ข้ามไปเนื้อหา

เต่ากะอาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เต่าลายตีนเป็ด)

เต่ากะอาน
เต่ากะอานเพศผู้ ที่สวนสัตว์แซนดีเอโก
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: เต่า
อันดับย่อย: เต่า
Cryptodira
วงศ์ใหญ่: Testudinoidea
วงศ์: วงศ์เต่านา
สกุล: เต่าปากแม่น้ำ

(Schlegel & Muller, 1844)[3]
สปีชีส์: Batagur borneoensis
ชื่อทวินาม
Batagur borneoensis
(Schlegel & Muller, 1844)[3]
ชื่อพ้อง[4]
  • Emys borneoensis Schlegel & Müller, 1845
  • Tetraonyx affinis Cantor, 1847
  • Batagur picta Gray, 1862
  • Clemmys borneoensis Strauch, 1862
  • Clemmys grayi Strauch, 1865
  • Callagur picta Gray, 1870
  • Cantorella affinis Gray, 1870
  • Kachuga major Gray, 1873
  • Tetraonyx pictus Theobald, 1876
  • Batagur borneensis Hubrecht, 1881 (ex errore)
  • Kachuga brookei Bartlett, 1895
  • Callagur borneoensis Smith, 1930
  • Callagur pictus Pritchard, 1967

เต่ากะอาน หรือ เต่าจาน[5] (อังกฤษ: Painted terrapin) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าน้ำชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Batagur borneoensis เป็นเต่าที่มีสีสันสวยงาม กระดองค่อนข้างกลม ขนาดกระดองหลังมีความยาว 60 เซนติเมตร กระดองหลังมีสีน้ำตาลอ่อน ๆ มีลายสีดำตามยาว 3 เส้น หัวสีน้ำตาลมีแถบสีขาว ขามีสีเทา กระดองส่วนท้องสีขาวหรือสีครีม อาศัยอยู่บริเวณน้ำกร่อยแถบปากแม่น้ำ พบมากที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี ปัจจุบันในประเทศไทยพบเฉพาะแค่ปากคลองละงู ใน อำเภอละงู จังหวัดสตูลเท่านั้น กินสัตว์น้ำและพืชเป็นอาหาร ในต่างประเทศพบที่ มาเลเซีย, บรูไน และอินโดนีเซีย

ตัวเต็มวัยเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ผสมพันธุ์กันทั้งกลางวันและกลางคืน ระหว่างเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนธันวาคม แม่เต่าขึ้นมาวางไข่ประมาณต้นเดือนธันวาคมถึงกุมภาพันธ์ เวลา 21.00 นาฬิกา จนถึง 04.00 นาฬิกา ไข่มีลักษณะยาวรีเท่ากันตลอดฟอง ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวใช้เวลาราว 88-99 วัน

ปัจจุบัน เป็นเต่าที่ใกล้สูญพันธุ์มากแล้ว และเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shepherd, C.; Horne, B.D.; Guntoro, J.; Cota, M. (2021). "Batagur borneoensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T163458A1009824. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-1.RLTS.T163458A1009824.en. สืบค้นเมื่อ 16 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Praschag, P., Hundsdörfer, A. K. & Fritz, U. (2007). "Phylogeny and taxonomy of endangered South and South-east Asian freshwater turtles elucidated by mtDNA sequence variation (Testudines: Geoemydidae: Batagur, Callagur, Hardella, Kachuga, Pangshura)". Zoologica Scripta 36: 429-442.
  4. Uwe, Fritz & Havaš, Peter (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 213–214. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
  5. กําหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนําเข้า ส่งออก หรือนําผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๙. "Wayback Machine" (PDF). www4.fisheries.go.th. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-05. สืบค้นเมื่อ 2025-03-18.
  6. Praschag, P., Hundsdörfer, A. K. & Fritz, U. (2007). Phylogeny and taxonomy of endangered South and South-east Asian freshwater turtles elucidated by mtDNA sequence variation (Testudines: Geoemydidae: Batagur, Callagur, Hardella, Kachuga, Pangshura). —Zoologica Scripta, 36, 429-442.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Batagur borneoensis ที่วิกิสปีชีส์