เพชรกาญจนาภิเษก
เพชรกาญจนาภิเษก | |
น้ำหนัก | 545.65 กะรัต (109.13 กรัม) |
---|---|
ลักษณะสีของเพชร | อำพันทอง |
รูปแบบเหลี่ยมเพชร | fire rose cushion cut |
สถานที่ค้นพบ | แอฟริกา |
แหล่งกำเนิด | เหมืองพรีเมียร์ |
วันที่ค้นพบ | 2528 |
ผู้เจียระไน | Gabriel Tolkowsky |
ผู้ค้นพบ | Henry Ho |
ผู้ครอบครอง | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
เพชรกาญจนาภิเษก (อังกฤษ: Golden Jubilee Diamond) เป็นเพชรเจียระไนขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีขนาดใหญ่กว่าคูลลิแนน 1 หรืออีกชื่อว่า ดาวใหญ่แห่งแอฟริกา ซึ่งเป็นเป็นอดีตเพชรเจียระไนขนาดใหญ่ที่สุดในปี พ.ศ. 2451 เพชรกาญจนาภิเษกเป็นเพชรสีน้ำตาลขนาดใหญ่ หนัก 755.5 กะรัต (151 กรัม) ได้มีการค้นพบปี พ.ศ. 2528 ในเหมืองพรีเมีรยร์ในประเทศแอฟริกาใต้ เพชรดังกล่าวภายหลังตัดให้เหลือน้ำหนัก 545.67 กะรัต (109.13 กรัม)
การค้นพบและผ่านขั้นตอน
[แก้]เพชรกาญจนาภิเษกค้นพบที่เหมืองพรีเมียร์ในประเทศแอฟริกา ทางตอนใต้ หนัก 545.67 กะรัต โดยมี Gabi Tolkowsky เป็นผู้เจียระไน จนได้เป็นเพชรที่มีเหลี่ยมเจียระไนที่สมบูรณ์ที่สุดคือ 148 เหลี่ยม โดยเป็นเหลี่ยมบนหน้าเพชร 55 เหลี่ยม เหลี่ยมด้านล่าง 69 เหลี่ยม และเหลี่ยมที่ขอบเพชร 24 เหลี่ยม รูปแบบการเจียระไน บันทึกจากการตรวจสอบโดย Tolkowsky describes ออกใบรับรองการเจียระไนรูปแบบ "fire rose cushion cut"
"สีน้ำตาลไม่มีชื่อ" (Unnamed Brown) เป็นชื่อแรกของเพชรนี้ ส่วนใหญ่ถูกมองว่าเป็นลูกเป็ดขี้เหร่ De Beers เป็นผู้มอบให้ Gabriel Tolkowsky ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอุปกรณ์พิเศษและวิธีการตัดซึ่งพัฒนาโดยตั้งใจให้ใช้กับเพชรเซนทานารี (Centenary) สีดี ("ไร้สี") ไร้ตำหนิ อุปกรณ์และวิธีการเหล่านี้ไม่เคยทดสอบมาก่อน จึงได้ทดลองกับเพชรนี้
การตัดและขัดเพชรนี้เป็นงานท้าทายเพราะพื้นผิวใหญ่ รอยแตกลึกจากข้างใน และอีกหลายสาเหตุประกอบกัน เพชรนี้ตัดในห้องใต้ดินที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้การสั่นสะเทือนภายนอกมารบกวน ในเวลาสองปีจึงจะทำให้เพชรมาอยู่ในสภาพปัจจุบันได้[1]
การทูลเกล้าถวายงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
[แก้]ในปี พ.ศ. 2539 บริษัท เดอเบียร์ ซึ่งนำมาแสดงที่งาน บีโอไอแฟร์ ในประเทศไทย ความงดงามของเพชร กาญจนาภิเษก ได้ถูกกลุ่มนักธุรกิจไทยมองเห็นคุณค่าของเพชรเม็ดนี้ และจ่ายเงินซื้อมาในราคาประมาณ 6 ล้านเหรียญสหรัฐ และเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองราชสมบัติครบ 50 ปี นักธุรกิจไทยจึงได้ร่วมใจน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมฯ ถวายเพชรกาญจนาภิเษกแก่พระองค์[2] แรกเรื่มได้มีแผนการว่าจะเชื่อมเพชรเข้ากับคทาหรือตราประจำพระองค์ แต่ก็ไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด[3] ปัจจุบัน เพชรกาญจนาภิเษกเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชกกุธภัณฑ์ที่พระบรมมหาราชวัง[4] มีมูลค่า 4-12 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-13. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
- ↑ เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ฉบับภาษาไทย ธันวาคม 2544 หน้า 34
- ↑ http://www.internetstones.com/golden-jubilee-diamond-famous-jewelry.html
- ↑ http://famousdiamonds.tripod.com/goldenjubileediamond.html
- ↑ http://crazytopics.blogspot.com/2007/02/10-largest-diamonds-in-world.html