เตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์
หน้าตา
เตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์ (Tetralogy of Fallot) | |
---|---|
ภาพวาดแสดงให้เห็นหัวใจปกติและหัวใจที่เป็นโรค | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | Q21.3 |
ICD-9 | 745.2 |
OMIM | 187500 |
DiseasesDB | 4660 |
MedlinePlus | 001567 |
eMedicine | emerg/575 |
MeSH | D013771 |
เตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์ (อังกฤษ: Tetralogy of Fallot, TOF) เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยลักษณะเฉพาะสี่อย่าง เป็นสาเหตุของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่ทำให้ผู้ป่วยเขียวที่พบบ่อยที่สุดคือเป็นสาเหตุประมาณร้อยละ 55–70[1] โรคนี้ได้รับการอธิบายครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1672 โดยนีล สเตนเซน, เมื่อ ค.ศ. 1773 โดยเอ็ดเวิร์ด แซนดิฟอร์ต, และเมื่อ ค.ศ. 1888 โดยแพทย์ชาวฝรั่งเศส เอเตียน-ลุย ซาร์ตูร์ ฟาโล (Étienne-Louis Arthur Fallot) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคนี้[2]
ลักษณะทางกายวิภาค
[แก้]ความผิดปกติตั้งต้นสี่อย่าง
[แก้]คำว่า "เตตราโลจี" เป็นภาษาอังกฤษหมายถึงการมีลักษณะ 4 อย่าง ใช้ในหลายแวดวงเช่น แวดวงวรรณกรรม ในที่นี้หมายถึงการที่โรคนี้มีลักษณะปรากฏ 4 อย่าง ดังนี้
ภาวะ | คำอธิบาย |
---|---|
ก: ลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบ | การตีบแคบของทางออกห้องหัวใจขวาล่างอาจเกิดขึ้นในตำแหน่งของลิ้นหัวใจพัลโมนารี (ลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบ) หรือใต้ต่อลิ้นหัวใจพัลโมนารีพอดี (ลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบแบบ infundibular, infundibular stenosis) ลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบแบบ infundibular ส่วนใหญ่เกิดจากการเจริญมากกว่าปกติของผนังกล้ามเนื้อหัวใจ (การโตเกินของ septoparietal trabeculae) [3] อย่างไรก็ดียังเชื่อว่ามีสาเหตุมาจากสาเหตุเดียวกับที่ทำให้มีการเจริญของเอออร์ตาผิดปกติอยู่ในตำแหน่งคร่อม ภาวะลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบเป็นสาเหตุหลักของความผิดปกติเหล่านี้โดยมีความผิดปกติอื่นเป็นผลมาจากกระบวนการชดเชยต่อภาวะลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบ[4] ความรุนแรงของการตีบแตกต่างกันไปในผู้ป่วยเตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์ แต่ละคน และเป็นตัวชี้วัดหลักว่าผู้ป่วยจะมีอาการอย่างไรและความรุนแรงขนาดใด ความผิดปกตินี้บางครั้งถูกเรียกว่า sub-pulmonary stenosis หรือ subpulmonary obstruction[5] |
ข: หลอดเลือดแดงเอออร์ตาอยู่ในตำแหน่งคร่อม | ลิ้นหัวใจเอออร์ติกเชื่อมกับหัวใจห้องล่างทั้งสองข้าง วางอยู่เหนือความบกพร่องของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง ความมากน้อยของการที่เอออร์ตาเชื่อมอยูกับหัวใจห้องขวาล่างถือเป็นความมากน้อยของการคร่อมของเอออร์ตา โคนหลอดเลือดเอออร์ตาอาจเบี่ยงมาทางด้านหน้าหรืออยู่เหนือพอดีกับความบกพร่องของผนังกั้นหัวใจ แต่จะย้ายมาอยู่ทางขวาของโคนหลอดเลือดแดงพัลโมนารีเสมอ ความรุนแรงของการคร่อมนี้อาจแตกต่างกันได้มาก โดยอาจมีลิ้นหัวใจเชื่อมกับหัวใจห้องขวาล่างได้ตั้งแต่ร้อยละ 5–95[3] |
ค: ความบกพร่องของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง | มีรูเชื่อมระหว่างหัวใจห้องล่างทั้งสองห้อง ส่วนใหญ่อยูบริเวณด้านบนของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง มักมีรูขนาดใหญ่รูเดียว ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการหนาขึ้นของผนังกั้นหัวใจห้องล่างทำให้เป็นการลดขนาดรูบนผนังนี้ได้[3] |
ง: การโตเกินของหัวใจห้องขวาล่าง | หัวใจห้องขวาล่างมีกล้ามเนื้อหนากว่าปกติทำให้มีลักษณะหัวใจคล้ายรูปรองเท้าบูท (Cœur en sabot) เมื่อดูจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นผลจากการที่มีการอุดกั้นทางออกห้องหัวใจขวาล่างร่วมกับการมีความบกพร่องของผนังกั้นหัวใจห้องล่างทำให้หัวใจห้องขวาล่างต้องบีบตัวรับเลือดปริมาณมากกว่าปกติเพื่อสร้างความดันที่สูงกว่าปกติ หลักฐานสนับสนุนคือการที่ระดับของการโตเกินนี้เพิ่มขึ้นตามอายุ[6] |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Apitz C, Webb GD, Redington AN (2009). "Tetralogy of Fallot". Lancet. 374 (9699): 1462–1471. doi:10.1016/S0140-6736(09)60657-7. PMID 19683809.
- ↑ synd/2281 ใน Who Named It?
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Gatzoulis MA, Webb GD, Daubeney PE (2005). Diagnosis and Management of Adult Congenital Heart Disease. Philadelphia: Churchill Livingstone. ISBN 0-443-07103-9.
- ↑ Bartelings MM, Gittenberger-de Groot AC (1991). "Morphogenetic considerations on congenital malformations of the outflow tract. Part 1: Common arterial trunk and tetralogy of Fallot". Int. J. Cardiol. 32 (2): 213–30. doi:10.1016/0167-5273(91)90329-N. PMID 1917172.
- ↑ Anderson RH, Weinberg PM (2005). "The clinical anatomy of tetralogy of Fallot". Cardiol Young. 15: 38–47. PMID 15934690.
- ↑ Anderson RH, Tynan M (1988). "Tetralogy of Fallot – a centennial review". Int J Cardiol. 21: 219–232. PMID 3068155.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เตตราโลจี ออฟ ฟาลโลต์
- What Is Tetralogy of Fallot? ที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (สหรัฐ)
- Understanding your child's heart: Tetralogy of Fallot เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย the British Heart Foundation
การจำแนกโรค | |
---|---|
ทรัพยากรภายนอก |