Bibliography of Ancient Egyptian Hieroglyphic Texts, Statues, Reliefs and Paintings, Volume III: Memphis, Part I Abu Rawash to Abusir. 2nd edition; revised and augmented by Dr Jaromir Malek, 1974. p. 16. Retrieved from gizapyramids.org.