เถาเอ็นอ่อน
หน้าตา
เถาเอ็นอ่อน | |
---|---|
ใบและดอกตูม | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Asterids |
อันดับ: | Gentianales |
วงศ์: | Apocynaceae |
วงศ์ย่อย: | Periplocoideae |
เผ่า: | Cryptolepideae |
สกุล: | Cryptolepis |
สปีชีส์: | C. dubia |
ชื่อทวินาม | |
Cryptolepis dubia (Burm.f.) M.R.Almeida | |
ชื่อพ้อง | |
ชื่อพ้อง
|
เถาเอ็นอ่อน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cryptolepis dubia) เป็นพืชในวงศ์ตีนเป็ด ลักษณะเป็นไม้เถาขนาดกลางประมาณ 3-5 เมตร ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ดอกรูปกรวยเล็ก ๆ ออกเป็นช่อที่ซอกใบ 5-10 ดอก กลีบดอกสีเหลืองมี 5 กลีบ กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบเช่นกัน ออกดอกในเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปแถบปลายแหลม เมื่อแก่แตกออก ภายในมีเมล็ดรูปรีสีน้ำตาลและขนปุยสีขาว[1][2]
เถาเอ็นอ่อนกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนและอินโดจีน[3] เถาเอ็นอ่อนมีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย บำรุงเส้นเอ็น แก้อักเสบและต้านเชื้อแบคทีเรีย[4][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "เถาเอ็นอ่อน". บ้านและสวน. สืบค้นเมื่อ March 9, 2019.
- ↑ "เถาเอ็นอ่อน - สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด". โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ. สืบค้นเมื่อ March 9, 2019.
- ↑ "Cryptolepis dubia (Burm.f.) M.R.Almeida - Plants of the World Online". Kew Science. สืบค้นเมื่อ March 9, 2019.
- ↑ ศรีเศรษฐ์, ยลดา; จารุกำจร, กนกวรรณ; จตุพรประเสริฐ, วรัญญา (2560). "ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของเถาเอ็นอ่อน". วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน. ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2560)): 1–10. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2562.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "เถาเอ็นอ่อน - ฐานข้อมูลเครื่องยา". คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ March 9, 2019.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เถาเอ็นอ่อน
- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Cryptolepis dubia ที่วิกิสปีชีส์