ข้ามไปเนื้อหา

เต่าดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เต่าดำ
Black marsh turtle basking
เต่าดำกำลังควบคุมอุณหภูมิร่างกายภายใต้แสงแดด
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: เต่า
อันดับย่อย: เต่า
Cryptodira
วงศ์ใหญ่: Testudinoidea
วงศ์: วงศ์เต่านา
สกุล: เต่าบึงดำ

(Gray, 1831)
สปีชีส์: Siebenrockiella crassicollis
ชื่อทวินาม
Siebenrockiella crassicollis
(Gray, 1831)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเต่าดำ
ชื่อพ้อง[5]
ชื่อพ้องสกุล[3]
  • Bellia Gray 1869
ชื่อพ้องชนิด[4]
  • Emys crassicollis Gray, 1831
  • Emys crassicolis Duméril & Bibron, 1835 (ex errore)
  • Clemmys (Clemmys) crassicollis Fitzinger, 1835
  • Bellia crassicollis Gray, 1869
  • Bellia crassilabris Theobald, 1876 (ex errore)
  • Pangshura cochinchinensis Tirant, 1885
  • Kachuga cochinchinensis Mocquard, 1907
  • Orlitia crassicollis Barbour, 1912
  • Siebenrockiella crassicollis Lindholm, 1929

เต่าดำ หรือ เต่ากา หรือ เต่าแก้มขาว (อังกฤษ: Black marsh turtle; จีน: 粗頸龜; ชื่อวิทยาศาสตร์: Siebenrockiella crassicollis) เป็นเต่าชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็ก มีลักษณะ ลำตัวยาวประมาณครึ่งฟุต น้ำหนักไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ลำตัวแบน มีกระดองสีดำ หัว หาง และขามีสีดำมีผังผืด มีลักษณะเด่น คือ มีแต้มสีขาวเหนือตา แก้ม และตามใบหน้าอีกหลายแห่ง อันเป็นที่มาของชื่อ กระดองส่วนบนยาวเต็มที่ประมาณ 20 เซนติเมตร

พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำประเภทหนองหรือบึง ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์ สำหรับในประเทศไทยพบได้ทุกทั่วภาค แต่จะพบได้มากในภาคกลางและภาคใต้ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์น้ำ

มีอุปนิสัยชอบหมกตัวอยู่ใต้โคลนในน้ำ นาน ๆ ทีจึงค่อยโผล่มาหายใจบนผิวน้ำ ดังนั้นเวลาพบจึงเห็นตัวสกปรกเลอะโคลนอยู่เสมอ จะขึ้นบกเวลากลางคืน เพื่อต้องการหาทำเลวางไข่ หรือผสมพันธุ์ หรือย้ายที่อยู่ ส่วนกลางวันมักหมกตัวอยู่ในที่รก ชื้นแฉะ หรือตามโคลนใต้พื้นน้ำ

เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 และนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก ๆ ในเต่าที่เป็นเต่าเผือกจะมีราคาซื้อขายที่แพงมาก เพราะถือเป็นสัตว์ที่หายาก[6][7]

ดูเพิ่มเติม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Horne, B.D.; Kusrini, M.D.; Hamidy, A.; Platt, K.; Guntoro, J.; Cota, M. (2021). "Siebenrockiella crassicollis". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T39616A2930856. doi:10.2305/IUCN.UK.2021-2.RLTS.T39616A2930856.en. สืบค้นเมื่อ 17 November 2021.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Rhodin, A.G.J., van Dijk, P.P, Iverson, J.B., and Shaffer, H.B. (Turtle Taxonomy Working Group).2010. "Turtles of the world, 2010 update: annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution, and conservation status". In: Rhodin, A.G.J., Pritchard, P.C.H., van Dijk, P.P., Saumure, R.A., Buhlmann, K.A., Iverson, J.B., and Mittermeier, R.A. (Eds.). "Conservation Biology of Freshwater Turtles and Tortoises: A Compilation Project of the IUCN/SSC Tortoise and Freshwater Turtle Specialist Group". Chelonian Research Monographs No. 5: 000.85–000.164, doi:10.3854/crm.5.000.checklist.v3.2010. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2011.
  4. "Siebenrockiella crassicollis Gray 1831, Black marsh turtle". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2011.
  5. Fritz Uwe; Peter Havaš (2007). "Checklist of Chelonians of the World". Vertebrate Zoology. 57 (2): 248. doi:10.3897/vz.57.e30895. ISSN 1864-5755.
  6. "เต่าดำ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-18. สืบค้นเมื่อ 2011-05-23.
  7. ชมเต่าเผือกในงานวันปลาสวยงามฯ จากข่าวสด

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]