ข้ามไปเนื้อหา

เนินเขากางเขน

พิกัด: 56°00′55″N 23°25′00″E / 56.01528°N 23.41667°E / 56.01528; 23.41667
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพมุมกว้างของเนินเขากางเขน ถ่ายเมื่อปี 2012

เนินเขากางเขน (ลิทัวเนีย: Kryžių kalnas) เป็นแหล่งจาริกแสวงบุญ ตั้งอยู่ห่างจากเมืองเช็วเลย์ไปทางเหนือ 12 กิโลเมตร ในภาคเหนือของประเทศลิทัวเนีย ต้นกำเนิดแท้จริงของการปักกางเขนไว้บนเขานี้ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่เชื่อกันทั่วไปว่ามีการปักกางเขนชุดแรกบนอดีตป้อมเนิน Jurgaičiai หรือ Domantai หลังจากการก่อการกำเริบปี 1831[1] ตลอดระยะเวลานับจากนั้น ไม่เพียงแต่ไม้กางเขนและรูปพระเยซูตรึงกางเขนที่ถูกนำมาไว้ที่นี่เท่านั้น แต่ยังมีรูปแม่พระมารี, ประคำ และหุ่นพยนต์กับงานแกะสลักภาพวีรชนของลิทัวเนียอีกด้วย มีการประมาณจำนวนกางเขนทั้งหมดว่าอยู่ที่ประมาณ 55,000 ชิ้นในปี 1990 และประมาณ 100,000 ชิ้นในปี 2006[2]

ในัวนที่ 7 กันยายน 1993 สมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 เสด็จเยือนเนินเขากางเขนและประกาศให้ที่นี่เป็นสถานที่แห่งความหวัง สันติภาพ ความรัก และการเสียสละ ในปี 2013 เทศบาลเขตเช็วเลย์ประกาศใช้กฎเกี่ยวกับการปักกางเขนที่เนินเขากางเขน โดยอนุญาตให้สามารถติดตั้งกางเขนไม้ขนาดสูงสุด 3 เมตรเท่านั้น หากมีความสูงมากกว่านั้นจะต้องทำเรื่องของใบอนุญาตจากเทศบาลก่อน[3] ในเดือนธันวาคม 2019 มีรายงานว่านักท่องเที่ยวชาวจีนรายหนึ่งดึงและโยนกางเขนที่เข้าใจว่าผู้เรียกร้องประชาธิปไตยชาวฮ่องกงมาปักไว้ทิ้ง ซึ่งต่อมาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก[4] Linas Linkevičius รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของลิทัวเนียประณามการกระทำของนักท่องเที่ยวรายดังกล่าวผ่านทางทวิตเตอร์โดยระบุว่า "เป็นการทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างหน้าไม่อายและน่าอัปยศ" และการกระทำเช่นนี้ "ไม่เป็นที่ยอมรับเด็ดขาด"[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Semaška, Algimantas (2006). Kelionių vadovas po Lietuvą: 1000 lankytinų vietovių norintiems geriau pažinti gimtąjį kraštą (ภาษาลิทัวเนีย) (4th ed.). Vilnius: Algimantas. p. 339. ISBN 9986-509-90-4.
  2. Tour to The Hill of Crosses Near Šiauliai เก็บถาวร 2009-04-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 31 October 2009
  3. Šiaulių rajono savivaldybės taryba (16 May 2013). "Kryžių kalno lankymo taisyklės" (ภาษาลิทัวเนีย). Šiaulių rajono turizmo ir verslo informacijos centras. สืบค้นเมื่อ 6 January 2020.
  4. "Lithuania outraged by Chinese tourist's removal of HK cross". AP NEWS. 2019-12-30. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
  5. Dapkus, Liudas (2019-12-30). "Lithuania outraged by Chinese tourist's removal of Hong Kong cross". CTVNews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-01.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

56°00′55″N 23°25′00″E / 56.01528°N 23.41667°E / 56.01528; 23.41667