เภกุลีวิยา
เภกุลีวิยา (อัสสัม: ভেকুলী বিয়া; Bhekuli Biya หรือชื่ออื่น มันทูกปรินัย; Mandooka Parinaya และ พางครพิเย; Banger Biye) หรือรู้จักในชื่อ งานแต่งงานกบ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิมที่มีที่มาจากรัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย[1] โดยปฏิบัติในระหว่างฤดูแล้งเพื่อเป็นพิธีเรียกฝน[2][3] ตามธรรมเนียมชาวอัสสัม มีมุขปาฐะว่าครั้งหนึ่งชาวนาเคยถามหมู่เมฆว่าทำไมไม่มีฝนเลย หมู่เมฆตอบว่าฝนไม่ตกเพราะกบไม่ร้อง ฤดูมรสุมถือเป็นฤดูหาคู่ของกบ และเมื่อกบร้องเพื่อหาคู่ก็จะทำให้มีฝน กบร้องจึงมีความสัมพันธ์กับการมีฝน[1]
พิธีกรรมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรมอัสสัม[4] และมีขึ้นเพื่อให้เทพเจ้าแห่งฝน พระวรุณ พึงพอใจและประทานฝนให้[5]
โดยทั่วไปผู้อาวุโสหรือนักบวชประจำหมู่บ้านจะเป็นผู้ประกอบพิธีนี้ กบสองตัวจะถูกจับมาทำความสะอาดและแต่งตัวด้วยชุดแต่งงานแบบธรรมเนียมของอัสสัม จับนั่งบนบัลลังก์และมัดเข้าด้วยกันโดยใช้ด้ายแดง จากนั้นนักบวชจะประกอบพิธีปูชาให้เทพเจ้าแห่งในอวยพร[6] จากนั้นจะนำผงสีแดงชาดมาป้ายบนหน้าผากของกบตัวเมียเพื่อเป็นการบ่งบอกว่ากบตัวนี้มีคู่ครองแล้ว[5] เมื่อสิ้นสุดพิธี กบทั้งสองจะนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำ และเชื่อกันว่ากบทั้งสองจะคงอยู่เป็นคู่กัน และถ้ามีฝนตามมาก็จะหมายความว่าเทพเจ้าแห่งฝนพึงพอใจ[5]
ศัพทมูล
[แก้]คำว่น "เภกุลี" เป็นคำภาษาอัสสัมแปลว่า กบ[7] "วียา" แปลว่าการแต่งงาน ชื่อเภกุลีวียาจึงแปลว่าการแต่งงานกบ[8]
พิธีหย่ากบ
[แก้]ระหว่างอุทกภัยใหญ่ในปี 2019 ในเมืองโภปาลได้มีการจัดพิธีหย่ากบขึ้นโดยใช้กบดินเผาสองตัวแยกออกจากกัน พิธีนี้จัดโดยกลุ่มฮินดูท้องถิ่น โอมศิวเสวศากติมณฑล (Om Shiva Sewa Shakti Mandal) โดยหวังว่าพิธีนี้จะทำให้ฝนลดน้อยลง[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Tanima. "India's Drought Terror And The Curious Case Of Frog Marriages". lifebeyondnumbers.com. สืบค้นเมื่อ September 8, 2023.
- ↑ Choudhury, Rabin Dev; Singh, Shri Bhagwan (1991). Aspects of History and Culture (ภาษาEnglish). Ramanand Vidya Bhawan. p. 60.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Datta, Bīrendranātha (1999). Folkloric Foragings in India's North-East (ภาษาEnglish). Anundoram Borooah Institute of Language, Art, and Culture. p. 32.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ Webdesk, Time8. "Frogs Married Off In Assam's Sivasagar To Please Rain Gods". Time8. สืบค้นเมื่อ September 8, 2023.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "Heat's on: Assam villagers hold 'frog wedding' to appease rain god". East Mojo. สืบค้นเมื่อ September 8, 2023.
- ↑ Dutta, Srishti B. "Locals Resort To Age-Old Tradition Of Frog Wedding To Get Respite From Heatwave In Assam". India Times.
- ↑ ""Bhuli " in Xobdo dictionary". xobdo.org. สืบค้นเมื่อ September 8, 2023.
- ↑ "Bhekuli biya or frog weddings". assaminfo.in.
- ↑ Jain, Sanya (September 13, 2019). "Weeks After Marriage To Please Rain God, Frogs Divorced To End Downpour". NDTV. สืบค้นเมื่อ July 31, 2024.