ข้ามไปเนื้อหา

เบินดาฮารา ซากัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบินดาฮารา ซากัม
بندهار ساكم
เปองีรัน เบินดาฮารา
ประสูติราจา ซากัม
ฝังพระศพสุสานอิสลามตารัปเบอซาร์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน ประเทศบรูไน
พระนามเต็ม
ซากัม อิบนี อับดุล กาฮาร์ จาลีลุล อาลัม
พระรัชกาลนาม
เปองีรัน เบินดาฮารา ซากัม อิบนี สุลต่านอับดุล กาฮาร์ จาลีลุล อาลัม
ราชวงศ์โบลเกียห์
พระราชบิดาสุลต่านอับดุล กาฮาร์
พระราชมารดาราจา บาเจา
ศาสนาอิสลามนิกายซุนนี

ราจา ซากัม (มลายู: Raja Sakam, راج ساکم) หรือเรียกตามตำแหน่งเป็น เบินดาฮารา ซากัม (Bendahara Sakam, بندهار ساکم) เป็นพระราชโอรสในสุลต่านอับดุล กาฮาร์กับราจา บาเจา พระชายาจากซาบะฮ์[1][2] พระองค์เป็นวีรบุรุษพื้นบ้านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในบางประการ[3] ในเอกสารตัวเขียน ซิลซีละฮ์ราจา-ราจาบรูไนสะกดพระนามเป็น เบินดาฮารา ซักกัม (Bendahara Saqkam) อย่างสม่ำเสมอ[4]

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ราจา ซากัมเป็นผู้สืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษที่มีชื่อเสียง เช่น ดาตู ลากันดูลา, ราจา ซูไลมัน และราจา มาตันดาแห่งมะนิลา[5]

กล่าวกันว่าพระธิดาของเปองีรัม เซอรี รัตนาถูกพระองค์ลักพาตัวจากการอภิเษกสมรสระหว่างพระนางกับพระโอรสในเปองีรัน เซอรี เลอลาอย่างห้าวหาญ และนำพระนางมาที่บ้านของพระองค์ เมื่อเหล่าเปองีรันนำปัญหานี้มาถวายแก่สุลต่านไซฟุล รีจัล สุลต่านจึงยินยอมลงโทษราจา ซากัม[6] พระองค์เสด็จกลับไปยังบรูไนเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ราชสำนักสุลต่านไซฟุล รีจัล แม้ว่าพระองค์ทรงถูกลงโทษและทำให้อับอายก็ตาม[7] ลักษณะนิสัยอันเสเพลของราจา ซากัมอาจเป็นสาเหตุของปัญหาในรัชสมัยนี้[8]

สงครามกัสติยา

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. History of Brunei: For Lower Secondary Schools (ภาษาอังกฤษ). Dewan Bahasa dan Pustaka. 1989. p. 28.
  2. Ujan, Gira (2008). Pengantar sejarah kesusasteraan klasik Melayu Brunei (ภาษามาเลย์). Dewan Bahasa dan Pustaka Brunei, Kementerian Kebudayaan, Belia dan Sukan. p. 41. ISBN 978-99917-0-588-0.
  3. Saunders, Graham (2013-11-05). A History of Brunei (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 57. ISBN 978-1-136-87394-2.
  4. Gallop, Annabel Teh (2019-06-11). "Silsilah Raja-Raja Brunei: The Manuscript of Pengiran Kesuma Muhammad Hasyim". Archipel. Études interdisciplinaires sur le monde insulindien (ภาษาฝรั่งเศส) (97): 173–212. doi:10.4000/archipel.1066. ISSN 0044-8613.
  5. Santos, Jason (19 Dec 2020). "Brunei or Sulu: an ancient territorial dispute". The Vibes.
  6. Leake, David (1989). Brunei: The Modern Southeast-Asian Islamic Sultanate (ภาษาอังกฤษ). McFarland. p. 17. ISBN 978-0-89950-434-6.
  7. Saunders, Graham (2013-11-05). A History of Brunei (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 57. ISBN 978-1-136-87394-2.
  8. Brunei (1961). Annual Report on Brunei (ภาษาอังกฤษ). Printed at the Brunei Press. p. 160.