เจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน)
เจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน) | |
---|---|
เจ้าราชบุตรดาวแก้ว | |
เจ้าราชบุตรแห่งนครลำพูน | |
ประสูติ | พ.ศ. 2409 |
พิราลัย | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 (35 ปี) |
ราชวงศ์ | ทิพย์จักร |
ราชสกุล | ณ ลำพูน |
พระบิดา | เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ |
พระมารดา | แม่เจ้าบุเทวี |
เจ้าราชบุตรดาวแก้ว หรือ เจ้าน้อยดาวแก้ว (พ.ศ. 2409- พ.ศ. 2444) เป็นราชบุตรในเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 กับแม่เจ้าบุเทวี
พระประวัติ
[แก้]เจ้าน้อยดาวแก้ว เป็นราชบุตรองค์ที่ 7 ในเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน กับแม่เจ้าบุ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2409 เมื่อเยาว์วัยได้บรรพชาเป็นสามเณร และเข้าศึกษาที่วัดพระเจดีย์หลวง จนสำเร็จการศึกษาจึงได้ลาสิกขาออกมาอาศัยอยู่กับเจ้าบิดา[1]
เจ้าน้อยดาวแก้ว ได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนคลัง เมื่อปี พ.ศ. 2422 และในปี พ.ศ. 2430 ได้ไปรับราชการเป็นข้าหลวงกองแผน ไปตรวจเขตแดน หลังจากกลับจากตรวจเขตแดนก็ได้ลาออกจากหน้าที่ราชการ และในปี พ.ศ. 2436 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น "เจ้าราชบุตร" ชื่อว่า "เจ้าราชบุตรดาวแก้ว" และได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ วิจิตราภรณ์ 1 ดวง กับเครื่องยศ คือ พานเงิน เครื่องในเงินถมยาเขียว คนโทเงินถมดำ กระโถนเงินถมดำ และกลับไปรับราชการที่นครลำพูน
ในปีถัดมาได้รับแต่งตั้งให้รับราชการทหารประจำนครลำพูน และได้รับพระราชทานเหรียญรัชฎาภิเศก เหรียญประพาศมาลา ในปี พ.ศ. 2441 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2443 ได้รับแต่งตั้งเป็นเสนาทหารยศชั้น ตรี
เจ้าราชบุตรดาวแก้ว ป่วยด้วยโรคฝี ในปลายปี พ.ศ. 2443 และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2444 เวลาทุ่มเศษ และมีพิธีศพตามประเพณีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2444
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
- พ.ศ. 2441 - เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา
- พ.ศ. 2441 - เหรียญประพาสมาลา
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของเจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ประวัติเจ้าราชบุตรราชกิจจานุเบกษา เล่ม 18 ตอน 24 วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2444 หน้า 365