เจ้าเสือหยาดฟ้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าเสือหยาดฟ้า

เจ้าเสือหยาดฟ้า
เจ้าเสือยาดฟ้า (อุทัยยาทิตยะ สิงห์)
กษัตริย์แห่งอาณาจักรอาหม
ครองราชย์พ.ศ. 2213-2215
รัชสมัย2 ปี
ราชาภิเษกพ.ศ. 2013
รัชกาลก่อนหน้าสุพุงเมือง
รัชกาลถัดไปสุขล้ำฟ้า
สวรรคตมกราคม พ.ศ. 2081
พระมเหสีไม่ทราบ
พระราชบุตรไม่ทราบ
ราชวงศ์ราชวงศ์อาหม
พระราชบิดาโอรสของเสือเลง(โอรสของสุหังเมือง)
พระราชมารดาไม่ทราบ

เจ้าเสือหยาดฟ้า หรือ เจ้าหลวงเสือยาดฟ้า หรือเดิมชื่อ มาชุ โกฮาอิน เป็นพระอนุชาของสุพุงเมือง ขึ้นครองราชย์สืบมา พระองค์ทรงรับพระนามฮินดูว่า "อุทัยยาทิตยะ สิงห์" และอภิเษกสมรสกับมเหสีของพระเชษฐาผู้ล่วงลับไปแล้ว ในรัชกาลของพระองค์ มีผู้คิดแผนการประทุษร้ายหลายครั้ง เมื่อตอนพระองค์สิ้นพระชนม์ครั้งหนึ่ง และอีกครั้งหนึ่งเมื่อทรงครองราชย์ใหม่ ๆ แต่แผนการนั้นถูกจับได้เสียก่อน ผู้คบคิดก่อการร้ายถูกจับได้ทั้งหมด แต่ส่วนมากได้รับพระราชทานอภัยโทษ

ขึ้นครองราชย์[แก้]

สงครามอาหม-โมฮัมหมัด[แก้]

การเจรจากับฝ่ายโมฮัมหมัดยังคงดำเนินต่อไป รามสิงห์ยังคงเน้นว่าเส้นพรมแดนเก่าควรจะใช้ต่อไป และบาร์ พูคานก็เห็นพ้องด้วย แต่ในระหว่างที่กำลังรอคำสั่งเห็นชอบจากกษัตริย์อาหม แต่รามสิงห์ได้กำลังหนุนเพิ่มเติม และเนื่องจากเขาสงสัยในท่าทีของฝ่ายอาหมอยู่แล้ว รามสิงห์จึงเคลื่อนทัพมายังสิตะมาริ(Sitamari) และส่งกองทหารย่อย ๆ มายังดารัง ด้วยเหตุนี้ อุทัยยาทิตยะจึงทรงเตรียมทำสงครามต่อไปและทรงสั่งให้บุรฮา โกฮาอินนำทหาร ๒๐,๐๐๐ คน ออกเดินทางจากสามธารา มายังศรีกาต ฝ่ายโมฮัมหมัดเคลื่อนทัพมาประจันหน้ากัน และการสู้รบก็ได้เกิดขึ้น ฝ่ายอาหมได้รับชัยชนะในการรบทางบก แต่กองทัพเรือเพลี่ยงพล้ำจำต้องถอยไปอยู่บาร์ฮิลา(Barhila) ทัพบกจึงต้องถอยตามไปด้วย บาร์ พูคานได้นำกองเรือรบมาเพิ่มเติม ทัพอาหมจึงหวนกลับไปโจมตีอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้กองทัพเรือโมฮัมหมัดเสียหายยับเยิน และทัพบกอาหมก็ได้ชัยชนะอีกเป็นครั้งที่สอง

อ้างอิง[แก้]

  • หลวงวิจิตรวาทการ. งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.].
  • Gogoi, Padmeshwar (1968), The Tai and the Tai kingdoms, Gauhati University, Guwahati

ดูเพิ่ม[แก้]

ก่อนหน้า เจ้าเสือหยาดฟ้า ถัดไป
สุพุงเมือง(จักรธวัช สิงห์) กษัตริย์อาหม
(พ.ศ. 2040 - พ.ศ. 2082)
สุขล้ำฟ้า(รามธวัช สิงห์)